free web tracker, fire_lady ไทรอยด์เป็นพิษ พิชิตด้วยโภชนาการบำบัด • สุขภาพดี

ไทรอยด์เป็นพิษ

พิชิตด้วยโภชนาการบำบัด

อาหารเสริมรักษาไทรอยด์

หลายคนอาจเคยได้ยินโรคเกี่ยวกับไทรอยด์มานาน แต่ก็ยังไม่รู้แน่สักทีว่าคืออะไรกันแน่ วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ รวมทั้งวิธีการป้องกันและรักษาด้วยอาหารเสริมรักษาไทรอยด์มาฝาก แล้วคุณจะรู้ว่า โรคไทรอยด์จริงๆ แล้วไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิดเลย

มารู้จักต่อมไทรอยด์กันก่อน...

ต่อมไทรอยด์มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่แถวหลอดลม มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อควบคุมอัตราเผาผลาญพลังงานหรืออัตราเมตาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นเอง หากมีมากไปก็เป็นพิษ น้อยไปก็ตรงข้าม คือ อ้วน ร่างกายเผาผลาญไม่ดี หนาวง่าย เฉื่อยชา เสียงแหบห้าว ส่วนชื่อเรียกของเจ้าโรคนี้ก็มีหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ไทรอยด์เป็นพิษ คอพอกเป็นพิษ หรือคอหอยพอกเป็นพิษ (Thyrotoxicosis, Hyperthyroidism) ต่างก็เป็นชื่อเรียกของโรคชนิดเดียวกันทั้งสิ้น แต่ในเด็กที่ขาดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ จะปัญญาอ่อน รูปร่างแคระแกรน ที่เรียก “โรคเอ๋อ” นั่นเอง

หากคุณสังเกตตัวเอง แล้วพบว่าตัวเองมีอาการเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ กระสับกระส่าย หรือเซื่องซึมผิดปกติ ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง มีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นอาจแสดงว่าคุณมีภาวะบกพร่องของฮอร์โมนไทรอยด์

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษ

โรคไทยรอยด์นั้น ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง แต่สันนิษฐานว่า สาเหตุหนึ่งน่าจะเกิดจากความกดดันของอนุมูลอิสระ เพราะต่อมไทรอยด์จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการภูมิเพี้ยน (โรคเกี่ยวกับพันธุกรรมซึ่งเป็นผลจากการกระทบต่ออนุมูลอิสระ หรือเป็นผลสะสมของการถูกอนุมูลอิสระกระทำอยู่เป็นเวลานาน) เข้าใจว่าผลจากการกระทบต่ออนุมูลอิสระที่ได้รับต่อเนื่องมีผลต่อการปรับเปลี่ยนของต่อมไทรอยด์ ภูมิคุ้มกันอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ถูกผลิตมากเกินไป ร่างกายมีความไวต่อระดับฮอร์โมนนี้มาก ไม่ว่าต่ำไปหรือสูงไป ส่วนสาเหตุอื่น เช่น เนื้องอก การอักเสบของต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะความเครียดในชีวิตประจำวัน

วิธีการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

ในการรักษาโรคแผนปัจจุบัน แพทย์มักเลือกใช้ยา ประเภทไอโอดีน กัมมันตภาพรังสี หรือยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ร่วมกับวิตามินบีรวม เนื่องจากร่างกายมีกระบวนการแปรธาตุสูงในภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จึงต้องได้รับวิตามินบี (อาหารเสริมรักษาไทรอยด์)ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยในระบบการทำงานโดยรวมของร่างกายมากเป็นพิเศษ ในขณะพฤติกรรมการบริโภคที่ดี ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก ควรงดการออกกำลังกายหนักในช่วงแรกที่รักษา หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ยาลดน้ำมูก และยาขยายหลอดลม เนื่องจากเป็นการกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ต่อมไทรอยด์ทำงานช้า หรือต่ำกว่าปกติ ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของการทำงานระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต้ (Hashimoto’s Thyroiditis) ซึ่งมีลักษณะภูมิคุ้มกันไปทำลายต่อมไทรอยด์ ทำให้ผลิตฮอร์โมนน้อยลง อาจใช้ไอโอดีนสังเคราะห์ หรือสารสกัดจากไทรอยด์ของสัตว์ในการรักษา

โภชนาการบำบัดรักษาไทรอยด์

ในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาหารกลุ่ม กอยโตรเจน (goitrogen) ซึ่งเป็นสารที่ขัดขวางการดูดซึมไอโอดีน สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อรักษาภาวะนี้ได้เป็นอย่างดี สารนี้พบในผักตระกูลกระหล่ำ เช่น กระหล่ำปลี แต่ต้องกินสดๆ เท่านั้น ห้ามผ่านความร้อน เพราะสารกลุ่มกอยโตรเจนจะถูกทำลายหากปรุงสุก เกร็ดสุขภาพบางตำรับ แนะนำให้กินกระหล่ำปลีดิบวันละครึ่งหัว เพื่อช่วยบรรเทาอาการไทรอยด์เป็นพิษ จากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงามากเกินไป ดังนั้น กล่ำปลีจัดเป็นอาหารเสริมรักษาไทรอยด์ ในกรณีต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติ

ส่วนในกลุ่มผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดปกติ ของการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งไปทำลายการทำงานของต่อม ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยลง การรักษาอาจใช้อาหารเสริมรักษาไทรอยด์ที่มีไอโอดีน หรือไอโอดีนสังเคราะห์ และควรเลือกบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเล และพืชผักที่มีไอโอดีนสูง หรือบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน หรือเรียกอีกอย่างว่า 'เกลืออนามัย' ซึ่งหาง่ายราคาถูก ที่สำคัญควรควรลดปริมาณการบริโภคผักดิบบางชนิด เช่น ผักตระกูลกะหล่ำปลี, ถั่วเกลืองดิบ ถั่วลิสงดิบ, หัวผักกาดเหลือง เนื่องจากมีสารที่ขัดขวางการใช้ไอโอดีนสร้างฮอร์โมนไทร็อกซิน

อาหารเสริมปรับสมดุลในร่างกาย รักษาไทรอยด์

นอกจากนี้ความไม่สมดุลของการทำงานของต่อมไทรอยด์ อาจปรับเปลี่ยนได้จากการใช้ชีวิตของเราเอง ลองสังเกตพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ที่อาจก่อภาวะร้อนในร่างกาย ตั้งแต่กินอาหารฤทธิ์ร้อนมากไป เช่น แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด ขิง ข่า สะระแหน่ ขมิ้น ตะไคร้ ใบกะเพรา พริก หอม กระเทียม อบเชย หรือทำตัวให้เกิดพิษร้อน เพิ่มอาหารฤทธิ์เย็น เช่น นมถั่วเหลือง รางจืด (ใช้ใบรางจืดสด 10 ใบ ตำผสมน้ำซาวข้าวครึ่งแก้ว ดื่มเมื่อมีอาการร้อนใน ทุก 1 ชม. แต่ไม่ควรดื่มติดต่อกันเกิน 7 วัน ดูแลร่างกายอย่าให้ขาดน้ำ เพราะคนส่วนใหญ่ขาดน้ำเพราะดื่มไม่เป็น เช่น ดื่มทีเดียวทั้งแก้ว หรือดื่มน้ำมากในมื้ออาหาร ชอบดื่มน้ำเย็นจัด ขอแนะนำให้ปรับเป็นดื่มน้ำธรรมดา (ไม่ใส่น้ำแข็งหรือแช่เย็น) ครั้งละครึ่งแก้วทุก 1 – 2 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มรวดเดียว 2 – 3 แก้ว เพราะการดื่มน้ำมาก แต่ผิดหลัก ก็กลายเป็นฤทธิ์ร้อนได้

การดูแลพื้นฐานควบคู่ทานอาหารเสริมรักษาไทรอยด์

การดูแลพื้นฐานหรือ เลี่ยงสารพิษทั้งหลาย ตั้งแต่ บุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ควบคู่กับการทานอาหารเสริมรักษาไทรอยด์ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี และในภาวะที่ร่างกายมีอัตราเมตาบอลิซึ่มหรืออัตราการเผาผลาญสูง นอกจากวิตามินบีรวมแล้ว การที่หัวใจทำงานหนัก ก็อาจทำให้ขาดแมกนีเซียมและโคเอนไซม์คิวเทนได้ง่าย โคเอนไซม์คิวเทน และแมกนีเซียม จึงเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการสูง เนื่องจากถูกใช้ไปมากกว่าปกติ (โคเอนไซม์คิวเทน 100 – 200 มก./วัน, แมกนีเซียม 6 มก./วัน) โดยอาจหาอาหารเสริมเหล่านี้มารับประทานเป็นเวลา 2-3 เดือน เพื่อเพิ่มปริมาณโคเอนไซม์คิวเทน และแมกนีเซียมในร่างกาย ดูแลการกินอาหารมื้อเช้าอย่าให้ขาด อย่าดื่มกาแฟก่อนอาหาร ดูแลอย่าให้ท้องผูก เนื่องจากภาวะร้อนในร่างกาย จะทำให้เชื้อแบคทีเรียโปรไบโอติกดีๆ ในร่างกายเสียหายมาก จึงต้องเติมทั้งโปรไบโอติก เช่นนมเปรี้ยว และพรีไบโอติก ผักผลไม้ กากใย เป็นอาหารที่มีประโยชน์สูง

นอกจากเรื่องอาหารเสริมรักษาไทรอยด์และโภชนาการแล้ว การออกกำลังกาย การฝึกสมาธิคลายเครียด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้จิตสงบ ก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ โรคภัยใกล้ตัว ที่ควรระวัง