เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ October 16, 2016 Share 0 Tweet Pin 0 อันตรายของ “ยาเสพติด” ยาเม็ดเล็กๆ แต่โทษไม่เล็ก ร้ายแรงถึงชีวิต “ยาเสพติด” หรือที่หลายๆ คนเรียกง่ายๆ ว่า ‘ยาบ้า’ คือสิ่งที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วผู้เสพรู้สึกต้องการจะเสพอีกในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลที่ร้ายแรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยปกติแล้วผู้ที่ติดยาเสพติดมักเกิดจากการอยากรู้อยากลองในครั้งแรก เมื่อได้ลองเสพครั้งแรกก็อยากจะเสพครั้งที่สอง จนไม่สามารถหยุดเสพได้ บางคนใช้วิธีรับประทานหรือบางคนก็ฉีดเข้าเส้นเลือด ในปัจจุบันมีผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดที่สถาบันธัญญารักษ์จำนวนทั้งสิ้น 7,071 ราย ทั้งนี้ยังมีผู้ที่ไม่ได้รับการบำบัดอีกจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขดังกล่าวนี้ถือว่าน่าตกใจพอสมควร เนื่องจากยาเสพติดมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มผู้เสพก็มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ อาจกล่าวได้ว่าเยาวชนที่หลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สวนทางกับคุณภาพการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ วันนี้ เราชาวสุขภาพดี...จึงอยากนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้เยาวชนตระหนักและเห็นถึงความร้ายแรงของพิษภัยของยาเสพติดประเภทของยาเสพติดให้โทษยาเสพติดสามารถจำแนกออกได้หลายลักษณะ ในที่นี้จะกล่าวถึงการจำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท1. ออกฤทธิ์ในการกดประสาท ยาเสพติดประเภทนี้จะทำให้ผู้เสพมีร่างกายซูบผอม ผิวหนังมีสีซีดเหลืองเหมือนผู้ป่วยเรื้อรัง มีอาการอ่อนเพลียและฟุ้งซ่าน นอกจากนั้นยังมีอารมณ์แปรปรวนง่ายอีกด้วย สารเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาทมีหลายชนิด เช่น ฝิ่น เฮโรอีน และมอร์ฟีน ทั้งนี้ยาที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็สามารถเปลี่ยนเป็นยาเสพติดได้เมื่อใช้เกินขนาด เช่น ยานอนหลับ ทินเนอร์และกาว2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท โดยผู้เสพจะรู้สึกกระวนกระวายใจ จิตสับสน ในบางครั้งก็หงุดหงิด หวาดระแวงสิ่งรอบตัว ในบางครั้งก็เกิดอาการคลุ้มคลั่งทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ตัวอย่างของยาเสพติดชนิดกระตุ้นประสาทได้แก่ ยาบ้า ยาอี ยาไอซ์ กระท่อมและโคเคน เป็นต้น3. ออกฤทธิ์หลอนประสาท ยาเสพติดประเภทนี้จะทำให้ผู้เสพมีอาการหลอนไปเอง ทั้งหูแว่ว เพ้อฝัน เห็นภาพหลอน ซึ่งทั้งเสียงที่ได้ยินและภาพที่เห็น มักเป็นภาพที่น่าเกลียดน่ากลัว ทำให้ผู้เสพควบคุมความคิดตัวเองไม่ได้และกลายเป็นคนสติฟั่นเฟือนในที่สุด ยาเสพติดที่มีฤทธิ์หลอนประสาทที่หลายคนรู้จักกันดีคือ D.M.T. และยาเค4. ออกฤทธิ์แบบผสมผสาน ยาเสพติดสามารถออกฤทธิ์แบบผสมผสานหมายถึงเมื่อเสพเข้าไป ตัวยาจะกระตุ้นประสาทและหลอนประสาทในคราวเดียวกัน อาการหลักๆ ที่พบคือ สับสน หวาดระแวง หูแว่วและไม่สามารถควบคุมความคิดและการเคลื่อนไหวได้ สุดท้ายผู้เสพมักจะป่วยเป็นโรคจิต ยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่ กัญชาอย่างไรก็ตามยาเสพติดให้โทษที่กล่าวมานี้ไม่ได้ส่งผลต่อสภาพจิตใจเท่านั้น หากแต่ยังทำให้เกิดโรคร้ายกับร่างกายอีกมากมาย ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียเม็ดเงินมหาศาลในการพัฒนาประเทศเพื่อการบำบัดและรักษาพลเมืองที่ติดยาเสพติด ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคร้ายที่มีสาเหตุมาจากการเสพยาเสพติดกันดีกว่าค่ะ รับรองว่าหลายคนต้องตกใจกับพิษสงของยาเม็ดเล็กๆ แต่โทษไม่เล็กกันแน่นอน4 ภัยร้าย อันตรายของยาเสพติดให้โทษ1. โทษของยาเสพติดทำให้เกิดอาการชักและเป็นลมบ้าหมูได้ ยาเสพติดที่ทำให้เกิดอาการชักรุนแรงหรือเป็นลมบ้าหมูจะอยู่ในกลุ่มยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่นยาไอซ์ ส่วนมากพบได้ตามผับหรือสถานที่เริงรมย์ จุดประสงค์ของการเสพเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว สนุกสนานและลืมความทุกข์ใจ แต่ผลข้างเคียงของการเสพยาประเภทนี้จะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในบางรายอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ เกิดอาการชักรุนแรง หมดสติและเสียชีวิตได้ จากการศึกษาเรื่องอันตรายของยาเสพติดประเภทนี้ระบุว่า ผู้ที่เสพยาไอซ์หรือยาอีเป็นเวลานานเสี่ยงต่ออาการลมบ้าหมูมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่าอีกด้วย2. โทษของยาเสพติดเสี่ยงต่อโรคเอดส์และโรคติดต่ออื่นๆ โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายหรือมีความสัมพันธ์กับหลายคนด้วยไม่ป้องกัน จากการศึกษาเรื่องความเกี่ยวข้องของยาเสพติดกับการมี sex ระบุว่า หลังเสพยาเสพติด ส่วนใหญ่ผู้เสพมักจะมีกิจกรรมทางเพศ และมากกว่า 95% ของผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์3. โทษของยาเสพติดภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ผู้ที่เสพยาเสพติดไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ฤทธิ์ของยาจะทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ โดยจะแสดงออกทางลักษณะภายนอกทั้งตัวเหลือง ซูบผอมหรือดวงตามีลักษณะขุ่น เหล่านี้ล้วนเกิดจากระบบอวัยวะภายในถูกทำลาย ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายน้อยลง เมื่อผู้เสพยามีอาการป่วยจะทำให้ป่วยมากกว่าคนอื่นถึง 10 เท่า และหากติดเชื้อก็มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 45%4. โทษของยาเสพติดส่งผลต่อปอดและหลอดลม ในกรณียาเสพติดประเภทสารระเหยที่ต้องทำการสูดดม โดยยาเสพติดประเภทนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาททำให้ประสาทหลอน ไม่ว่าจะเป็นกาว ทินเนอร์ กัญชาหรือสารระเหยชนิดใดก็ตาม เมื่อเสพไปจะส่งผลให้ปอดและหลอดลมอักเสบ นอกจากนั้นสารประกอบในยาเสพติดดังกล่าวยังเข้าไปขัดขวางกลไกการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ผู้เสพมีอาการชา เส้นเลือดตีบ กล้ามเนื้อฝ่อ และในรายที่สะสมมานานมักเป็นโรคตับพิการสมองพิการและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งในเม็ดเลือดแดงอีกด้วยจากข้อมูลโทษของยาเสพติดที่กล่าวมา คงจะทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงอันตรายของยาเสพติดไม่มากก็น้อย ทั้งนี้สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดคือปกป้องลูกหลานหรือเยาวชนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญที่สุด ที่ควรจะทำหน้าที่สอดส่องดูแลพฤติกรรมของบุตรหลานในบ้าน ให้ความรักความอบอุ่นและคอยสนับสนุนให้พวกเขาได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ตามความถนัดและเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เชื่อได้ว่าต่อให้ยาเสพติดระบาดหนักเพียงใด แต่หากเยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันที่ดีจากครอบครัว น่าจะทำให้พวกเขารอดพ้นจากยาเสพติดได้ไม่ยาก อย่าลืมช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อกำจัดยาเสพติดให้พ้นจากสังคมไทยกันนะคะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดี โทษของ “บุหรี่” ภัยร้าย อันตรายทั้งคนสูบและคนใกล้ตัว โทษของเบียร์…รู้แล้วแหยง อยากดื่มต่อก็เชิญ!! เรื่องปิดตาย!! ที่ผู้ขายเท่านั้นจะรู้เกี่ยวกับ “โทษของน้ำอัดลม” โทษของ “ผงชูรส” อันตรายมากกว่าทำให้กระหายน้ำ ผมร่วง หัวล้าน