free web tracker, fire_lady ภาวะหัวใจขาดเลือด…อันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง • สุขภาพดี

ภาวะหัวใจขาดเลือด

อันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง

หัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจเป็นอีกโรคหนึ่งที่คล่าชีวิตคนไทยในอันดับต้น ๆ เปรียบเสมือนฆาตกรที่คอยจู่โจมเราโดยไม่รู้ตัว แฝงตัวเข้ามากว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาการกำเริบต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลเสียแล้ว

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ

คนส่วนใหญ่มักจะใช้ชีวิตแบบประมาท ดื่มสุรา นอนดึก เที่ยวกลางคืน รับประทานอาหารที่มีไขมันมากจนเกินไป เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจทั้งสิ้น

แชร์ประสบการณ์...ภาวะหัวใจขาดเลือดที่เกิดกับเพื่อน

เพื่อนของดิฉันเองก็เช่นกัน เธอมีโรคประจำตัวป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว วันหนึ่งเธอออกไปเดินห้างกับดิฉัน ในขณะที่เดินทางกลับบ้าน เธอก็บอกกับดิฉันว่า แน่นหน้าอกมากเหมือนมีอะไรมาทับ หายใจไม่ค่อยออก คล้ายจะอาเจียน ดิฉันก็รีบนำตัวเพื่อนส่งโรงพยาบาล พอไปถึงก็มีเจ้าหน้าที่มารับขึ้นรถเข็นเปลนอน ดิฉันก็นำบัตรโรงพยาบาลไปยื่นที่ห้องบัตรโดยเร่งด่วน

ก่อนเข้าห้องตรวจพยาบาลได้วัดความดันของผู้ป่วย ผลปรากฏว่าความดันสูง เพื่อนบอกกับดิฉันว่า “รู้สึกปวดหัวมากแทบจะทนไม่ไหว” พยาบาลรีบนำผู้ป่วยเข้าห้องฉุกเฉินโดยทันที ประมาณเกือบ 2 ชั่วโมง ผู้ช่วยเหลือคนไข้ก็เข็นผู้ป่วยออกมา

สักพักพยาบาลเดินออกถามดิฉัน “เป็นญาติของผู้ป่วยใช่ไหมคะ เดี๋ยวจะพาผู้ป่วยไปที่ห้องเอ็กซ์เรย์ จากนั้น แล้วจะพาผู้ป่วยขึ้นตึกโรคหัวใจนะคะ วันนี้คุณหมอให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลก่อนค่ะ”

ดิฉันรีบโทรบอกญาติที่บ้านเธอ และรีบขึ้นไปเฝ้าดูอาการป่วยของเธอ สักพักเธอบอกกับดิฉัน“จะอาเจียนไม่ไหวแล้ว” ดิฉันรีบเอากระโถนให้เธอ เธออาเจียนออกมาจนหมด

พออาการเริ่มดีขึ้น เธอก็เล่าให้ดิฉันฟังว่า “หมอให้อมยาใต้ลิ้น และฉีดยาให้ฉัน อาการก็เลยดีขึ้น อาจเป็นเพราะฉันดื่มชาเขียว ทำให้มีอาการหัวใจสั่น”

ตอนเช้าวันรุ่งขึ้น คุณหมอมาตรวจอาการ ได้บอกกับเพื่อนดิฉันว่า “ป่วยเป็นโรคหัวใจที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เนื่องจากเลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ วันพรุ่งนี้จะให้ผู้ป่วยไปตรวจคลื่นหัวใจ ถ้าอาการดีขึ้นจะให้กลับบ้านได้”ผลปรากฏว่า ผลการตรวจคลื่นหัวใจปกติ เพื่อนของดิฉันได้พักรักษาตัวจนอาการดีขึ้นอยู่ที่โรงพยาบาลอยู่ 3 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้

ทั้งนี้ คุณหมอได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ ในระยะแรกเริ่ม ดังนี้


1 เหนื่อยง่าย เวลาที่ออกกำลังกาย เนื่องจากหัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ระบบการเต้นของหัวใจทำงานหนักมากจนเกินไป

2 เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ

3 ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย ขณะที่ทำงานหนักหรือเหนื่อยทั้งที่อยู่เฉย ๆ หากไม่รีบไปพบแพทย์ โดยเร็วและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

4 ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยปกติคนเราจะมีอัตราการเต้นสม่ำเสมออยู่ที่ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที แต่ถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ที่ 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่ทันเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่าท่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้นและเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ฉะนั้นใครที่เป็นลมบ่อย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นโรคหัวใจได้

5 หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อน หากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีดูแลรักษาตัวเมื่อเป็นโรคหัวใจ

1 การออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยอย่างน้อยออกกำลังกายให้ได้ 30 นาที เช่น อาจเป็นการออกกำลังกายแบบเบา ๆ การแก่วงแขน การเดิน การฝึกโยคะ เป็นต้น

2 ควบคุมอาหารที่จะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันที่มาจากสัตว์ทุกชนิด เช่น มันหมู หนังไก่ ไข่แดง เป็นต้น ไม่รับประทานอาหารมากหรือน้อยจนเกินไป

สุดท้ายดิฉันขอฝากเรื่องของการทำสมาธิเพื่อรักษาโรคหัวใจ คุณหมอได้บอกกับดิฉันไว้ว่า การทำสมาธิช่วยในการรักษาโรค เพราะการที่คนเรากำหนดลมหายใจในที่จังหวะสม่ำเสมอ หายใจให้ลึก ๆ เลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเต็มที่ จะทำให้ระบบการทำงานของหัวใจคงที่ ส่งผลทำให้เรารู้สึกสบายกายและสบายใจ สุขภาพจิตก็จะดี ห่างไกลปลอดภัยโรคค่ะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ "โรคภัยใกล้ตัว"