free web tracker, fire_lady “น้ำมันถั่วเหลือง” ปลอดภัยต่อสุขภาพ หรือไม่? • สุขภาพดี

"น้ำมันถั่วเหลือง" ปลอดภัยต่อสุขภาพ หรือไม่?

น้ำมันถั่วเหลือง คุณสมบัติ

เมื่อได้ยินคำว่า "น้ำมันถั่วเหลือง" (Soybean Oil) หลายคนจะต้องนึกถึงน้ำมันที่นำมาประกอบอาหารอย่างแน่นอน ซึ่งน้ำมันถั่วเหลืองจัดเป็นน้ำมันที่ใช้กันมากเช่นกัน โดยเฉพาะคนรักสุขภาพมักนิยมบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองมากกว่าน้ำมันปาล์ม และที่สำคัญเป็นน้ำมันที่ราคาไม่แพงหากเทียบกับน้ำมันประกอบอาหารประเภทอื่นๆ...เพื่อเอาใจคนรักสุขภาพ มารู้จักกับสรรพคุณและประโยชน์ของน้ำมันถั่วเหลือง การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองให้มากกว่าที่เคยรู้จักกันเถอะ

คุณสมบัติน้ำมันถั่วเหลือง

"น้ำมันถั่วเหลือง" ที่เราใช้ปรุงอาหารนั้นสกัดมาจากเมล็ดของถั่วเหลือง คุณสมบัติของน้ำมันถั่วเหลืองเป็นกรดไขมันไตรกรีเซอไรด์ ชนิดไม่อิ่มตัว กรดโอเลอิก หรือภาษาอังกฤษที่เราเรียกว่า oleic acid ซึ่งในกรดไขมันชนิดนี้จะมีกรดไขมันโอเมก้า 6 อยู่ ถือได้ว่าเป็นกรดไขมันชนิดดีต่อร่างกายข อีกทั้งร่างกายไม่สามารถสร้างกรดไขมันชนิดนี้ขึ้นมาเองได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาทานจากถั่วเหลือง หรือจากน้ำมันถั่วเหลือง สำหรับใครที่ต้องการบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง ทำได้ง่ายมาก เพราะน้ำมันถั่วเหลืองมีจำหน่ายตามร้านขายของ หรือซุปเปอร์มาเก็ตทั่วๆ ไป หาซื้อได้ง่ายหากเทียบกับน้ำมันชนิดอื่นๆ อย่างเช่นน้ำมันงา น้ำมันดอกทานตะวัน หรือน้ำมันมะกอก

ขั้นตอนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง

ความที่เราเห็นน้ำมันถั่วเหลืองเป็นประจำ เพราะเห็นบรรจุในขวด วางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อ ประกอบกับโฆษณาในทีวีว่าไม่เป็นไข ดีต่อสุขภาพ แต่บางทีเราก็ไม่เคยทราบมาก่อนว่า กระบวนการในการสกัดน้ำมันออกจากถั่วเหลืองนั้น ทำได้อย่างไร แต่วันนี้เราจะมารู้กันว่า การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1. ขั้นตอนการสกัดน้ำมันดิบจากเมล็ดถั่วเหลือง

                1.1 การเตรียมวัตถุดิบ โดยการน้ำเมล็ดถั่วเหลืองมาบดให้แตก แล้วใช้ความร้อนรีดเป็นแผ่นจะได้มีพื้นผิวมากขึ้น เพราะพื้นผิวยิ่งมาก ยิ่งทำให้การสกัดน้ำมันได้ผลดี

                1.2 ขั้นตอนการสกัดน้ำมัน จะต้องใช้ hexane ซึ่งเป็นสารประกอบอัลเคนโซ่ที่มีจำนวนคาร์บอน 6 อะตอมมาเป็นตัวทำละลายเพื่อสกัดให้น้ำมันในเมล็ดถั่วเหลืองละลายออกมาผสมกับ hexane โดยทั่วไป hexane เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ที่พบบ่อย ทั้งในห้องปฏิบัติการและในงานอุตสาหกรรม มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี และมีจุดเดือดต่ำ ในขั้นตอนนี้ เราจะได้น้ำมันดิบที่ปนอยู่กับตัวทำละลาย hexane ที่เรียกว่า miscella

                1.3 ขั้นตอนทำให้ตัวละลายแยกออกจากน้ำมันดิบ โดยใช้ความร้อนในเครื่องระเหย evaporator และ striping column เมื่อสำเร็จก็จะได้น้ำมันดิบเพียวๆ

                 1.4 กระบวนการแยกยางเหนียว โดยเติมน้ำร้อนลงไปในยางดิบแล้วใช้เครื่องเหวี่ยงจนทำให้ยางเหนียว (gum) ตกตะกอน ในขั้นตอนนี้จะได้น้ำมันดิบตะกอนยางเหนียวกากถั่วเหลืองและกัม เป็นผลพลอยได้ สามารถนำส่วนเกินเหล่านี้ไประเหยแยกตัวทำละลายออกอีกครั้งแล้วนำไปนึ่งให้สุก ลดความชื้นที่ปะปนอยู่โดยการทำให้แห้งก่อนนำไปป่น สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอาหารสัตว์ หรือผลิตเป็น lecithinก็ได้

2. การทำให้เป็นน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ (refining)

                2.1 ขั้นตอนนี้ต้องทำน้ำมันดิบที่แยกตะกอนและอื่นๆ ออกแล้วให้มีค่า ph เป็นกลาง เพื่อที่จะกำจัดกรดไขมันอิสระ ซึ่งทำโดยการเพิ่มโซดาไฟ ซึ่งมีค่า ph เป็นด่างลงไป โซดาไฟนี้จะไปทำปฏิกิริยากับกรดไขมันอิสระ FFA ด้วยปฏิกิริยา souponification ได้สบู่ และแยกเอาสบู่ออก

                2.2 ขั้นตอนการฟอกสี โดยเติมดินฟอกสีลงไป

                2.3 การกำจัดกลิ่นโดยการกลั่น ขั้นตอนนี้จะใช้อุณหภูมิสูงเพื่อให้ได้น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ไร้สีไร้กลิ่นตามที่ต้องการและชวนให้บริโภค

เมื่อทราบถึงกระบวนการผลิตน้ำมันถั่วเหลืองที่สลับซับซ้อนแล้ว จึงทำให้เข้าใจว่า ทำไมน้ำมันถั่วเหลืองจึงมีราคาสูงกว่าน้ำมันปาล์ม...กว่าจะได้น้ำมันถั่วเหลืองมาใช้แต่ละขวด ต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากพอสมควรเลย ว่าไหมค่ะ..แต่ เอ เค้ามีการฟอกสีด้วยนะ ไม่น่าหล่ะ น้ำมันถั่วเหลืองจึงใสแจ๋ว ดูน่าใช้เชียว...

แคลอรี่ในน้ำมันถั่วเหลือง

ในน้ำมันถั่วเหลือง 100 กรัม จะมีพลังงานอยู่ทั้งหมด 763 แคลอรี่ ถือว่าเป็นพลังงานที่ค่อนข้างสูงมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้าได้นำมาประกอบอาหารแล้วจะทำให้อาหารชนิดต่างๆ มีพลังงานที่สูงยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นแล้วการนำเอาน้ำมันถั่วเหลืองมาประกอบอาหารจะต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้มากจนเกินไป อีกทั้งหากร่างกายของเราไม่สามารถนำพลังงานที่ได้จากการทานอาหารมาใช้ได้หมด...อาจทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกาย จนทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดต่างๆ ได้

กินน้ำมันถั่วเหลือง อ้วนไหม?

ไม่ใช่คุณเพียงแค่คนเดียวที่ไม่มีความมั่นใจในการทานน้ำมันถั่วเหลือง หรือนำเอาน้ำมันถั่วเหลืองมาใช้ในการประกอบอาหาร เพราะในสมัยนี้การใช้น้ำมันมาประกอบอาหารถือว่ามีโอกาสทำให้เกิดโรคอ้วนได้ และด้วยเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรงอาจทำให้คุณจะต้องคิดหนักก่อนประกอบอาหารด้วยน้ำมันถั่วเหลืองกันเลยทีเดียว

น้ำมันถั่วเหลืองอ้วน?

แต่คำตอบที่ว่าทานน้ำมันถั่วเหลืองแล้วจะอ้วนหรือไม่อ้วน นั่นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการทานอาหารของคุณมากกว่า ถ้าหากคุณใช้น้ำมันถั่วเหลืองมาประกอบอาหารแล้วใช้ในปริมาณที่มาก และไม่ยอมออกกำลังกายเอาพลังงานออกมาใช้เลย ก็อาจจะทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายของคุณได้ ดังนั้นการใช้น้ำมันในการทำอาหารย่อมทำให้อาหารมีพลังงานสะสมอยู่อย่างแน่นอน

กินน้ำมันถั่วเหลือง ดีหรือมีอันตราย?

กว่าจะมาเป็นน้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ให้เรากินนั้น จะต้องผ่านกระบวนการฟอกสีเพื่อให้ดูสีสวย สดใส และแต่งกลิ่นเพื่อไม่ให้ได้กลิ่นเหม็นหืนเมื่อเวลาผ่านไป โดยส่วนใหญ่จะใส่ไฮโดรเจนซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้สารเคมีมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย

อีกอย่างหนึ่งที่เป็นอันตรายก็คือ ความร้อนในร่างกายของเราสูงพอที่จะทำให้น้ำมันพืชที่รับประทานเข้าไปกลายเป็นกาวเหนียวๆ เกาะตามอวัยวะที่เป็นระบบทางเดินอาหารทำให้ระบบการดูดซึมน้ำและวิตามินที่ละลายไปกับน้ำบกพร่องไป การรับประทานอาหารที่ทำด้วยน้ำมันถั่วเหลืองนานๆ จึงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมักหาทางแก้ไขเรื่องเหล่านี้ด้วยการดีท็อกซ์เพื่อทำความสะอาดร่างกาย เป็นอีกวิธีหนึ่งของการดูแลสุขภาพ

ควรเลือกใช้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือ น้ำมันปาล์ม?

น้ำมันถั่วเหลืองนั้นจะมีไขมันประเภทไม่อิ่มตัวมาก จึงไม่เป็นไขเมื่ออยู่ในที่อากาศเย็น แต่ถ้าถูกความร้อนสูง ก็จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนซึ่งทำให้เกิดสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองเฉพาะอาหารประเภทผัด

ส่วนน้ำมันปาล์มมีไขมันประเภทอิ่มตัวมากกว่า จึงทนความร้อนได้สูงกว่าโดยไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ผลที่ตามมาคือได้อาหารที่กรอบอร่อยและไม่อมน้ำมันแต่จะมีไขมันอิ่มตัวมากซึ่งมีผลทำให้เกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ง่ายกว่า แต่ที่สุดแล้ว นักโภชนาการบางท่านก็ยืนยันว่า ถึงอย่างไรน้ำมันพืช...ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปาล์ม หรือ น้ำมันถั่วเหลืองก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ดี

น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง

เมื่อรู้ถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของน้ำมันถั่วเหลือง การผลิตน้ำมันถั่วเหลือง รวมถึงอันตรายของการทานน้ำมันกันไปแล้ว เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค ควรทานในปริมาณน้อย และพยายามหาวิธีขับออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสม เกาะในผนังลำไส้ ด้วยการออกกำลังกาย หรือดีท็อกซ์ร่างกายบ้าง เพื่อทำความสะอาดระบบย่อยอาหารของเรา...ทำได้อย่างนี้ รับรอง สุขภาพดีถ้วนหน้ากันทุกคนค่ะ...

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำมันประกอบอาหาร