เคล็ดลับสุขภาพ แนะนำผลิตภัณฑ์ ใช้ดีบอกต่อ October 23, 2018 Share 0 Tweet Pin 0 “น้ำมันระกำ” สรรพคุณดี บรรเทาอาการปวดน้ำมันระกำ เมทิลซาลิไซเลต (Methyl salicylate หรือ Wintergreen oil หรือ Oil of wintergreen) เป็นสารอินทรีย์ในธรรมชาติ พบได้จากพืชหลายชนิดโดยเฉพาะพืชในกลุ่มวินเทอร์กรีน (Wintergreen) รวมถึงพืชอีกหลายชนิดที่ผลิตเมทิลซาลิไซเลตในปริมาณเล็กน้อย เช่น สปีชี่ส่วนใหญ่ของวงศ์ Pyrolaceae โดยเฉพาะในสกุล Pyrola บางสปีชี่ของสกุล Gaultheria ในวงศ์ Ericaceae และบางสปีชี่ของสกุล Betula ในวงศ์ Betulaceae โดยเฉพาะในสกุลย่อย Betulenta แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์สารเมทิลซาลิไซเลตแบบที่พบในน้ำมันระกำได้ และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำหอม อาหาร เครื่องดื่ม และยา หรือมักถูกนำมาเป็นส่วนผสมของครีม ขี้ผึ้ง น้ำมันทาถูนวดสำหรับลดอาการปวดของกล้ามเนื้อและปวดข้อ ซึ่งสารเมทิลซาลิไซเลตในน้ำมันระกำมักใช้ได้ผลดีกับอาการปวดชนิดเฉียบพลันไม่รุนแรง แต่อาการปวดชนิดเรื้อรังจะเห็นผลได้น้อยแหล่งที่พบน้ำมันระกำน้ำมันระกำในอดีตสามารถสกัดได้จากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้ ซึ่งสามารถแยกที่มาของน้ำมันระกำได้ 2 แหล่ง คือ1. น้ำมันระกำที่ได้มากจากธรรมชาติ ซึ่งจะได้มาจากการกลั่นใบของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gaultheria procumbens Linn. ชื่ออังกฤษ wintergreen, Checkerberry, Teaberry Tree, อยู่ในวงศ์ ERICAEAE มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเล็กๆ แผ่ไปตามดิน ยอดจะชูสูงขึ้นประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร มีอายุเกิน 1 ปี ใบเดี่ยวออกสลับกัน ใบมีสีเขียวแก่ รูปไข่ ยาว 1 - 2 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นหอมหวานรสฝาด ดอกสีขาวเป็นรูประฆัง ยาว 5 มิลลิเมตร ออกที่ข้อข้างๆ ใบ ผลเป็น capsule สีม่วง มีส่วนของกลีบรองกลีบดอกสีแดงสดติดอยู่ ซึ่งในใบจะมีสาร methyl Salicylate อยู่ถึง 99% โดยพืชชนิดนี้เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ2. น้ำมันระกำที่ได้มาจากการสังเคราะห์สารเคมี โดยจะได้จากการสังเคราะห์สารที่มีชื่อทางเคมีว่า Salicylyl acetate เป็นอนุพันธ์เอสเธอร์ของ Salicylic acid และ methyl salicylate โดยใช้ปฏิกิริยาคอนเดนเซซั่นของกรดซาลิไซลิกกับเมทานอล โดยทำให้กรดซัลฟิวริกผ่าน esterification กรด Salicylic จะละลายในเมทานอลเพิ่มกรดกำมะถันและความร้อน เวลาในการทำปฏิกิริยาคือ 3 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 90 - 100 ℃ เมื่อปล่อยให้เย็นถึง 30 ℃ แล้วใช้น้ำมันล้างด้วยสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่มีค่า pH 8 ด้านบนแล้วล้างด้วยน้ำ 1 ครั้ง ส่วนการกลั่นด้วยเครื่องสุญญากาศ 95 - 110 ℃ (1.33-2.0kPa) กลั่นให้ได้เมทิลซาลิไซเลต 80% หรือปริมาณเมทิลเซลิเซียลในอุตสาหกรรมทั่วไปเท่ากับ 99.5%ประโยชน์และสรรพคุณของน้ำมันระกำน้ำมันระกำ (Methyl Salicylate) ใช้เป็นยาระงับปวดชนิดใช้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึงหรือเคล็ด ข้อต่ออักเสบ ช้ำ หรือปวดหลัง เป็นต้น โดยยานี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเย็นบริเวณผิวหนังในตอนแรก จากนั้นจะค่อยๆ อุ่นขึ้น นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาโรคอื่นตามดุลยพินิจของแพทย์ด้วย โดยน้ำมันระกำจะมีกลไกในการออกฤทธิ์ คือ จะกระตุ้นปลายประสาทที่รับความรู้สึกถึงความร้อน - อบอุ่น ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนองถึงการบรรเทาอาการปวดลดลง และมีฤทธิ์เป็นยาชาแบบอ่อนๆ มี pH เป็นกรดค่อนข้างแรง มีโมเลกุลแบบ BHA มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะแบบอ่อนๆ ทำให้ทำลายแบคทีเรียที่ผิวหน้าได้ มักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาแอสไพริน ซาลิโซเลต และยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ยังใช้เมทิลซาลีไซเลตในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน แป้งฝุ่นแป้งฝุ่น ยาหม่อง อุตสาหกรรมย้อมสี และน้ำหอม เป็นต้นอันตรายที่อาจเกิดจากน้ำมันระกำรายงานการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันในน้ำมันระกำ (Methyl Salicylate) โดยพบว่าสารเมทิลซาลิไซเลตหรือน้ำมันระกำบริสุทธิ์จัดเป็นสารเคมีที่มีพิษ ร่างกายมนุษย์ไม่ควรได้รับเมทิลซาลิไซเลตเกิน 101 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในปี พ.ศ. 2550 มีรายงานว่า นักกีฬาที่วิ่งข้ามประเทศเสียชีวิตเนื่องจากร่างกายของเขามีการดูดซึมสารเมทิลซาลิไซเลตมากเกินไป ด้วยการใช้ยาทา แก้ปวด ดังนั้นการใช้ยาทาเมทิลซาลิไซเลตควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้งปริมาณที่ควรใช้น้ำมันระกำน้ำมันระกำที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดในบ้านเราส่วนใหญ่ มักจะเห็นเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของน้ำมันระกำ ส่วนใหญ่เป็นยาถูนวดที่ใช้ทาภายนอก องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าร่างกายมนุษย์ไม่ควรได้รับเมทิลซาลิไซเลตเกิน 101 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) โดยหากใช้เป็นยาทาก็อาจจะใช้ทาได้ในบริเวณที่ปวดวันละ 3 - 4 ครั้ง เท่านั้นข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้น้ำมันระกำ1. เนื่องจากน้ำมันระกำมีฤทธิ์คล้ายแอสไพริน ดังนั้นจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา หากมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยาชนิดนี้ 2. ผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้ทาบริเวณเต้านม3. ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้ยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์4. ห้ามทายานี้ในบริเวณที่เป็นแผลเปิด หรือแผลไหม้5. หากทายานี้แล้วมีอาการแสบร้อนมากขึ้น ให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่แล้วเช็ดเบาๆ เพื่อทำความสะอาดกำจัดยาออกไป6. ห้ามทายานี้บริเวณตา อวัยวะเพศ ช่องปาก เพราะจะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างมากต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น7. หลีกเลี่ยงการใช้เพื่อสูดดม เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจได้8. หากใช้ยาชนิดครีม เจล โลชั่น ออยล์ ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์ ให้ทาบางๆ ในบริเวณที่มีอาการปวด และนวดเบา ๆ ให้ยาซึมเข้าสู่ผิวหนัง9. การใช้ยาชนิดน้ำหรือแท่ง ให้ทายาบริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นนวดช้าๆ จนยาซึมลงผิวหนัง10. การใช้ยาชนิดแผ่นแปะ ให้ลอกแผ่นฟิล์มออก จากนั้นแปะบริเวณที่มีอาการปวดให้แนบสนิทไปกับผิวหนัง โดยใช้วันละ 1 - 2 ครั้ง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้น้ำมันระกำการใช้น้ำมันระกำ Methyl Salicylate อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวระคายเคือง แสบ แดง มีอาการชา รู้สึกปวดคล้ายเข็มทิ่มตามผิวหนัง เกิดภาวะภูมิไวเกิน เป็นต้น และหากพบผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้น้ำมันระกำ (Methyl Salicylate) เช่น เป็นลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม คอบวม ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที นอกจากนี้หากมีอาการแสบอย่างรุนแรง เจ็บ บวม หรือพุพองในบริเวณที่ใช้ยาให้รีบล้างยาออกและไปพบแพทย์ทันทีใครก็ตามที่มีความจำเป็นจะต้องใช้ "น้ำมันระกำ" ก็ควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ หรือถ้าเป็นไปได้ทางที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้เพื่อความปลอดภัย