อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว March 22, 2018 Share 0 Tweet Pin 0 “อหิวาตกโรค” รักษาไม่ทัน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตถ้าพูดถึงโรคที่มีความรุนแรงและยากต่อการรักษาสำหรับคนในสมัยก่อนนั้นคงเป็นโรคอะไรไปไม่ได้นอกจาก “โรคห่า” เพราะเป็นโรคที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง ในสมัยนั้นยังไม่ค่อยมียารักษาที่ได้ผล และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในสมัยปัจจุบันหลายคนอาจไม่รู้จักโรคนี้แล้ว แต่ถ้าหากพูดว่า “โรคอหิวาตกโรค” หลายคนก็คงร้องอ๋อในทันที โรคอหิวาตกโรคเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหาร ซึ่งเชื้อจะเข้าสู่ลำไส้อย่างรวดเร็วและแสดงอาการเป็นพิษอย่างรุนแรง เกิดอาการท้องร่วงอย่างหนัก ถ้าไม่ได้รับการรักษาในทันทีจะทำให้เสียชีวิตได้สาเหตุการเกิดโรคอหิวาตกโรคโรคอหิวาตกโรคมีสาเหตุในการเกิดอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน แต่ในทุกๆ สาเหตุล้วนก่อให้เกิดอาการของโรคที่รุนแรงพอๆ กัน ดังนี้1. เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารกระป๋องที่หมดอายุแล้ว เป็นต้น2. เกิดจากเชื้อ Vibrio cholera O group 13. เกิดจากเชื้อ Vibrio cholera non O group 1 ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้บางครั้งมีอาการแทรกซ้อน เช่น มีไข้ อุจจาระมีมูกเลือดปน แต่ไม่ค่อยพบการระบาดจากสาเหตุนี้4. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปแท่งที่มีลำตัวโค้งงอ มี 2 ชนิด คือ ชนิดคลาสสิก และชนิดเอลทอร์5. เกิดจากการแพร่ระบาดจากอุจจาระของผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคเอง เพราะเชื้ออหิวาต์ที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย หากอยู่ในสภาพที่ชื้น จะสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วมากถึงประมาณ 137,000 ล้านตัวต่อ 9 ชั่วโมงอาการของโรคอหิวาตกโรคโดยปกติแล้วอาการของโรคอหิวาตกโรคอาจจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือระยะฟักตัว ช่วงเวลาประมาณ 1 – 3 วัน ซึ่งอาจพบอาการได้ตั้งแต่ 2 – 3 ชั่วโมงแรกระยะเป็นไม่รุนแรง ช่วงเวลา 1 – 5 วัน โดยมีอาการถ่ายหลายครั้งต่อ 1 วัน แต่วันละไม่เกิน 1 ลิตร อาจมีอาการปวดท้องและอาเจียนร่วมด้วย สามารถหายเองได้ระยะเป็นรุนแรง ช่วงเวลา 1 – 6 วัน มีอาการถ่ายหลายครั้งมากต่อ 1 วัน และมีปริมาณเกิน 1 ลิตรต่อวัน อุจจาระไหลเองโดยไม่ปวดท้อง อาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ ร่างกายจะขาดน้ำอย่างหนัก ถ้าชดเชยน้ำไม่ทันจะมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้ซึ่งอาการที่เราพบจากการป่วยเป็นโรคนี้ คือ1. ท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยอุจจาระจะมีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว มีเมือกมีเกล็ดสีขาวปนอยู่กับอุจจาระ และมีกลิ่นเหม็นคาวมาก2. คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งอาการนี้มักจะเกิดในช่วงแรก ๆ ของการเป็นโรคนี้3. ภาวะขาดน้ำ แน่นอนว่าการถ่ายในปริมาณมากๆ ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำในปริมาณที่มากและในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ร่างกายของเราขาดน้ำแบบกะทันหัน หากสูญเสียน้ำเกิน 10% ของน้ำหนักตัวและชดเชยเข้าไปไม่ทันก็อาจเกิดอันตรายได้4. เป็นตะคริว เพราะร่างกายเกิดการสูญเสียเกลืออย่างกะทันหัน5. อาการช็อก อาการนี้เป็นอาการที่เกิดต่อเนื่องมาจากภาวะขาดน้ำ และอาการนี้อาจเป็นผลทำให้เสียชีวิตได้ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรคแม้ว่าอาการของโรคจะมีความรุนแรงมากอยู่แล้ว แต่โรคนี้ก็ยังคงมีภาวะแทรกซ้อนซึ่งมีผลมากที่ทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงและเสียชีวิต ดังนั้นต้องระวังในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนด้วย โดยจะปรากฏภาวะ ดังนี้1. ภาวะขาดน้ำและขาดเกลือแร่ ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีผลมากต่อการเสียชีวิต โดยที่ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตได้ภายใน 2 – 3 ชั่วโมง2. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างที่เข้าใจกันดีว่าน้ำตาลถือเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงไปด้วย ถือเป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และเสียชีวิต3. ภาวะเกลือโพแทสเซียมต่ำ ซึ่งภาวะนี้มีผลต่อการทำงานของระบบหัวใจและเส้นประสาทต่างๆ ผลก็คือทำให้เสียชีวิตได้การรักษาอหิวาตกโรคการรักษาผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคต้องได้รับการรักษาในทันที เพราะไม่เช่นนั้นมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ดังนี้1. รับประทานน้ำเกลือแร่ วิธีการนี้เป็นการชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป โดยผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้กว่าครึ่งเสียชีวิต และวิธีการนี้สามารถช่วยให้ร้อยละของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงได้บ้าง2. การให้สารน้ำทดแทน แน่นอนว่าในขณะที่มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ร่างกายจะสูญเสียน้ำในปริมาณที่มาก และหากไม่สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่ได้แล้วนั้น จำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางน้ำเกลือเพื่อรักษาภาวะขาดน้ำก่อน ไม่เช่นนั้นอาจช็อกเสียชีวิตได้3. การใช้ยาปฏิชีวนะ จริงๆ แล้วการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการรักษาอหิวาตกโรค แต่ยาบางตัวสามารถช่วยลดเวลาในการเกิดอาการท้องร่วงให้หายเร็วขึ้นได้ เช่น ยาดอกซีไซคลิน หรือยาอะซีโธรมัยซิน4. การให้ธาตุสังกะสี จากการวิจัยพบว่าการให้แร่ธาตุสังกะสีสามารถช่วยลดระยะเวลาการเกิดอาการท้องร่วงลงได้วิธีป้องกันอหิวาตกโรคผู้ป่วยอหิวาตกโรคถือว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะรอดชีวิต เพราะโรคนี้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว มีอาการที่รุนแรง ภาวะแทรกซ้อนหลายอาการ และมีโอกาสเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้นหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ดังนั้นวิธีการป้องกันการป่วยด้วยโรคนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีวิธีการ ดังนี้1. ล้างมือให้สะอาด ควรล้างมือด้วยสบู่หรือเจลล้างมือเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วินาที ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร2. ดื่มน้ำสะอาด หรือถ้าเป็นไปได้ก็ควรดื่มน้ำต้มสุก นอกจากการดื่มน้ำสะอาดแล้วนั้น การล้างผักผลไม้ ล้างหน้า แปรงฟัน เป็นต้น ก็ควรใช้น้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุกเช่นกัน3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาดิบ หรืออาหารทะเลที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ4. รับประทานผลไม้ที่สามารถปอกเปลือกได้ หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ทั้งเปลือก5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำมาจากเนยหรือนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ เพราะอาหารประเภทนี้มักมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย“อหิวาตกโรค” ถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากโรคหนึ่ง เพราะเกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะอาการที่รุนแรง มีภาวะแทรกซ้อนมาก และอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว นอกจากนี้วิธีการรักษาก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้คือ การป้องกันตนเองไม่ให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอหิวาตกโรคหรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคก็จะสามารถทำให้เรารอดพ้นจากโรคร้ายนี้ได้