อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว July 21, 2017 Share 0 Tweet Pin 0 หา...อะไรนะ! ชอบทำแบบนี้แล้วหูจะเสื่อมเร็วเหรออาการของ "หูไม่ค่อยได้ยิน" เป็นระยะเบื้องต้นที่อาจทำให้อวัยวะอย่าง หู ซึ่งมีหน้าที่รับฟังเสียงต่างๆ มากมายเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารให้เราเข้าใจคนรอบข้าง ก็จะค่อยๆ ส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมลงได้หากมีปัจจัยอื่นมาส่งเสริมให้อาการแย่ลง บางรายโชคดีหน่อยที่การไม่ได้ยินของหูไม่รุนแรง เป็นเพียงแค่หูอื้อ หูตึง แต่สำหรับบางรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นหูดับทันทีเลยก็มี แล้วสิ่งที่ทำให้หูเกิดความเสี่ยงจะเสื่อมเร็ว บอกเลยว่ามีมากและใกล้ตัวจนเราเองยังไม่เคยนึกถึง แถมบางคนอาจทำเป็นประจำทุกวัน และไม่รู้หรอกว่าหูของตัวเองเริ่มจะไม่ค่อยดีแล้ว 8 พฤติกรรม ทำให้ "หูเสื่อม หูตึง" โดยไม่รู้ตัว1. การใช้โทรศัพท์ตลอดเวลา คุยโทรศัพท์เสียงดัง หรือการใช้ฟังเพลงครั้งละนานๆ มีความเสี่ยงจะทำให้หูเสื่อมเร็ว ทั้งนี้เคยมีการสำรวจวัยรุ่นที่ใช้โทรศัพท์มือถือ เอ็มพีสาม หรือไอพอด พบว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ใกล้เคียงกัน2. ชอบฟังเพลงเสียดัง เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีการใช้เสียงดังมากๆ แล้วยังชอบฟังเพลงอีก ซึ่งจำเป็นต้องเพิ่มระดับเสียงให้ดังมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ยินเสียงเพลง จะทำให้ประสาทรับเสียงทำงานหนักมากตามไปด้วย3. ประเภทของหูฟัง การใช้หูฟังแบบเสียบในหูจะมีความเสี่ยงของหูเสื่อมเร็วกว่าการใช้หูฟังแบบครอบหู รวมทั้งการฟังเสียงดังจนคนรอบข้างได้ยินด้วย ใครเรียกก็ไม่ได้ยิน เป็นพฤติกรรมที่สร้างความรำคาญให้คนอื่นแล้ว หูของคุณก็จะเสื่อมเร็วแม้ไม่ได้ฟังต่อเนื่องตลอดเวลาก็ตาม4. สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน จากการสำรวจพบว่าคนที่ต้องทำงานในที่มีเสียงดัง เช่น เสียงเครื่องจักรในโรงงาน เสียงเครื่องบินหรือรถยนต์ พนักงานดูแลลานจอดรถและเป่านกหวีดตลอดเวลา ฯลฯ จะมีอาการของหูเสื่อมถึงร้อยละ 705. การตะโกน หรือพูดดังๆ ทราบหรือไม่ว่าการพูดจาโดยตะโกนเสียงดังใส่กันนั้นถือเป็นมลพิษทางเสียงต่อหู แล้วยังอาจทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าว สุขภาพจิตเสีย เกิดความเครียด และส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูงด้วย6. เปิดโทรทัศน์หรือเปิดเพลงเสียงดังเกินไป ดังขนาดไหนนะหรือ ก็ขนาดจะคุยกันด้วยระดับเสียงพูดปกติแล้วไม่ได้ยิน ทำให้ต้องตะโกนคุคยกันแทน ยิ่งเพิ่มให้เสียงดังๆ เกิดขึ้นมากเข้าไปอีก7. การได้ยินเสียงดังมากๆ บ่อยๆ หากได้ยินเสียงดังมากๆ ในทันที เช่น เสียงพลุ เสียงประทัด เสียงปืน เสียงระเบิด ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งของเสียงที่มีพลังมาก ถ้าอยู่ใกล้ต้นกำเนิดเสียงดังๆ เหล่านี้มีโอกาสสูงที่หูอาจดับจนยากจะรักษาให้ได้ยินดังเดิม8. ผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยที่มีอาการของประสาทหูเสื่อมแล้วไปหาซื้อยาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งการใช้ยาบางประเภทอาจมีพิษต่อประสาทหู รวมทั้งมีอาการประสาทหูเสื่อมอยู่ แล้วไม่แจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบอาจทำให้จัดยาที่เป็นอันตรายต่อหูและการได้ยินมากขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยงหูตึง หูเสื่อม...ดังนั้นหากยังอยากจะได้ยินเสียงต่างๆ ไปอีกนานๆ เราควรพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งที่มีเสียงดังมากและนานๆ หรือถ้าจำเป็นไม่สามารถทำได้ การป้องกันด้วยการใส่ที่อุดหูและเครื่องป้องกัน เพื่อลดความดังของระดับเสียงลงก็จะช่วยได้ และควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสมรรถภาพการได้ยินทุกปี ที่สำคัญไม่ควรเป็นผู้สร้างเสียงดังเสียเอง เพราะจะเป็นอันตรายทั้งต่อหูของตัวเองและหูผู้อื่นด้วยบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดี 9 พฤติกรรม ไม่ควรทำก่อนนอน…รู้แล้วควรเลิกอย่างด่วนจี๋! ไม่อยากดู “หน้าแก่ก่อนวัย” ก็จงหลีกเลี่ยงการทำสิ่งนี้!! หลงๆ ลืมๆ ทุกวัน จะใช่ “โรคอัลไซเมอร์” ไหมนะ? “น้ำมันยูคาลิปตัส” กับสรรพคุณ 5 ประการ ที่ยิ่งใช้ยิ่งมีสุขภาพดี