เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ November 25, 2018 Share 0 Tweet Pin 0 “ยาหม่อง-ยาหม่องน้ำ” ยาสำคัญที่ควรมีติดตู้หากเราเปิดตู้ยาที่บ้านคงจะพบยาที่เรารู้จักเป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งยาพาราเซตามอล ยาธาตุน้ำขาว ยาแก้ไอ แต่แน่นอนว่า “ยาหม่อง” น่าจะเป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่ขาดจากตู้ยาไม่ได้ ยาหม่อง เป็นยาสามัญประจำบ้านของชาวไทย มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งเนื้อเหลวอ่อน มีกลิ่นหอม ใช้สำหรับทา ถู นวด บรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย หน้ามืดวิงเวียน คัดจมูกเนื่องจากหวัด ตาลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ฟกซ้ำดำเขียว และอื่นๆ อีกมากมายประวัติความเป็นมาของยาหม่องเดิมทีประเทศไทยได้ใช้ยาที่มาจากพม่าบ้าง ซึ่งยาที่มาจากพม่าเราเรียกกันว่า “ยามาจากหม่อง” แต่ยังไม่ได้มีคำจำกัดความเฉพาะว่าเป็นยาขี้ผึ้งทาถูกนวด แต่เป็นการเรียกยาโดยรวมที่มาจากพม่าว่า “ยาหม่อง” สามารถแก้ได้สารพัดโรคก่อนปี พ.ศ. 2493 ไทเกอร์บาล์ม ได้เข้ามาในประเทศไทย และมีชื่อจีนที่ชาวจีนเรียกว่า บ่วงกิมอิ๊ว (แปลเป็นไทยว่า น้ำมันแก้สารพัดโรค) โดยมีข้อมูลจาก โฮ้ว ป่า คอร์เปอเรชั่น บันทึกว่ากิจการได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 ที่ประเทศพม่า และย้ายไปยังประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2451 และเริ่มขยายกิจการมายังประเทศไทยต่อมาบริษัท บริบูรณ์โอสถ จำกัด ของคนไทย ก็ได้ผลิต “บริบูรณ์บาล์ม” ตั้งชื่อโดยไม่ได้ใช้คำว่ายาหม่อง และได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปฉลากยา และมีข้อมูลระบุไว้ว่า "ต้นตำรับของยาหม่อง คือ "น้ำมันหม่องตะหยก" เมื่อน้ำมันหม่องตะหยกขายดีก็มี "น้ำมันหม่องตะกิด" ออกขายแข่งบ้าง แต่ทำไปทำมาน้ำมันหม่องทั้งสองชนิดนี้กลับหายไปจากตลาด เดิมก็ไม่ได้เรียกว่า "ยาหม่อง" แต่เรียกว่า น้ำมันหม่องปี 2487 ร้านขายของชำ ลี้เปงเฮง ได้ผลิตยาขี้ผึ้งชนิดหนึ่งมีสีเหลืองอ่อนและตั้งชื่อว่า ยาหม่องตราถ้วยทอง โดยมีจุดมุ่งหมายว่าเป็นยาแก้สารพัดโรค และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องหมายถ้วยทองไว้ จากนั้นในปี พ.ศ. 2493 นายโยธิน ลีลารัศมี ได้จดทะเบียน บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด กับกระทรวงพาณิชย์เพื่อทำการผลิตยา และทำการขึ้นทะเบียนยากับสำนักคณะกรรมการอาหารและยาต่อมาในปี พ.ศ. 2495 บริษัท ถ้วยทองโอสถ จำกัด ได้ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพิ่มเติม เป็นรูปกล่องยาหม่องที่มีคำว่ายาหม่องตราถ้วยทอง นับเป็นหลักฐานการใช้คำว่า "ยาหม่อง" ในความหมายของยาขี้ผึ้งสารพัดประโยชน์เป็นครั้งแรกที่สามารถสืบค้นได้เป็นลายลักษณ์อักษรข้อมูลยากลุ่มยา: ยาระงับอาการปวดประเภทยา: ยาหาซื้อได้เองสรรพคุณ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ปวดบวมจากแมลงกัดต่อย และวิงเวียนศีรษะกลุ่มผู้ป่วย: เด็กและผู้ใหญ่รูปแบบของยา: ขี้ผึ้ง และชนิดน้ำคำเตือนในการใช้ยาหม่อง1. ผู้ที่มีผิวบอบบางหรือผิวแพ้ง่ายควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา2. สตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา3. ห้ามใช้ยากับทารกหรือเด็กเล็ก หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์4. ห้ามนำเข้าปากหรือรับประทานยาหม่องโดยเด็ดขาด5. ห้ามใช้ยาหม่องทาบริเวณผิวที่แห้ง แตก แพ้ง่าย ผิวไหม้จากแสงแดด หรือมีบาดแผล6. ห้ามใช้ผ้าพันแผลพันบริเวณผิวหนังที่ป้ายยาหม่อง7. ห้ามให้ผิวบริเวณที่ป้ายยาสัมผัสกับความร้อน ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อน ซาวน่า หรือใช้แผ่นประคบร้อน8. ห้ามทายาหม่องภายใน 1 ชั่วโมงก่อนอาบน้ำ และ 30 นาที หลังอาบน้ำทั้งนี้ถ้าเป็นยาหม่องน้ำที่มีสารเมทิลซาลิไซเลตเป็นส่วนประกอบหลักไม่ควรนำมาใช้สูดดม เพราะอาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ส่วนสารระเหยชนิดอื่น ๆ หากสูดดมที่มีความเข้มข้นสูงอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกได้เช่นกัน นอกจากนี้ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ระบุว่าการสูดดมเมนทอลมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึนงง สับสน มองเห็นภาพซ้อน และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ปริมาณการใช้ยาหม่องยาหม่องสำหรับทา ให้ใช้ทาและนวดตามบริเวณที่มีอาการปวด เมื่อย หรือมีแมลงสัตว์กัดต่อยในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปยาหม่องสำหรับสูดดม ให้ใช้สูดดมเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม แต่ไม่ควรบ่อยครั้งจนเกินไปข้อแนะนำสำหรับการใช้ยาหม่อง1. ปฏิบัติตามข้อแนะนำในการใช้ยาของแต่ละผลิตภัณฑ์หรือคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด 2. ไม่ควรใช้ยาหม่องในปริมาณมากเกิน น้อยเกิน หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานกว่าที่กำหนด3. หากใช้ยาเป็นครั้งแรก ควรป้ายยาหม่องปริมาณเล็กน้อยลงบนข้อพับแขนหรือข้อมือแล้วทิ้งไว้สักครู่ หากพบว่ามีอาการแพ้ เช่น ผิวหนังแดง มีผื่น ควรล้างผิวบริเวณที่ป้ายยาด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันที และไม่ใช้ยา4. ล้างมือก่อนและหลังจากใช้ยาหม่องทุกครั้ง5. หากยาหม่องเข้าตา จมูก หรือปาก ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดทันที6. รีบไปพบแพทย์หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 7 วัน หรือกลับมาปวดซ้ำภายใน 2 - 3 วันหลังจากหายดีแล้ว หรือมีผื่นแดง ปวดศีรษะ มีไข้ หลังจากใช้ยา7. เก็บยาหม่องไว้ในที่อุณหภูมิห้อง ป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด และปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้ยาผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยาหม่องยาหม่องอาจทำให้รู้สึกร้อนหรือเย็นบริเวณผิวหนังที่ป้ายยา ซึ่งความรู้สึกนี้จะค่อยๆ บรรเทาไปเอง ทั้งนี้ หากมีอาการแพ้รุนแรง เช่น ลมพิษ ผิวไหม้ แสบร้อนหรือระคายเคืองที่ผิวมาก หายใจลำบาก มีอาการบวมตามใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และคอ ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์ทันทีสูตรทำยาหม่องสูตรที่ 1ส่วนผสม1. พาราฟิน 15 กรัม2. วาสลีน 57 กรัม3. เมนทอล 9.50 กรัม4. ผงการบูร 2.50 กรัม5. น้ำมันระกำ 8.00 กรัม6. น้ำมันอบเชย 1.50 กรัม7. น้ำมันเขียว 2.50 กรัม8. น้ำมันกานพลู 1.50 กรัม9. น้ำมันสะระแหน่ 2.50 กรัมวิธีทำ1. นำพาราฟินและวาสลีนต้มให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน2. นำส่วนผสมข้อ 3 - 9 มาคนให้ละลายเข้าด้วยกัน3. นำส่วนผสมในข้อ 1-2 ผสมเข้าด้วยกัน หากต้องการยาหม่องสีต่างๆให้เติมสีน้ำมันลงไป4. เทกรอกผ่านกรวยกระดาษเพื่อไม่ให้หกนอกขวดสูตรที่ 2 ยาหม่องตะไคร้หอมส่วนผสม1. ไพลแก่ 1/2 กก. 2. น้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว 200 กรัม3. ขี้ผึ้งบริสุทธิ์ 50 กรัม4. วาสลีน 50 กรัม5. การบูร 100 กรัม6. เมนทอลเกล็ด 100 กรัม7. พิมเสน 50 กรัม8. น้ำมันระกำ 1/2-1 ออนซ์9. น้ำมันกานพลู 1/2-1 ออนซ์10. น้ำมันตะไคร้ 1/2-1 ออนซ์วิธีทำ1. นำไพลล้างให้สะอาดหั่นให้เป็นชิ้นบาง ๆ ลงทอดในน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใช้ไฟอ่อน ๆ จนกระทั่งไพลเป็นสีเหลืองยกลงกรองเอากากออกให้หมด จะได้น้ำมันประมาณ 100 กรัม นำรายการที่ 3 - 4 ใส่คนให้ละลาย2. นำรายการที่ 5 ผสมรายการที่ 6 – 7 คนให้ละลายเติมรายการที่ 8 - 10 คนให้เป็นเนื้อเดียวกันและนำไปผสมขั้นที่ 1 คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน3. นำใส่ลังนึ่งตั้งไฟให้เดือด แล้วนำส่วนผสมทั้งหมดใส่หม้อเคลือบลงนึ่งคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ 5 - 10 นาที เทใส่ภาชนะขณะที่ร้อนเก็บไว้หรือนำไปขายต่อไป"ยาหม่อง" และ "ยาหม่องน้ำ" เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เราใช้กันมาอย่างยาวนาน ดังนั้นเราจะมียาเหล่านี้ติดตู้ยาไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะถือเป็นยาที่แก้ได้สารพัดโรคเลยก็ว่าได้