สมุนไพรน่ารู้ อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ November 22, 2016 Share 0 Tweet Pin 0 20 สรรพคุณ...ประโยชน์ของ “ข่า” สมุนไพรมีดีที่กลิ่น “ข่า” (Galanga) เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีประโยชน์หลากหลาย ข่าจัดอยู่ในพืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับ ขิง กระชาย กระวาน และขมิ้น เป็นพืชจำพวกเหง้า ขยายพันธุ์ได้เร็ว ทั้งดอก เหง้า ราก และหน่อ มีประโยชน์นำไปใช้ได้ทุกส่วน ทำเป็นยารักษาอาการได้ดี ปรุงอาหารได้รสหอมอร่อย อีกทั้งยังช่วยดับกลิ่นคาว กลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ห้องครัวได้อีกด้วย เป็นสมุนไพรที่ควรมีติดบ้านไว้บ้าง เพราะข่ามีสรรพคุณดีสารพัดประโยชน์เหลือเกิน ดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ด้วย “ข่า”สมุนไพรเป็นผลิตผลจากธรรมชาติจึงไม่มีสารเคมีตกค้าง บวกกับกลิ่นและสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะสมุนไพรอย่าง “ข่า” ที่มีคุณสมบัติดับกลิ่นคาวได้ผลดีเหลือเกิน ทำให้ข่ามีหน้าที่เป็นน้ำหอมดับกลิ่นในครัว หรือในห้องน้ำแบบไร้สารเคมี ได้กลิ่นสะอาดอ่อนๆ ลอยโชยมา นำไปวางบริเวณใกล้ๆ ถังขยะเปียกก็จะช่วยดับกลิ่นเน่าเหม็นได้ โดยหั่นเป็นแว่นบางๆ นำไปโรยตามจุดต่างๆ ที่มีกลิ่นอับ หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ นอกจากจะดับกลิ่นได้แล้ว ข่าสดยังช่วยไล่ "แมลงวัน" ได้อีกด้วยวิธีใช้ข่าไล่แมลงก็ง่ายมากๆ เพียงนำข่าสดหั่นบางๆ แล้วนำไปคั้นเอาน้ำข่ามาใส่ลงในขวดสเปร์ย ฉีดพ่นไปในบริเวณที่แมลงวันมาก่อความรำคาญใจ เท่านี้เจ้าแมลงวันก็จะไม่กล้าเข้าใกล้เลย จะฉีดมากฉีดน้อยก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้าง บอกลายากันแมลงที่มีสารเคมีและกลิ่นเหม็นรุนแรงไปได้เลยประโยชน์และสรรพคุณจาก “ข่า” 20 ข้อ 1. ข่ามีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต2. ประโยชน์ของเหง้าข่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด3. สรรพคุณเหง้าข่าแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย4. ใบข่าฆ่าเชื้อราและพยาธิได้5. ข่าเป็นยาแก้ท้องอืด แน่นท้อง เสียดท้อง ขับลมในลำไส้และช่วยลดแก๊สในกระเพาะ6. ข่ามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ แก้บิด7. ประโยชน์ของเหง้าข่าช่วยรักษาอาการอักเสบ8. สรรพคุณของใบข่าช่วยดับกลิ่นปาก กลิ่นสุรา9. ใบข่าช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ10. กลิ่นข่าช่วยให้หายใจสะดวก แก้ไอ แก้หอบหืด11. เหง้าข่าลดอาการปวดฟัน ปวดเหงือก12. ใบข่ามีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้หวัด 13. ใบข่านำไปต้มดื่มจะทำให้เลือดลมดี14. ดอกและใบข่านำไปบดแล้วทาผิวหนังแก้แพ้ แก้ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อย15. ประโยชน์ของดอกข่าช่วยแก้ท้องเสีย16. ข่านิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เพราะช่วยให้รู้สึกหอมสะอาด17. สรรพคุณของข่าลดกลิ่นอับในห้องครัว ห้องน้ำได้18. ข่าช่วยไล่แมลงได้ เพราะกลิ่นของข่าค่อนข้างฉุน เป็นกลิ่นที่แมลงไม่ชอบ19. ข่านำไปทำน้ำมันนวดตัว หรือลูกประคบได้ เพราะมีกลิ่นที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย20. ข่านำไปประกอบอาหารจำพวกต้ม และแกงได้ ให้รสชาติมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลักษณะทั่วไปของ “ข่า”ข่า มีลักษณะเป็นเหง้า (คือจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน) หลายคนเคยเห็นแต่เหง้าของข่า ความจริงแล้วข่ามีเมล็ด ดอก และใบอยู่ด้วย โดยทั้งหมดนี้มีสรรพคุณเป็นยาได้ทั้งสิ้น ข่าพบได้มากที่ประเทศไทยและอินโดนีเซีย คนสมัยก่อนนำมาใช้ต้มเป็นยาแก้หวัด และต่อมามีการพัฒนาไปเป็นเครื่องเทศใช้ปรุงอาหาร จำพวก แกง ต้มยำ ผัดเผ็ด และน้ำพริก เป็นต้น นอกจากจะเป็นเครื่องปรุงกลิ่นหอมชวนลิ้มลองแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ได้ดีข่ามีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง เป็นต้น ข่าที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีสรรพคุณเหมือนกัน รูปร่างแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น ข่าลิง จะมีลำต้นเล็กกว่าข่าชนิดอื่นๆ, ข่าคม จะมีใบโค้งมน มีขนอ่อนๆ ที่ใบ, ข่าน้ำ มีดอกสีชมพู เหง้าอ่อนมีรสจืดกว่าข่าชนิดอื่นๆ สุดท้ายคือ ข่าป่า มักพบได้ในป่าดิบชื้น มีลำต้นสูงใหญ่กว่าข่าชนิดอื่นๆ มีกลิ่นฉุนแรงกว่าข่าทั่วไป“ข่า” ทำได้มากกว่าต้มข่าไก่ !พอพูดถึง “ข่า” ใครหลายคนก็จะคิดถึงเมนูยอดนิยมอย่าง “ต้มข่าไก่” แต่พอให้คิดจะนำข่าไปประกอบเมนูอื่น ก็จะคิดไม่ค่อยออกกัน จริงๆ แล้วข่าเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นเข้ากับการทำแกงไทยๆ ได้หลากหลาย สามารถนำมาทำอาหารได้มากทีเดียวโดยเฉพาะเมนูแซ่บๆ อย่างปลาทูต้มตะลิงปลิง ที่ต้องใส่เครื่องสมุนไพรแน่นๆ ได้รสจัดจ้าน ส่วนผสมที่ขาดไม่ได้คือ ตะลิงปลิง มะกรูด ตะไคร้ หอมแดง และข่า ทำเครื่องยำต้มปลาทูให้หอม ปรุงรสด้วยน้ำปลา พริกแห้ง เท่านี้ก็จะได้เมนูเปรี้ยวแซ่บเอาไว้ทำเองที่บ้านง่ายๆ แถมได้ประโยชน์จากเครื่องสมุนไพรด้วย นอกจากนี้ข่ายังนำไปทำต้มแซ่บได้มากมายแล้วแต่จะนำไปประยุกต์ หรือจะทำ “น้ำพริกข่า” อาหารพื้นเมืองชาวล้านนาเอาไว้จิ้มกินกับเห็ดก็อร่อยได้ประโยชน์ไม่แพ้กันข่าเป็นเครื่องเทศที่ทำให้อาหารมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ น่าลิ้มลอง เพิ่มกลิ่นหอมให้กับเมนูต่างๆ ได้ดี อีกทั้งยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น สบายคอ ขับเสมหะ ใครที่รู้สึกเจ็บคอ คัดจมูกอยู่ แนะนำเลยว่ากินอาหารที่มี “ข่า” เป็นส่วนประกอบรับรองประโยชน์และสรรพคุณดีๆ ของข่าว่าช่วยทำให้โล่งจมูก สบายคออย่างแน่นอนบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสมุนไพรน่ารู้...คู่สุขภาพดี 10 สรรพคุณ...ประโยชน์ของ “พริกไทยดำ” สมุนไพรเร่งเผลาผลาญ 15 สรรพคุณ...ประโยชน์ของ “ห่วยซัว” เป็นอาหารก็ได้ เป็นยาก็ดี 16 สรรพคุณ…ประโยชน์ของเก๊กฮวย สมุนไพรเย็น ที่ไม่ได้มีดีแค่ดับกระหาย 14 สรรพคุณ…ประโยชน์ของมะรุม สมุนไพรพื้นบ้าน ยาดีต่อสุขภาพ