free web tracker, fire_lady รู้เท่าทัน...4 โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง รักษาได้อย่างไร? • สุขภาพดี

รู้เท่าทัน...4 โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

วันนี้เราอยากมาเตือนภัยจากโรคผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรียกัน ซึ่งเป็นอาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย หากบริเวณใดของผิวหนังมีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป อาทิ มีความชื้น เสียดสี เกิดบาดแผล ร่างกายอ่อนแอ ก็จะทำให้เกิดโรคจากแบคทีเรีย ซึ่งจะแสดงอาการได้หลายแบบ ส่วนใหญ่โรคที่พบได้มาก คือ 4 โรคติดเชื้อแบคที่เรียทีเรียที่ผิวหนัง ดังต่อไปนี้

4 โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง

1 แผลพุพอง (โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง) เป็นการติดเชื้อส่วนบนสุดของผิวหนัง เกิดได้จากบาดแผลเล็กๆ เช่น ยุงกัด รอยถลอก ฯลฯ หรือการรักษาความสะอาดผิวหนังที่ไม่ดีพอ การเกาตามแขนขา จากที่เป็นเพียงผื่นแดงเล็กน้อย มีอาการคัน ก็กลายเป็นตุ่มน้ำใสจนแตกออกเป็นสีแดง มีน้ำเหลือง แล้วแห้งตกสะเก็ดเหลืองที่แผล สามารถลามไปส่วนอื่นได้จากการเกา หากเป็นบริเวณศีรษะจะเรียกว่า ชันนะตุ ดังนั้นแม้มีบาดแผลแค่เล็กๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะจะลุกลามเป็นแผลใหญ่ และอาจติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดได้ ควรล้างทำความสะอาดและใส่ยาฆ่าเชื้อที่แผล ประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะดีขึ้น แต่ถ้าเป็นแผลกว้างและใหญ่ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูแผลและรักษาอย่างถูกต้อง

2 ผิวหนังอักเสบ (โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง) เป็นอาการอักเสบของผิวหนังเนื้อเยื่อในชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นใต้ผิวหนัง จากการติดเชื้อ สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus) ทางบาดแผล รอยถลอก แผลจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดโดยลักษณะผิวหนังเป็นผื่นแดงจัด กดแผลแล้วจะเจ็บและรู้สึกร้อน อาจมีอาการอื่นร่วม เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร ร่างกายอ่อนเพลีย ฯลฯ การรักษาให้กินยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) ประมาณ 5-7 วัน จะดีขึ้น แต่ถ้าไม่รีบรักษาเชื้ออาจลามเข้าสู่กระแสเลือดจนเลือดเป็นพิษ ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

3 ฝี หรือ รูขุมขนอักเสบ (โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง) เนื่องจากต่อมไขมันและรูขุมขนเกิดการอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus) รูขุมขนอักเสบจะมีอาการเป็นผื่นแดง ไม่คัน แต่เจ็บเล็กน้อย มักเกิดบริเวณต่อมขน เช่น รักแร้ หนวด ฯลฯ หายเองได้ แต่หากอักเสบจนเกิดเป็นตุ่มบวมแดง มีหนอง เวลากดจะเจ็บมาก เรียกว่า “ฝี” จนเมื่อฝีเป่งมากๆ จะแตกเอง จากนี้อาการค่อยๆ ดีขึ้น ถ้าฝีลึกและมีรูหนองหลายรูติดกันเรียกว่า “ฝีฝักบัว” (Carbuncle) มักมีไข้ร่วมด้วย ส่วนอาการแทรกซ้อนถ้าฝีแตกแล้วมีเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดอาจทำให้เลือดเป็นพิษ สำหรับการรักษารูขุมขนอักเสบจะใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% คลินดามัยซิน (Clindamycin) ที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง ส่วนฝีหรือฝีฝักบัวต้องผ่าหนองออก ร่วมกับกินยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) นอกจากนี้อย่าบีบฝีเด็ดขาดโดยเฉพาะฝีที่ขึ้นบนใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์จะดีกว่า

4 ไฟลามทุ่ง (โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง) เป็นโรคผิวหนังอีกชนิดหนึ่งซึ่งติดเชื้อแบคทีเรียเบต้าสเตรปโตค็อกคัส (Beta-Streptococcus) กลุ่มเอ หลังจากติดเชื้อผิวหนังจะอักเสบเป็นผื่นแดงจัด บวม ร้อน กดเจ็บ และลุกลามขยายอย่างรวดเร็ว มักมีไข้ หนาวสั่น และปวดหัวร่วมด้วย ในระยะสุดท้ายผื่นจะค่อยยุบและหายไป เมื่อหายสนิทจะไม่มีแผลเป็น หากเป็นหนักอาจมีตุ่มน้ำพองและมีหนอง แต่ถ้ามีอาการแทรกซ้อนจนเชื้อลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดก็จะทำให้เลือดเป็นพิษได้ การรักษาทำได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ คือ ยาเพนนิซิลลิน (Penicillin) อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) หรืออีริโทรมัยซิน (Erythromycin) อาการก็จะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนในรายที่มีอาการหนักหรือมีภาวะแทรกซ้อนควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะดีที่สุด

อย่างไรก็ดี แม้โรคติดเชื้อแบคทีเรียผิวหนังชนิดต่างๆ อาจไม่รุนแรงถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี แต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกันหากไม่ใส่ใจในการดูแลรักษา ทว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะในยามที่เกิดบาดแผลบนผิวหนัง รวมทั้งควรกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายป้องกันเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคภัยใกล้ตัว