อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว June 17, 2018 Share 2 Tweet Pin 0 9 โรคที่เกิดจากการนอนดึก...บั่นทอนชีวิตโดยไม่รู้ตัว!!ใครนอนดึกยกมือขึ้น....เชื่อว่าหลายคนคิดว่าการนอนดึกเป็นเรื่องปกติ ขอเพียงแค่นอนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง โดยที่ตื่นสายหน่อยก็ได้ ไม่เห็นจะเป็นไร...ขอบอกว่า ถูกต้อง แต่ถูกต้องเพียงครึ่งนึงเท่านั้น คือควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้นอนดึกตื่นสาย...งั้นลองมารู้ถึงผลเสียของการนอนดึกกันก่อนดีไหม? แล้วค่อยตัดสินใจอีกทีว่า ควรจะนอนดึกอยู่หรือไม่...กับเรื่องราวของ 9 โรคที่เกิดจากการนอนดึก พร้อมกับเหตุผลของการนอนดึกกันเลย นอนหลับเท่าไรจึงจะเพียงพอตามหลักสากลแล้วคนเราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และนอนให้หลับสนิทก่อนเวลา 4 ทุ่ม การนอนดึกตื่นสายถึงแม้จะนอนครบเวลาก็ไม่ใช่การนอนหลับแบบมีคุณภาพเหมือนการนอนเร็วตื่นเช้า อีกทั้งการนอนหลับสนิทจะทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่ง ฮอร์โมนนี้เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่ายสาเหตุของการนอนดึก1. ติดโทรศัพท์ เมื่อสมาร์ทโฟนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ซึ่งสำหรับบางคนเปรียบเสมือนมือที่สาม ดึกดื่นแค่ไหนก็ยังไถหน้าจอเล่นอยู่ การนอนดึกจึงเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับชาวโซเชียลในยุคนี้2. การทำงานเป็นกะ การสลับเวร การเปลี่ยนกะ การทำงานล่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับคนทำงาน3. สภาพแวดล้อมตอนนอนไม่เหมาะสม เช่น สว่างเกินไป เสียงดังมากไป ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดคิดว่ายังไม่ถึงเวลานอน จึงทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น4. เจตแล็ก (Jet Lag) คือ การเดินทางไปในโซนเวลาที่ไม่เท่ากัน เช่น ขณะนี้อยู่ในโซนเวลากลางวันแต่ต้องเดินไปต่างประเทศ จุดหมายเป็นเวลากลางวันแต่จริงๆ แล้วเวลาในประเทศที่เดินมาเป็นเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อน5. โรคนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เปลี่ยนเวลานอนบ่อย เครียด เป็นต้น6. ยารักษาโรค ยารักษาโรคบางชนิดมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ บางคนทานอาจจะทำให้นอนหลับยาก แต่ถ้าทานในเวลากลางวันอาจจะไม่ส่งผลมากนักโรคที่เกิดจากการนอนดึก1. โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต การนอนดึกถึงแม้จะนอนหลายชั่วโมง แต่เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกไม่สดชื่นแจ่มใส ร่างกายอ่อนเพลียและส่งผลต่ออารมณ์หลังตื่นนอน เพราะสมองพักผ่อนน้อย จะหงุดหงิดอารมณ์เสียง่ายกว่าปกติ การตัดสินใจไม่เฉียบแหลม วิตกกังวล คิดลบ ย้ำคิดย้ำทำและอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้2. โรคอ้วน ในเวลากลางคืนควรเป็นเวลาที่ร่างกายได้พักผ่อน แต่หลายคนที่นอนดึก มักจะทานอาหารในตอนกลางคืนตามไปด้วย คนนอนดึกจึงมีแนวโน้มอ้วนง่ายกว่าคนทั่วไป3. โรคเบาหวาน มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลับชิคาก็และมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น พบว่าการนอนดึกทำให้ระดับกลูโคสในเลือดและอินซูลินสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายหลั่งอินซูลินมากติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ร่างกายจะดื้ออินซูลินจนไม่สามารถควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดได้ในที่สุด4. โรคหลอดเลือดและหัวใจ มีการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จิเนียเกี่ยวกับเรื่องการนอนหลับ พบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ผู้หญิงสูงอายุที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากถึง 5 เท่า ส่วนใครที่นอนหลังเที่ยงคืนอยู่เสมอก็อาจจะเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้5. โรคมะเร็งเต้านม มหาวิทยาลัย Tohoku ในญี่ปุ่นได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับกับมะเร็งเต้านม จากผู้หญิงอายุ 40-79 ปีจำนวนกว่า 24,000 คน พบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 62%6. โรคมะเร็งลำไส้ เมื่อนอนน้อยหรือนอนไม่เป็นเวลา จะทานอาหารไม่เป็นเวลาตามไปด้วย อาหารที่ทานก็มักไม่ค่อยมีประโยชน์ ลำไส้จึงทำงานหนัก จากการศึกษาพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืนมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร้งลำไส้มากถึง 47%7. โรคลำไส้แปรปรวน หรืออาการท้องผูกสลับท้องเสีย ใครที่นอนดึกบ่อยๆ คงคุ้นเคยกับโรคนี้ดี เนื่องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้กระเพาะทำงานหนักและล้า อีกทั้งส่งผลให้ย่อยอาหารได้ไม่ดี8. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง การนอนดึกทำให้บางคนกลายเป็นคนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ หรือฝันร้ายบ่อยๆ ใครที่ใช้เวลามากกว่าจะนอนหลับ และมีอาการติดกันมากกว่า 1 เดือนแสดงว่าคุณอาจเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง9. โรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม เมื่อนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดต่ำลง ทำให้ความต้องการทางเพศลดลงตามไปด้วยวิธีป้องกัน...ก่อนเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากการนอนดึก1. รักษาจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียดและจัดการปัญหาระหว่างวันให้เสร็จก่อนกลับมาที่บ้าน จะได้ไม่รู้สึกว่าต้องเจอกับปัญหาอยู่ตลอดเวลา2. จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน ทำให้ห้องนอนเป็นเพียงห้องนอน อย่าเอางานมาทำในห้องนอน ตกแต่งห้องให้รู้สึกสบายตา สบายใจ เมื่อถึงเวลานอนปิดไฟและปิดแหล่งที่ทำให้เกิดเสียงทุกประเภท3. หยุดเล่นโทรศัพท์ ก่อนจะนอนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงควรปิดโทรศัพท์ เพราะแสงจากโทรศัพท์จะทำให้เราตื่นตัวและไม่ง่วงนอน4. นอนเป็นเวลา กำหนดเวลานอนให้เป็นกิจวัตร นอนตามเวลาเดิมในทุกๆ วัน5. งดดื่มกาแฟตอนบ่าย เพราะอาจจะทำให้ตาแข็งจนนอนไม่หลับไปตลอดทั้งคืน6. ไม่ควรดื่มน้ำหรือแอลกอฮอล์ก่อนจะนอน เพราะอาจจะทำให้ปวดปัสสาวะจนตองตื่นกลางดึก7. อย่าพยายามนอน หากนอนไม่หลับ อย่านอนเล่นบนเตียง ให้ลุกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นจนรู้สึกง่วงแล้วค่อยกลับมานอน แต่ไม่ควรเล่นโทรศัพท์หรือดูทีวีเด็ดขาด8. ออกกำลังกาย การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสดชื่น สมองปลอดโปร่ง นอนหลับง่ายยิ่งขึ้น9. ไม่ทานอาหารมื้อหนัก หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อหนักเช่น เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ก่อนที่จะนอน เพราะจะทำให้ร่างกายอึดอัด นอนหลับยากยิ่งขึ้น10. เลือกเตียงและหมอน ที่ไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป จะทำให้นอนหลับได้สบายกว่าการนอนดึกเป็นสิ่งที่ดูเหมือนพฤติกรรมปกติของผู้คนสมัยนี้ แต่กลับส่งผลร้ายมากมายต่อสุขภาพ แต่เมื่อได้รู้ถึงอันตรายของ โรคที่เกิดจากการนอนดึก กันไปแล้ว จึงแนะนำให้นอนเร็วและนอนให้พอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเองให้พร้อมรับกับวันใหม่อยู่เสมอ