free web tracker, fire_lady โทษของ “น้ำมะพร้าว” ดื่มทุกวันดีไหม? • สุขภาพดี

โทษของ “น้ำมะพร้าว” ดื่มทุกวันดีไหม?

โทษของน้ำมะพร้าว

เห็นแชร์กันสนั่นโซเชียลจริงๆ เกี่ยวกับการดื่มน้ำมะพร้าวทุกวัน ผลลัพธ์ที่ใครต่อใครก็ร้องว๊าว!! สาวเฮลตี้เป็นต้องสรรหามาดื่มแทนน้ำเปล่า แต่เดี๋ยวก่อน...คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันแล้วจะดี คุณเชื่อมั่นในข่าวที่แชร์ได้แค่ไหน ว่าดื่มปริมาณมากแล้วจะไม่เป็นภัยต่อร่างกาย เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักกับน้ำมะพร้าวกันก่อนดีกว่า แล้วจะรู้ว่าโทษของน้ำมะพร้าวมีไหม? แล้วค่อยตัดสินใจกันต่อไปว่าจะเริ่มหรือเลิกดื่ม

ความเชื่อน้ำมะพร้าว กับประจำเดือน

มีความเชื่อว่า ขณะที่เป็นประจำเดือนห้ามดื่มน้ำมะพร้าวเด็ดขาด แต่จริงๆ แล้วน้ำมะพร้าวก็เหมือนน้ำหวานทั่วๆ ไป จึงไม่มีผลกระทบต่อประจำเดือน แต่มีข้อยกเว้นเช่นกันในบางรายอาจมีอาการแพ้น้ำมะพร้าวได้ แต่ก็มีงานวิจัยที่ออกมาแนะนำเหมือนกันว่าไม่ควรเสี่ยงที่จะดื่ม เพราะอาจทำให้ประจำเดือนเปลี่ยนสีและหดหายเนื่องจากน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนสูง (อ้างอิง:ดาราเดลี่) ประกอบกับงานวิจัยสมุนไพรโบราณกล่าวว่าน้ำมะพร้าวเป็นของแสลงกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน (ที่มา: สารานุกรมสมุนไพร วุฒิ วุฒิธรรมเวช) สมุนไพรร้านเจ้ากรมป๋อ (อุทัย สินธุสาร)

ความเชื่อน้ำมะพร้าว กับคนท้อง

หลายๆ คนมีความเชื่อว่าดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้องจะทำให้ลูกออกมาผิวพรรณผุดผ่อง ช่วยล้างไขตามตัว ความจริงเป็นแบบนี้! ในน้ำมะพร้าวมีสารอาหารหลากหลาย และกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อดื่มน้ำมะพร้าวจะทำให้สร้างไขที่ตัวเด็กมีสีค่อนข้างขาว เลยดูเหมือนว่าเด็กตัวสะอาด โดยธรรมชาติเด็กทุกคนต้องมีไขห่อหุ้มตัวอยู่แล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิภายนอกและยังช่วยให้เด็กคลอดง่ายอีกด้วย (ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง)

เคล็ดลับการดื่มน้ำมะพร้าวไม่ให้เกิดโทษ

น้ำมะพร้าวควรดื่มแบบสดๆ เฉาะใหม่ๆ ไม่ควรทิ้งไว้หรือเก็บในตู้เย็นนานเกินครึ่งชั่วโมง เพราะถ้าดื่มทันที่จะทำให้ร่างกายได้รับสาอาหารสูงสุด แต่ระวังเรื่องสารฟอกขาวด้วยนะจ๊ะ ควรซื้อมาจากสวนโดยตรง ถึงจะดีและปลอดภัย สำหรับผู้ป่วยโรคไตและเบาหวานควรเลี่ยงจะดีกว่า

สารอาหารในน้ำมะพร้าว

น้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนและไขมัน น้ำตาล วิตามิน และแร่ธาตุ แต่จะมีมากแค่ไหนมาดูตามนี้ค่ะ

ตารางแสดงสารอาหารในน้ำมะพร้าว

  • Total solids (%) 5.4.6.5
  • น้ำตาล (%) 0.2.4.4
  • แร่ธาตุ (%) 0.5.0.6
  • โปรตีน (%) 0.10.01
  • ไขมัน (%) 0.1.0.01
  • โพแทสเซียม (mg%) 247.0.290.0
  • โซเดียม (mg%) 48.02.0
  • แคลเซียม (mg%) 40.044
  • แมกนีเซียม (mg%) 15.010.0
  • ฟอสฟอรัส (mg%) 6.39.2
  • เหล็ก (mg%) 79.0106.0
  • ทองแดง (mg%) 26.026.0

Source: Satyavati Krishnankulty (1987)

จะเห็นได้ว่า ในน้ำมะพร้าวแก่และอ่อนมีปริมาณน้ำตาลร้อยละ 0.2 และ 4.4 ตามลำดับ ซึ่งถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในคน ว่าการดื่มน้ำมะพร้าวทุกวันจะทำให้เป็นโรคเบาหวานหรือไม่ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ปริมาณน้ำตาลที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไม่ควรเกิน 10% ของปริมาณพลังงานที่ได้รับทั้งวัน สำหรับคนไทยปริมาณน้ำตาลที่ได้รับไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม เนื่องจากมีการได้รับน้ำตาลจากอาหารอื่นแล้ว และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือจำกัดการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนครั้งละ 1 ถ้วย พร้อมกับอาหาร

โทษของน้ำมะพร้าว กับโรคมะเร็ง

นอกจากนี้ในน้ำมะพร้าวอ่อนยังมีสารไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณที่สูง ไม่ต่างจากถั่วเหลือง ซึ่งมีการศึกษาถึงผลของการกินสารสกัดจากถั่วเหลืองที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนสูง ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เป็นเวลานาน 5 ปี พบว่ามีโอกาสเพิ่มการเกิดโรคเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ ดังนั้นการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนในกลุ่มสตรีที่หมดประจำเดือนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุมดลูกหนาผิดปกติได้เช่นกัน

ดังนั้นสตรีที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่รับประทานอาหารครบ 5 หมู่หลัก จึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมะพร้าวทุกวัน และไม่ควรดื่มเกินครั้งละ 1 ลูก เพราะในแต่ละวัน เราได้รับน้ำตาลจาก ขนม น้ำหวาน น้ำอัดลม ลุกอม เค้ก ผลไม้ สารพัดแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีน้ำตาลร้อยละ 8-15 ซึ่งอาจมีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มแบบไม่รู้ตัว และเกิดการสะสมไขมันแทน และสุดท้ายน่ะเหรอ ก็อ้วนลงพุงยังไงล่ะ และที่สำคัญภาวะอ้วนในสตรีสูงอายุโดยเฉพาะคนที่หมดประจำเดือนเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมดลูก ในกรณีที่ดื่มน้ำเต้าหู้ร่วมด้วยก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มพร้อมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณสารไฟโตเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป

มะพร้าวเป็นผลไม้ที่คนไทยนิยมกันมาก แต่ประเทศที่ผลิตมะพร้าวได้เป็นอันดับหนึ่งคือ อินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่หก จะเห็นได้ว่า อะไรก็ตามเมื่อมีประโยชน์ก็ย่อมทีโทษเช่นกัน รวมถึงโทษของมะพร้าวด้วย หลังจากอ่านจบคุณคงพบคำตอบนะคะ ว่าควรดื่มทุกวันตามกระแสที่แชร์กันมั้ย แต่ถ้ายังไม่แน่ใจควรกลับไปทวนอีกครั้ง เป๊ะสุด!

ที่มา:1.  https://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=12377&gid=9

2.ธิษณา จรรยาชัยเลิศ. น้ำตาล. 2008; Available from:URL:https://www.doctor.or.th/node/1147. Accessed December 21, 2009.

3. สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ มูลนิธิหมอชาวบ้าน. ความรู้ทั่วไปกับเบาหวาน.

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับมะพร้าว