free web tracker, fire_lady “อาหารที่มีกรดยูริคสูง” ควบคุมการทานได้ ห่างไกลสารพัดโรค • สุขภาพดี

"อาหารที่มีกรดยูริคสูง" ควบคุมการทานได้ ห่างไกลสารพัดโรค

อาหารที่มีกรดยูริคสูง

"กรดยูริค" เป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่ อีกส่วนมาจากอาหารที่เรารับประทาน แม้กรดยูริคจะมีคุณประโยชน์ แต่หากมีมากเกินไปก็อาจเกิดโทษได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคเก๊าต์ แล้วอย่างนี้เราจะมีวิธีป้องกันตนเองได้อย่างไร....บอกเลยว่าไม่ยาก เพียงแค่ควบคุมอาหารบางประเภทที่หากทานมากไป อาจเพิ่มกรดยูริคได้โดยไม่รู้ตัว ส่วนอาหารที่มีกรดยูริคสูง ต้องทานอย่างระวัง จะมีอาหารประเภทไหนบ้าง มาติดตามกันเลย

กรดยูริคคือ?

กรดยูริค เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่หลายคนคงคุ้นเคยกับชื่อนี้เป็นอย่างดี กรดนี้ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาได้เองประมาณ 80% ส่วนอีก 20% มจากการรับประทานอาหาร โยปกติแล้วกรดยูริคจะถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยออกมาพร้อมกับอุจจาระเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนออกมาทางอุจจาระได้เช่นกัน กรดยูริคเป็นสารปลายทางที่เกิดจาก “สารพิวรีน”ที่เปลี่ยนรูปมาเป็นยูริค ซึ่งจะสะสมในเลือดได้ถ้าหากร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้หมด

หากมีกรดยูริคตกค้างสะสมอยู่ในเลือดนานๆ จะทำให้กรดยูริคตกผลึกแล้วไปเกาะอยู่ตามข้อกระดูก ส่งผลให้เป็นโรคเก๊าต์ ถึงแม้จะไม่อันตรายถึงตาย แต่ก็สร้างความเจ็บปวดทรมานไม่น้อยให้กับผู้ป่วย และถ้าหากผลึกยูริคไปตกตะกอนในไตก็ทำให้เป็นโรคนิ่วในไตได้อีกด้วย

สารพิวรีนคือ?

"สารพิวรีน" เป็นสาระสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต มักพบได้จากสัตว์ที่โตไว เช่น ไก่ ปลา สัตว์ตัวเล็ก หรือพืชที่กำลังโตเช่น ตามยอดผักต่างๆ สารพิวรีนหากย่อยสลายแล้วจะได้เป็นกรดยูริค ปกติแล้วกรดยูริคจะถูกขับออกไปได้ทางระบบขับถ่าย แต่ถ้ามีมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดได้ทัน กรดนี้จะสะสมในร่างกาย อาจจะก่อโรคได้ในภายหลัง ดังนั้นใครที่มีปัญหาเรื่องปวดข้อปวดปวดเข่าอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีสารพิวรีนอยู่มาก ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

อันตรายจากกรดยูริคในร่างกายสูง

1.โรคเก๊าต์ มีสาเหตุมาจากการที่กรดยูริคสะสมอยู่ในเลือดมากเป็นเวลานาน จึงตกตะกอนและไปเกาะอยู่ตามข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อเท้า นิ้วเท้า ข้อมือและนิ้วมือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลันตามข้อต่างกระดูก ซึ่งมักจะพบที่นิ้วเท้าเป็นส่วนใหญ่ อาการคือ ข้อจะแข็งและบวมรู้สึกปวดแสบปวดร้อน มีปุ่มนูนบริเวณผิวหนังที่กรดยูริคไปสะสมอยู่ สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยมาก หากผู้ป่วยละเลย ไม่ไปรับการรักษาที่ถูกต้อง โรคอาจจะลุกลามรุนแรงยิ่งขึ้นจนเป็นอันตรายกับข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงได้

2. ภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อกรดยูริคตกค้างอยู่ในเลือดสูงและร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้หมด จะทำให้เลือดเข้าสู่สภาวะเป็นกรด ซึ่งอันตรายมาก เพราะความเป็นกรดด่างที่สมดุลของเลือดจะทำให้การขนส่งออกซิเจนและสารอาหารเป็นไปอย่างเป็นระบบ โดยอาการจะมีดังนี้คือ หายใจหอบถี่ วิงเวียนศีรษะ มึนงง สับสน ซึม ช็อค หมดสติได้ หากเลือดมีภาวะเป็นกรดมาก อาการอาจรุนแรงจากการที่หัวใจบีบตัวน้อยลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายน้อยลง ทำให้กรดคั่งในเลือดมากขึ้น หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ส่งผลให้อวัยวะภายในล้มเหลว ซึ่งอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต

3. โรคนิ่วในไต เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริคเช่นเดียวกับโรคเก๊าต์ เพียงแต่ผลึกนี้ไม่ได้ไปเกาะตามข้อกระดูก แต่ไปตกผลึกในไตแทน จึงเกิดก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ก้อนนิ่วนี้อาจจะให้ปวดท้องท้องอย่างมาก ซึ่งวิธีรักษาคือต้องผ่าตัดเพื่อนำก้อนิ่วออก

อาหารที่มีกรดยูริคสูง

คนที่เป็นโรคเก๊าต์หรือเคยตรวจพบว่ามีกรดยูริคสูงในร่างกาย ควรเลือกรับประทานอาหาร เพราะมีอาหารหลายชนิดที่มีกรดยูริคสูงมาก ซึ่งหากทานเข้าไปอาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่แย่กว่าเดิม ดังนั้นจึงควรงดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ทานเล็กน้อยสำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง และทานได้ไม่อั้นสำหรับอาหารที่สารพิวรีนต่ำ ซึ่งจะมีอะไรกันบ้าง วันนี้เรานำมาฝากกัน

อาหารที่มีสารพิวรีนสูง

  • เนื้อสัตว์บกสีแดงมาก เช่น เนื้อควาย
  • เนื้อสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ หัวใจ ไส้ สมอง
  • ปลาและสัตว์ทะเล เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเทราส์ ปลาแฮริง ปลาแมคเคอเรล ไข่ปลา กุ้ง
  • เนื้อสัตว์ที่ได้จากการล่า เช่น กระต่าย กิ้งก่า แย้ กบ
  • ผักและยอดผัก เช่น เห็ดทั้งหลาย ยอดผักเกือบทุกชนิด กระถิน ชะอม เห็ด
  • ธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว
  • กะปิ

อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว
  • ปลาทุกชนิด ยกเว้นปลาในกลุ่มที่มีสารพิวรีนสูง
  • ธัญพืช เช่น ถั่วลิสง ถั่วลันเตา
  • อาหารที่ใช้ยีสต์เป็นส่วนผสม เช่น ไวน์ เบียร์ ขนมปัง
  • อาหารทะเล เช่น ปลาหมึกและปู
  • ผัก เช่น ขี้เหล็ก ผักโขม กระหล่ำดอก สะตอ

อาหารที่มีสารพิวรีนน้อย

  • ธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าว
  • อาหารในกลุ่มโปรตีน เช่น เต้าหู้ ไข่ นม โยเกิร์ต เนย
  • ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน
  • ไขมันจากพืชและสัตว์

สำหรับอาหารที่มีสารพิวรีนสูงๆ นั้น เรียกได้ว่าเป็นอาหารที่คุ้นเคยและรับประทานกันบ่อยมากๆ ในชีวิตประจำวันกันเลย ยังไงก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นของอร่อย แต่ใครที่ป่วยแนะนำว่าควรงดดีกว่า เพื่อควบคุมระดับกรดยูริคให้คงที่ ไม่ให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือควบคุมความรุนแรงของโรคไม่ให้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ขอแนะนำให้เลือกทานอาหารที่กรดยูริคต่ำๆ และรับประทานทานผักผลไม้เยอะๆ โดยทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่และสับเปลี่ยนชนิดอาหารไปเรื่อยๆ ป้องการตกค้างของสารเคมีชนิดเดิมนานๆ

กรดยูริค แค่ได้ยินชื่อก็รู้สึกไม่ค่อยจะดี เพราะมันทำให้หลายคนต้องงดของอร่อยๆ ไปเลย และถึงแม้ว่าจะเป็นสารเคมีที่ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายมากเท่าไรนัก แต่ก็สามารถควบคุมให้อยู่ในระดับที่สมดุลได้ ถ้าหากกรดยูริคมีปริมาณที่พอดีก็จะไม่สามารถทำอะไรเราได้ รวมทั้งผู้ป่วยก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนผู้ที่สุขภาพร่างกายปกติทั่วไป ดังนั้นดูแลรักษาตัวเองให้แข็งแรง อย่ารอจนป่วยหรือโรคแสดงอาการแล้ว เพราะหากป่วยแล้วมารักษาทีหลัง มันไม่คุ้มกับสุขภาพและค่ารักษาที่เสียไปแน่นอน