อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว July 20, 2017 Share 0 Tweet Pin 0 ระวัง!! “ไตเสื่อม” ไม่ได้เกิดจากกินเค็ม เพียงอย่างเดียวความเจ็บป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นกับ "ไต" นั้นอย่าคิดว่าเป็นสิ่งไกลตัว เพราะจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราหลายๆ เรื่องล้วนมีโอกาสจะทำให้เกิดอาการของ "ไตเสื่อม" ได้ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากเนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะไตวาย ไม่สามารถกรองของเสียในเลือดออกไปทางปัสสาวะได้ แล้วทีนี้ก็จะมีการตกค้างของของเสียขึ้นภายในร่างกาย ไม่เป็นผลดีต่อระบบการต่างๆ ทำให้การทำงานผิดปกติ ไม่มีความสมดุล หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้สาเหตุของการทำร้ายไตก็ไม่ได้มีเพียงการกินอาหาร "รสเค็มจัด" มากไปเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละคนโดยที่เราเองไม่รู้ตัวด้วย แน่นอนว่าเกือบทุกคนต้องเคยมีพฤติกรรมเสี่ยง "ไตเสื่อม" กันไม่มากก็น้อย กินเค็มไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ "ไตเสื่อม" เร็ว1. ไตเสื่อมเพราะความเครียด ในเวลาที่ร่างกายรู้สึกเครียดจะทำให้การหายใจเข้าออกช้าลงหรือมีการกลั้นหายใจในบางช่วง ส่งผลให้อากาศเข้าไปในไตไม่เพียงพอ รวมไปถึงอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย2. โรคความดันโลหิตสูง หากเป็นโรคนี้แล้วไม่ดูแลควบคุมให้ระดับความดันอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคไต ทำให้ไตเสื่อมลง และอาจลามไปถึงขั้นไตวายเรื้อรัง3. ใช้งานร่างกายหนัก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือการท่องเที่ยว ใช้ชีวิตอย่างสมบุกสมบัน มากกว่าการให้ร่างกายได้พักผ่อนเพื่อซ่อมแซมตัวเองบ้าง จะทำให้ไตทำงานหนักไปด้วยและเสื่อมเร็ว4. มีเวลานอนหลับน้อย การนอนหลับอย่างเต็มที่จะช่วยให้อวัยวะส่วนใหญ่ได้หยุดการทำงานเพื่อฟื้นฟูให้ทำงานได้เป็นปกติ แต่ในทางตรงข้ามการนอนหลับน้อยจะทำให้ระบบต่างๆ และไตเสื่อมได้ง่าย5. ดื่มน้ำน้อยและดื่มน้ำมาก ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้พอดีและเพียงพอ การดื่มน้ำน้อยจะทำให้ไตทำงานผิดปกติ เพราะมีน้ำไม่พอที่จะช่วยขับของเสีย แต่การดื่มน้ำมากเกิน ไตจะทำงานหนักในการขับปัสสาวะ6. ชอบกินอาหารสำเร็จรูป เป็นอาหารที่จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสะสมอยู่ในร่างกายมากเกิน ซึ่งอาจส่งผลให้ไตต้องรับภาระหนักในการกำจัด จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตเสื่อมเป็นอย่างยิ่ง7. กินอาหารรสชาติจัด นอกจากรสเค็มแล้วก็ยังรวมถึงรสเผ็ดจัด หวานจัด และอาหารมันๆ ล้วนเป็นตัวการที่จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้นและส่งผลให้เกิดโรคไตได้8. น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุของหลายๆ โรคและจะเกิดของเสียในร่างกายได้มากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคไตสูง9. การกินยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน โรคความดัน ยาแก้ข้อหรือกระดูกอักเสบ ฯลฯ ถ้ากินติดต่อกันนานๆ อาจสะสมเป็นอันตรายต่อไต จึงจำเป็นต้องปรับปริมาณยาที่กินให้เหมาะสมกับอาการของโรคอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิด "ไตเสื่อม" จากการทานยาหลายคนคิดว่าตัวเองไม่กินอาหารเค็มๆ ก็คงไม่เป็นโรคไตแน่นอน แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยเลยที่อาจทำให้ไตของเราเสื่อมลง เพราะฉะนั้นการไม่กินเค็มมากเกินถือเป็นสิ่งที่ดี แล้วก็ต้องไม่ลืมว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตอีกหลายอย่างที่มีส่วนในการทำร้ายไตได้เช่นเดียวกัน พยายามค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันเร็วๆ ดีกว่าเพื่อสุขภาพไตที่แข็งแรง ป้องกันภาวะไตเสื่อมกันนะจ๊ะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพ 10 พฤติกรรมที่ไม่รีบเปลี่ยน ทำ “จุดซ่อนเร้น” มีกลิ่นแน่ ไขข้อข้องใจ “โทษของเห็ดหลินจือ” มีจริงหรือ? 7 อาหารดีๆ จากธรรมชาติ…ที่มีแมกนีเซียมสูง 5 ผลไม้แก้ไอขับเสมหะ…แทนยาแก้ไอได้สบาย หายเป็นปลิดทิ้ง