free web tracker, fire_lady เคาท์ดาวน์ที่ญี่ปุ่นสนุกยังไง…ทำไมต้องจองทัวร์แต่เนิ่นๆ • สุขภาพดี

เคาท์ดาวน์ที่ญี่ปุ่นสนุกยังไง...ทำไมต้องจองทัวร์แต่เนิ่นๆ

เคาท์ดาวน์ญี่ปุ่น

เห็นผ่านตากันบ่อยเหลือเกิน กับฉากปีใหม่ในการ์ตูนญี่ปุ่น เคยสงสัยกันมั้ยว่าทำไมคืนเคาท์ดาวน์ที่ญี่ปุ่นถึงพิเศษนัก แถมมีกิจกรรมน่ารักน่าสนใจเพียบ ถ้าใครยังไม่รู้ต้องมาทางนี้ เพราะวัฒนธรรมที่นี่ให้ความสำคัญกับคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ค่อนข้างมาก รับรองได้ว่าเห็นแล้วอยากจองตั๋วไปทันทีเลยล่ะ

11 เหตุผลที่ทำให้อยากเคาท์ดาวน์ที่ญี่ปุ่น

1. ของตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์  ชาวญี่ปุ่นจะสร้างบรรยากาศในการตกแต่งบ้านช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ไม่เหมือนใคร หลังจากเทศกาลคริสต์มาสปุ๊บ ของประดับจะถูกปลดลง ของประดับสำหรับคืนเคาท์ดาวน์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จะถูกแทนที่ บรรดาเครื่องประดับนั้นคุณจะสังเกตเห็น “คากามิโมจิ” ซึ่งเป็นขนมโมจิที่ทำจากข้าวสองอันซ้อนกัน มีส้มขมวางไว้บนยอด อีกอันคือของประดับที่ทำจากเชือก จะติดเอาไว้ทางเข้าบ้าน มีความเชื่อในเรื่องช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไป

คากามิโมจิ

2. ขนมโมจิสูตรต้นตำรับ  ปกติแล้วขนมโมจิจะใช้เครื่องจักรทำ แต่สำหรับคืนพิเศษอย่างคืนเคาท์ดาวน์ส่งท้ายปี จะทำโมจิแบบดั้งเดิม นั่นคือแช่ข้าวข้ามคืนและตำด้วยค้อนไม้อันใหญ่ยาว การตำโมจินี้ต้องใช้แรงเยอะมาก ต้องตำกระทั่งโมจิเหนียว นุ่ม ยืดออกได้ แล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนใช้สำหรับตกแต่งและรับประทาน ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "โมจิทสึคิ

3. โซบะ “โทชิโคชิ” อาหารสำคัญในคืนส่งท้ายปีตามอักษรคำว่า “โซบะ” แปลว่า "ข้ามปี” นอกจากนี้ยังมีความหมายดีๆ อีกด้วย ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเส้นบะหมี่ยาวๆ จะทำให้อายุยืน แต่ถ้าใครรับประทานบะหมี่ไม่หมดก่อนปีใหม่มาถึง คนนั้นจะโชคร้ายไปตลอดทั้งปีเลยทีเดียว

4. ตีระฆังในคืนข้ามปี  ชาวญี่ปุ่นมักจะจัดงานส่งท้ายปีขึ้นที่วัดพุทธทั่วประเทศ โดยจะตีระฆังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 108 ครั้ง นั่นหมายถึงการขจัดตัวตนและชำระล้าง เพื่อให้จิตวิญญาณบริสุทธิ์ นอกจากนี้หลังเสร็จพิธียังให้ผู้ร่วมงานได้ตีระฆังอีกด้วย เปรียบเสมือนการขอพรจากเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

5. ชมพระอาทิตย์ขึ้น  ขึ้นชื่อว่าแดนอาทิตย์อุทัยต้องไม่พลาดที่จะชมแสงแรกของปี ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าหากได้อธิษฐานขอพรในช่วงที่แสงอาทิตย์จับขอบฟ้าในวันแรกของปี จะนำโชคลาภมาให้ ดังนั้นนักชาวญี่ปุ่นและท่องเที่ยวจำนวนมากจึงขึ้นเขาไปเฝ้าชมพระอาทิตย์ขึ้น หรือไปดูที่ผืนทะเลยามเช้าๆ ยังไงล่ะ

6. อาหารฉลอง  ในเทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีอาหารอยู่ 2 สำรับด้วยกัน ซึ่งขาดไม่ได้เด็ดขาด นั่นคือ “โอเซจิ” และ “โอโซนิ” ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อยและขึ้นชื่อ อาหารทั้งสองชนิดนี้มีที่มาจนเป็นตำนาน มีตั้งแต่สมัยเฮอันจนกลายมาเป็นอาหารประจำเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ไปแล้วจ้า

7. จิบสาเก  สาเกเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ประเพณีจิบสาเกเริ่มขึ้นในภาคตะวันตกของญี่ปุ่น ซึ่งนิยมดื่มกันพร้อมหน้าทุกคนในครอบครัว "สาเก" คือเครื่องดื่มที่ทำจากสมุนไพร จะเสิร์ฟด้วยจอกสามชั้น การชนจอกสาเกเป็นการอวยพรปีใหม่นั่นเอง ซึ่งจะจิบมากกว่าดื่มเพื่อดับกระหาย

8. ขอพรที่ศาลเจ้า  การขอพรที่ศาลเจ้าในปีใหม่เป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมาทั้งกับคนที่เคร่งในศาสนาและไม่เคร่ง นอกจากนี้ยังมีการเสี่ยงเซียมซีอีกด้วย

9. ดูดวงปีใหม่  ชาวญี่ปุ่นเรียกการเสี่ยงทางดวงชะตาว่า “โอมิคุจิ” เป็นการเสี่ยงเซียมซีเพื่อทำนาย ในกระดาจะเขียนเอาไว้ว่าโชคดีหรือโชคร้าย ถ้าโชคร้ายให้ผูกกระดาษไว้ที่ศาลเจ้า ห้ามนำกลับบ้าน เรื่องที่ดูส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง เงิน ทอง สุขภาพ การงานและที่สำคัญคือความรักนั่นเอง

10. เครื่องรางนำโชค  เครื่องรางของชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "โอะมะโมะริ" เป็นเครื่องรางที่ช่วยป้องกันวิญญาณสิ่งชั่วร้าย หรือช่วยในเรื่องความรักให้สมหวัง สำหรับใครที่ไม่ต้องการเครื่องรางนี้แล้วห้ามเผาหรือทำลายเด็ดขาด แต่ให้ไปหย่อนกล่องไว้ที่ศาลเจ้า

11. ให้ความสำคัญกับฝันแรกของปี  เชื่อหรือไม่ว่าชาวญี่ปุ่นจะรอคอยความฝันแรกของปีใหม่เลยล่ะ เพราะเชื่อว่าสิ่งที่เจอในฝันคือลางบอกเหตุ จะดีจะร้ายก็วัดกันในคืนนี้นี่แหละ ความเชื่อนี้ไม่ได้มีเล่นๆ นะ เพราะเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยเอโดะเลยทีเดียว

ก็เพราะญี่ปุ่นมีมนต์ขลังแบบนี้นี่ไง ใครๆ ถึงอยากไปเคาท์ดาวที่นั่น สำหรับใครที่แสตนบายอยู่ที่ญี่ปุ่นแล้ว ก็อย่าลืมทำกิจกรรมที่แนะนำมาให้ครบด้วยหล่ะ เดี๋ยวจะหาว่า "เคาน์ดาวน์ไม่ถึงญี่ปุ่น" นะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดีวันปีใหม่