free web tracker, fire_lady โทษของ “เกลือ” กินเค็มมากไป อันตรายกับร่างกายไม่รู้ตัว!! • สุขภาพดี

โทษของ “เกลือ” กินเค็มมากไป อันตรายกับร่างกายไม่รู้ตัว!!

โทษของเกลือ

เกลือ” ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เราเติมเกลือลงในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อปรับรสให้อาหารมีความกลมกล่อม เราใช้เกลือในการถนอมอาหารหรือรักษาคุณค่าของอาหาร นอกจากนั้นเรายังใช้เกลือในการหมักเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่น จะเห็นได้ว่าแทบทุกเมนูต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบ ซึ่งการที่เราบริโภคเกลือเป็นจำนวนมากสะสมเป็นระยะเวลานานนั้นย่อมส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ วันนี้เราชาวสุขภาพดี...จึงอยากนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโทษจากการบริโภคเกลือในปริมาณมากเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานเค็มกันค่ะ

โทษของเกลือ ทานเค็มมากไปก็อันตรายนะ!!

1. ทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย (โทษของเกลือ) เนื่องจากในเกลือจะมีสารสำคัญคือ ‘โซเดียม’ โดยปกติโซเดียวเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปต้องถูกขับออกมาทางไต แต่ในรายที่เป็นโรคไตรื้อรัง จะไม่สามารถขับโซเดียมและน้ำออกมาได้ โดยทั้งน้ำและเกลือจะไปสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอกอย่างแขน ขา และอวัยวะภายในอย่างหัวใจและปอด โดยผู้ป่วยจะมีอาการบวมตามร่างกาย หายใจติดขัด นอนราบไม่ได้ แน่นหน้าอกและเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วย นอกจากนี้การรับประทานเกลือเกินขนาดยังไปเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจวายจนสียชีวิตได้ในที่สุด

2. ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ (โทษของเกลือ) ‘โรคบวมน้ำ’ เกิดจากการที่เราได้รับโซเดียมและโพแทสเชียมเกินขนาดซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่มากในเกลือแกง หลายคนอาจสงสัยว่าพยายามควบคุมการรับประทานอาหารมาตลอดแต่ทำไมยังดูอ้วนอยู่ แท้ที่จริงแล้วสิ่งที่ทำให้ดูอ้วนอาจไม่ใช่ไขมัน หากแต่เป็นโซเดียมและโพแทสเซียมในเกลือที่สะสมในร่างกายมากจนเกินไป ดังนั้นควรลดปริมาณเกลือในอาหารเพื่อให้ไตสามารถขับเกลือส่วนเกินออกมา โดยเฉพาะผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือนควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด

3. เป็นปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร (โทษของเกลือ) การรับประทานเกลือมากๆ นอกจากจะทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดเกลือส่วนเกินแล้ว เกลือยังสามารถทำให้อวัยวะภายในอย่างผนังกระเพาะอาหารอักเสบได้ โดยเมื่อมีการอักเสบรุนแรง จะทำให้การติดเชื้อจากจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีหรือแบคทีเรียได้ง่ายขึ้นและนำไปสู่โรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนั้นจากการวิจัยยังระบุอีกว่าผู้ที่รับประมาณเกลือในปริมาณมากมีโอกาสเป็นโรคกระเพาะอาหารมากกว่าคนธรรมดา

4. เพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (โทษของเกลือ) สารหลักๆ ในเกลือคือ ‘โซเดียม’ ‘แมกนีเซียม’ และ ‘โพแทสเซียม’ แม้สารดังที่กล่าวมานี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับสารเหล่านี้มากเกินไปจะเป็นการไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงผิดปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งเบาหวานและโรคไตเรื้อรัง โดยหากความดันโลหิตสูงมากๆ จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ อัมพฤกษ์และอัมพาตตามมาได้

อย่างไรก็ตามแม้เกลือจะมีโทษอยู่ไม่น้อย แต่ก็มีประโยชน์มากมายทั้งช่วยให้อยากอาหาร รักษาสมดุลในร่างกาย ป้องกันและรักษาโรคบางชนิด นอกจากนั้นก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “เกลือ” ยังคงเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารของมนุษย์และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมอาหารทั้งแปรรูป แช่แข็งหรือสำเร็จรูป ดังนั้นเราจึงจะพาผู้อ่านไปเรียนรู้วิธีการบริโภคเกลืออย่างปลอดภัยกันค่ะ

รับประทานเกลือมากเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่า ‘เหมาะสม’

จากคำแนะนำของสำนักงานมาตรฐานอาหาร (Food Standards Agency - FSA) ระบุว่า ในหนึ่งวัน ร่างกายควรได้รับเกลือไม่เกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา แต่ในปัจจุบันผู้คนรับบริโภคเกลือเกินขนาด โดยผู้หญิงบริโภคเกลือประมาณ 8.1 กรัมต่อวันและผู้ชายบริโภคมากถึง 11 กรัม ทั้งจากการใช้เครื่องปรุงรสจำพวก น้ำปลา ซีอิ้ว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ และของหมักดอง

ทั้งนี้การบริโภคเกลือเกินขนาดจะส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว โดยนอกจากจะเสียเวลาในการรักษาตัวแล้ว ประเทศชาติยังต้องสูญเสียเงินมหาศาลเพื่อรักษาผู้ป่วยเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานเค็ม ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องลดเกลือ ลดเค็มเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต

เทคนิคลดเกลือ ลดเค็มอย่างง่าย

1. อ่านฉลาก สำรวจปริมาณโซเดียมทุกครั้งก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป เลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียม 0.1-0.5 กรัม หากมากกว่านั้นควรหลีกเลี่ยง เพราะถือว่ามีเกลืออยู่มาก

2. พยายามทำอาหารรับประทานเอง โดยนอกจากเป็นการบริหารเสน่ห์ปลายจวักแล้ว เรายังสามารถควบคุมปริมาณเกลือแกงและเกลือที่อยู่ในเครื่องปรุงรสอื่นๆ ได้

3. งดรับประทานขนมคบเคี้ยว เนื่องจากในขนมคบเคี้ยว โดยเฉพาะขนมที่ผ่านการทอดและปรุงรสด้วยผงปรุงรส ส่วนใหญ่จะผสมผงชูรสและเกลือ ดังนั้นการซื้อขนมมารับประทานควรแบ่งทานหลายวันหรือทานหลายๆ มื้อ เพื่อไม่ทำให้ไตทำงานหนักเกินไป นอกจากนี้ควรหันมารับประทานผักหรือผลไม้แทนขนมเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และรูปร่างที่ดี

4. เลือกที่เหยาะเกลือแบบรูเดียว วิธีนี้เป็นวิธีที่หลายคนมองข้าม จริงๆ แล้วการใช้ที่เหยาะเกลือรูเดียวมีประโยชน์กว่า ตรงที่เราสามารถเห็นปริมาณเกลือที่เราเทได้มากกว่าการใช้ที่เหยาะหลายรู

5. ใช้สารให้ความเค็มแทนเกลือ สารให้ความเค็มแทนเกลือมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น ‘เก๋ากี๋แห้ง’ ‘ใบแห้งของสะระแหน่ญี่ปุ่น’ และ ‘เหง้าแห้งของขิง’ โดยสารให้ความเค็มเหล่านี้ล้วนเป็นสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากจะมีโซเดียมน้อยแล้ว ยังมีสารที่เป็นประโยชน์เฉพาะของสมุนไพรอีกด้วย

เชื่อว่าวันนี้ผู้อ่านคงจุใจกับความรู้เรื่อง “เกลือ” ไปพอสมควร โดย “เกลื” นอกจากจะมีประโยชน์กับเรื่องอาหารการกินแล้วยังมีประโยชน์ในอื่นๆ ทั้งด้านการทำความสะอาด เช่นการขัดพื้นหรือกำจัดคราบตามภาชนะต่างๆ และด้านความสวยงามโดยปัจจุบันได้มาการนำเกลือมาผสมกับสารอื่นๆ เพื่อทำเกลือสปาขัดผิวสำหรับสาวๆ ที่อยากมีผิวขาวใสอย่างไรก็ตามแม้เกลือจะมีประโยชน์รอบด้าน แต่ากบริโภคมากเกินไปหรือบริโภคไม่ถูกวิธีก็สามารถทำร้ายสุขภาพได้เช่นกัน ดังนั้นอย่าลืมรับประทานเกลือ ‘แต่พอดี’ เพื่อห่างไกล อันตราย-โทษของเกลือ กันด้วยนะคะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดี