เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ January 10, 2017 Share 0 Tweet Pin 0 "สารบอแรกซ์" ภัยร้ายที่มากับความกรุบกรอบ ในปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปจำพวก ลูกชิ้น ไส้กรอก แฮม และหมูยอ มีอัตราการเติบโตค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นอาหารที่สามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารมื้อหนักก็ได้ รับประทานแกล้มส้มตำหรือยำรสเด็ดก็ดี อีกทั้งยังสามารถนำมานึ่งหรือทอดกินกับน้ำจิ้มระหว่างวันเพลินๆ ก็อร่อยไปอีกแบบ จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการแต่ละเจ้าจะพยายามคิดค้นสูตรลูกชิ้น หมูยอและไส้กรอกต่างๆ ออกมาเพื่อเอาใจผู้บริโภคยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคอาหารประเภทนี้เป็นประจำระบุว่า "ความกรุบกรอบ" หรือเคี้ยวแล้วเนื้อสัมผัสมีความ "เด้ง" จะทำให้อาหารประเภทนี้มีความอร่อยเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตจึงยิ่งพยายามหาวิธีทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งหนึ่งในวิธีดังกล่าวคือการใส่ "สารบอแรกซ์" เข้าไปในอาหาร"สารบอแรกซ์" คืออะไร เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือไม่?ที่จริงแล้ว "สารบอแรกซ์" เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีชื่อเรียกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผงน้ำประสานทอง ผงกรอบ หรือเพ่งแซ โดยบอแรกซ์ถือเป็นสารที่มีประโยชน์มากนิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วและเซรามิค นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติสำคัญในการกำจัดศัตรูพืชและยังถูกนำมาเป็นส่วนผสมของยาเบื่อแมลงสาบที่สร้างความรำคาญใจให้กับแม่บ้าน อย่างไรก็ตามจากการสุ่มตรวจขององค์การอาหารและยาพบว่าผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปจำพวกลูกชิ้น ไส้กรอก แฮมและหมูยอ มีการปนเปื้อนของ "สารบอแรกซ์" อยู่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการบางราย ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ของตนมีรสสัมผัสที่กรุบกรอบ เด้งถูกใจผู้บริโภค จึงได้มีการผสมบอแรกซ์เข้าไปในปริมาณมาก ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) ระบุว่า "บอแรกซ์" เป็นสารที่ห้ามใส่ลงไปในอาหารเพื่อการบริโภคเป็นอันขาด เนื่องจากส่งผลเสียต่อร่างกายมหาศาล โดยผู้ที่รับประทานบอแรกซ์เข้าไปในปริมาณมาก (0.1-0.5 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม) จะทำให้เสียชีวิตทันที นอกจากนั้นข้อบ่งชี้ว่าร่างกายได้รับสารบอแรกซ์ยังสามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง1. อาการเฉียบพลัน เมื่อร่างได้ได้รับสารบอแรกซ์เข้าไปในปริมาณมากจะมีอาการหงุดหงิด อ่อนเพลียแต่นอนไม่หลับ อาจมีผื่นแดงขึ้นตามตัว ผมร่วงไม่มีสาเหตุ ในบางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอุจาระเป็นเลือดร่วมกับอาการท้องร่วง2. อาการเรื้อรัง สำหรับผู้ที่บริโภคอาหารที่ปนเปื้อนบอแรกซ์สะสมเป็นเวลานานจะมีอาการ ตาบวม เยื้อตาอักเสบผิวหนังแห้งผิดปกติ เบื่ออาหาร ในรายที่เป็นหนักจะมีอาการตับและไตอักเสบหรือพิการ ซึ่งค่อนข้างอันตรายเพราะกว่าจะแสดงอาการถึงขั้นนั้นอาจไม่มีวิธีรักษาแล้ว ซ้ำร้ายอาจต้องผ่าตัด โดยเฉพาะหากต้องเปลี่ยนไต ผู้ป่วยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและต้องพักฟื้นนานอีกด้วยจะเห็นได้ว่าสารบอแรกซ์เป็นสารที่อันตรายมาก คงจะดีไม่น้อยหากเราสามารถตรวจสอบได้ก่อนว่า อาหารที่เรารับประทานไปนั้นมีส่วนผสมของสารบอแรกซ์หรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจสอบก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด โดยสามารถสั่งซื้อชุดทดสอบบอแรกซ์ได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวประกอบไปด้วย 1) บีกเกอร์ ขนาด 50 มิลลิลิตร 2) หลอดหยดยา3) กระดาษลิสมัท4) ช้อนพลาสติก 5) แผ่นกระจก 6) กระดาษขมิ้น 7) น้ำยาบอแรกซ์ (อุปกรณ์ดังกล่าว สามารถซื้อได้ตามร้านที่ขายเครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์)ขั้นตอนการทดสอบ "สารบอแรกซ์"กรณีแรก สำหรับทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร1. สับอาหารที่สงสัยว่ามีสารบอแรกซ์ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณหัวไม้ขีดไฟ2. ใส่อาหารที่สงสัยว่ามีสารบอแรกซ์ 1 ช้อน ลงในบีกเกอร์3. เทน้ำยาบอแรกซ์ 1 จนอาหารในบีกเกอร์เปียก คนให้เข้ากัน จากนั้นใช้กระดาษขมิ้นแตะลงไปจนเปียก4. วางกระดาษขมิ้นบนแผ่นกระจก แล้วนำไปตากแดดประมาณ 10 นาทีหากกระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าอาหารที่เราทำการทดสอบมีการปนเปื้อนของบอแรกซ์อยู่กรณีที่สอง บอแรกซ์ในสารเคมี1. ตักสารเคมีปริมาณครึ่งช้อนชา ใส่ลงในบีกเกอร์2. เติมน้ำยาบอแรกซ์ในปริมาณ 2 - 3 มิลลิลิตร3. กวนจนสารเคมีละลาย จากนั้นใช้กระดาษขมิ้นแตะลงไปจนเปียกประมาณครึ่งแผ่นหากกระดาษขมิ้นมีสีแดง แสดงว่าอาหารที่เราทำการทดสอบมีการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์อยู่แต่ในการทดลองแต่ละครั้งนั้น ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยด้วยเนื่องจาก ‘น้ำยาบอแรกซ์’ ที่ใช้ในการทดสอบมีฤทธิ์เป็นกรด หากร่างกายสัมผัสกับน้ำยาดังกล่าวต้องล้างน้ำสะอาดทันที มิฉะนั้นอาจเกิดอาการแพ้ เกิดตุ่มหรือร้อยปื้นได้ นอกจากนั้นเพื่อผลการทดลองที่แม่นยำ ต้องเก็บกระดาษขมิ้นไว้ในที่มิดชิดไม่ให้สัมผัสถูกแสงแดด เนื่องจากความร้อนอาจทำให้ประสิทธิภาพของกระดาษขมิ้นได้จะเห็นได้ว่าอาหารสำเร็จรูปรวมไปถึงของหมักดองเป็นประเภทอาหารที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารบอแรกซ์มากที่สุด ดังนั้นนอกจากการดูแลตัวเองด้วยการนำอาหารที่สงสัยว่าจะปนเปื้อนมาทดสอบความปลอดภัยด้วยตนเองแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้คือลดการบริโภคอาหารจำพวกนี้ แล้วหันมารับประทานอาหารที่ปรุงขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเอง โดย ผ่านการล้างอย่างสะอาด ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ และเพิ่มโภชนาการอาหารด้วยการใส่ผักหลากชนิด รับรองว่าสุขภาพที่ดีจะอยู่กับคุณไปอีกนานบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหาร ภัยร้ายจาก “สารฟอกขาว” ที่ยิ่งขาว ยิ่งอันตราย!! สารเร่งเนื้อแดง…มหัตภัยร้ายใกล้ตัว!! สารกันรา…ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ!! สารกันบูด…ยิ่งบริโภค ยิ่งเสี่ยงโรคภัย!!