อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว June 1, 2018 Share 2 Tweet Pin 0 7 โรคที่เกิดจากยุง...พาหะนำโรคตัวร้าย กับภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต!!ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะกับการแพร่พันธ์ของ "ยุง" หลากหลายสายพันธ์ ไม่ว่าจะในเมืองหรือชนบท หากอยู่ใกล้แหล่งน้ำ มักต้องเผชิญกับเหล่ายุงร้ายอย่างแน่นอน เห็นตัวเล็กๆ กัดเจ็บๆ ไม่เพียงทำให้รำคาญ ต้องเกาเพราะความคัน แต่บอกได้เลยว่าเจ้ายุงตัวเล็กเหล่านี้สามารถเป็นพาหะนำโรคร้ายหลายชนิดมาสู่คนได้ บางโรคเป็นอันตรายถึงชีวิต!! ส่วนโรคที่เกิดจากยุง มากับยุงชนิดไหน อาการเป็นอย่างไรไปดูกันเลย โรคที่เกิดจากยุงน้อยตัวร้าย1. โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกมีพาหะนำโรคคือ "ยุงลาย" เป็นยุงที่ออกหากินในเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำ ยุงลายส่วนใหญ่จะมีแหล่งแพร่พันธ์อยู่ภายในบ้านหรือรอบๆ บ้าน เช่น กะลา โอ่งน้ำ จานรองตู้กับข้าว การติดเชื้อเกิดจากยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue Virus) โดยมี 4 สายพันธุ์ เมื่อได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะฟักตัว 5-8 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มมีไข้ โดยไม่เป็นหวัดหรือเจ็บคอ อาจจะคลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง เลือดออกง่ายเช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หากเข้าสู่ระยะช็อค อาจมีอาการเลือดออกตาม อวัยวะภายในร่างกาย ชัก ซึ่งรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้เชื้อไวรัสเดงกี่มี 4 สายพันธ์ เมื่อได้รับสายพันธ์ใดไปแล้วร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันจากเชื้อสายพันธุ์นั้น ดังนั้นเมื่อได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่อีกครั้งแต่คนละสายพันธุ์กับที่เคยได้รับมาก่อน ผู้ป่วยจะมีอาการหนักขึ้นเนื่องจากร่างกายพยายามสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อสู้กับเชื้อโรคที่ได้รับ แต่เพราะว่ามันคนละสายพันธุ์ ร่างกายจึงเหมือนมีเชื้อไวรัส 2 สายพันธุ์พร้อมกัน อาการจึงหนักกว่าเดิม 2. โรคมาลาเรียไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น เกิดจาก "ยุงก้นปล่อง" เป็นพาหะนำโรค มักพบการแพร่ระบาดในป่าหรือตามแนวชายแดน ยุงชนิดนี้พบมากในป่า ตามพื้นที่ชื้นมีน้ำท่วมขังหรือตามแหล่งน้ำทั่วไป เมื่อถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัด ผู้ติดเชื้อบางคนอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มแสดงอาการภายใน 10 วันไปจนถึง 4 สัปดาห์โดยจะเริ่มที่มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว หากอาการรุนแรง อาจมีภาวะซีด โลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก มีอาการดีซ่านปรากฏ ซึ่งอันตรายมาก โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ี่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้3. โรคเท้าช้างยุงหลายชนิดสามารถเป็นพาหะโรคนี้ได้ เนื่องจากโรคนี้มีสาเหตุมาจากพยาธิชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ยุงโดยไม่เลือกสายพันธุ์ของยุง เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำเหลืองเกิดการอักเสบและบวมโต ระบบการไหลเวียนของท่อน้ำเหลืองอุดตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณรักแร้และขาหนีบ ผิวหนังบริเวณนั้นจะบวมแดง มีน้ำเหลืองคั่ง คลำแล้วรู้สึกว่าผิวขรุขระ ในที่สุดเท้าของผู้ป่วยก็จะบวมโต ต้องรีบเข้ารับการรักษาเพราะหากรักษาไม่ทันอาจจะบวมจนถึงขั้นพิการได้และต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะถึงแม้ว่าจะหายแล้วก็ยังเสี่ยงต่อภาวะต่อมน้ำเหลืองโตได้4. ไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนย่า)มีพาหะนำโรคคือ "ยุงลาย" อาการบางอย่างคล้ายไข้เลือกออกเช่น ไข้สูงเฉียบพลัน คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แต่เนื่องจากไม่มีการรั่วของพลาสม่าออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบอาการช็อค หากอาการรุนแรงจะปวดบวมตามข้อมาก ซึ่งอาการปวดที่รุนแรงอาจทำให้พิการได้ โรคชิคุนกุนย่านั้นพบว่ามีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในอัตราที่ต่ำมาก แต่ถ้าหากผู้ติดเชื้อเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอก็มีความเสี่ยงเสียชีวิตได้ ส่วนถ้าเป็นการติดเชื้อในเด็กทารกจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้5. โรคไข้สมองอักเสบเจอีมี "ยุงรำคาญ" เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้จะพบมากตามแหล่งน้ำในบริเวณทุ่งนาและตามฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบในสุกร และนก หากยุงไปกัดสัตว์ที่มีเชื้อก็กลายเป็นพาหะและนำโรคมาสู่คนได้ในที่สุด หลังจากร่างกายได้รับเชื้อ 5-15 วัน จะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาเจียน มีอาการผิดปกติทางสมองเช่น ซึม สับสน คอแข็ง เพ้อ ชัก ควบคุมความเคลื่อนไหวของมือไม่ได้ ชักเกร็ง เป็นอัมพาตหรือหมดสติ โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาโดยตรง แค่รักษาประคับประครองตามอาการ หากรักษาหายแล้วผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางสมองหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น พูดไม่ชัด ชักเกร็งบ่อยๆ หรือปัญญาอ่อน6. ไข้เหลืองเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มี "ยุงลาย" และ "ยุงป่า" เป็นพาหะนำโรค อาการของโรคนี้คือ มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายที่มีอาการรุนแรงจะพบภาวะเลือดออกและดีซ่านร่วมด้วย รวมทั้งอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในบางอย่างเช่น ตับ ไต หัวใจ ซึ่งเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ตามไข้เหลืองเป็นโรคที่พบได้น้อยมากในประเทศไทย7. โรคไข้ซิก้าโรคไข้ซิก้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมี "ยุงลาย" เป็นพาหะ อาการที่พบคือ มีไข้ มีผดผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ โดยปกติแล้วอาการจะไม่รุนแรง แต่ในรายที่ผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาจจะทำให้ทารกพิการทางด้านสมองตั้งแต่กำเนิดได้ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ โรคไข้ซิก้าไม่สามารถรักษาได้โดยตรง โดยจะรักษาประคับประครองไปตามอาการจนกว่าจะหายดีเท่านั้นการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงรอบๆ บ้าน คว่ำภาชนะที่น้ำสามารถขังได้ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำยุงในโอ่งน้ำ ถ้วยน้ำในศาลพระภูมิ ถ้วยรองขาตู้ ปิดฝาโอ่งน้ำต่างให้สนิทติดมุ้งลวดทั้งประตูและหน้าต่าง รวมทั้งกางมุ้งนอนเพื่อป้องกันยุงกัดในขณะหลับทายากันยุง ฉีดสเปรย์กันยุง และใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดเมื่อออกไปข้างนอกหากที่บ้านมีสระน้ำ ควรทำสระแบบที่น้ำไหลเวียนได้อยู่เสมอ เพราะน้ำนิ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงได้เป็นอย่างดีโรคที่เกิดจากยุงส่วนมากไม่ติดจากคนสู่คน แต่ถ้ามีผู้ป่วยโรคที่เกิดจากยุงภายในบ้าน ให้แยกโซนผู้ป่วย ระวังไม่ให้ยุงกัดผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วย เพราะในช่วงแรกที่ได้รับเชื้อ เชื้อจะแบ่งตัวจำนวนมาก จึงเป็นระยะที่แพร่เชื้อได้มากที่สุด หากยุงกัดผู้ป่วยแล้ว สามารถนำเชื้อจากผู้ป่วยมาติดต่อกับสมาชิกคนอื่นภายในบ้านได้เมื่อเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยามาทานเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ยาแอสไพริน” เพราะยานี้จะทำให้เลือดออกภายในอวัยวะได้ง่ายขึ้น เป็นอันตรายอย่างมากโรคบางโรคสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ เช่น ไข้เหลือง ในประเทศไทยพบน้อย ดังนั้นหากต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดให้ฉีดวัคซีนป้องกัน"ยุง" จัดเป็นแมลงตัวเล็กๆ ที่มีฤทธิ์ร้ายไม่เบา นอกจากจะกัดเจ็บแล้ว ยังนำพาโรคร้ายมาให้อีกหลายโรค แม้ 7 โรคเกิดจากยุงจะน่ากลัว แต่ก็สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยพยายามไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงรอบๆ บ้าน หากเจ็บป่วยหลังจากถูกยุงกัดให้เฝ้าระวังอาการให้ดี อย่าไปซื้อยามาทานเองและรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว