อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว February 11, 2018 Share 0 Tweet Pin 0 “โรคเกาต์” อาการทรมาน...ไม่ได้เกิดเฉพาะผู้สูงวัยหลายคนอาจเคยมีอาการปวดแขนปวดขาหรือปวดตามข้อ อาจคิดว่านั่นคือสัญญาณบ่งบอกของอาการไขข้อเสื่อมหรือปวดเมื่อยธรรมดา แต่อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด เพราะยังมีอีกโรคหนึ่งที่อันตรายและสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายอยู่ไม่น้อย คือ “โรคเกาต์” ฉะนั้นเราจึงควรรู้เท่าทันสาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันโรคเกาต์ก่อนที่จะสายเกินไป โดยทั่วไปเราจะเรียกภาวะความเจ็บปวดจากอาการไขข้ออักเสบแบบเฉียบพลัน ที่มีอาการแดง ตึง แสบร้อน และบวมตามข้อต่อ ว่า “โรคเกาต์” และหากเกิดขึ้นตรงบริเวณหัวแม่เท้าจะเรียกว่า “โพดากรา” นอกจากนี้ยังอาจพบในรูปแบบของก้อนนิ่วในไตก็ได้ และในปัจจุบันนี้ก็พบผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย จึงนับได้ว่าโรคเกาต์เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความน่ากลัวสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกาต์มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุทั้งหมดนั้นจะส่งผลให้กรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และนั่นคือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเกาต์1. การดำเนินชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์การรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีน อาหารทะเล กลุ่มผักที่มีพิวรีนสูงๆ เช่น ถั่ว ถั่วลันเตา ผักโขม เครื่องดื่มที่เป็นน้ำหวานผสมฟรักโทส กาแฟ วิตามินซี และนม อาหารเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดอาการกำเริบของโรคเกาต์จริง แต่เป็นสาเหตุเล็กน้อยเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น2. เกิดจากพันธุกรรมพันธุกรรมถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่เอื้อต่อการเกิดโรคเกาต์ค่อนข้างมากถึง 60 % ยีนสามตัว ได้แก่ SLC2A9 SLC22A12 และ ABCG2 เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกาต์และความแปรปรวนของยีนเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดโรคเกาต์ เพราะก่อให้เกิดภาวะกรดยูริกในเลือดสูง ดังนั้นสรุปได้ว่าพันธุกรรมมีส่วนสำคัญมากในการเกิดโรคเกาต์3. ภาวะความเจ็บป่วยโรคเกาต์มักเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับภาวะทางร่างกายอื่นๆ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก ไตวาย โรคโลหิตจาง โรคสะเก็ดเงิน การปลูกถ่ายอวัยวะ และค่าดัชนีมวลกายมากกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุนี้อาจก่อให้เกิดโรคเกาต์มากถึง 70 % ถือว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคเกาต์ได้อีกด้วย4. การใช้ยาบางชนิดการใช้ยาขับปัสสาวะ ไนอาซิน แอสไพริน ไซโคลสปอริน และทาโครลิมุส ยาเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเกาต์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้ แต่หากมีความจำเป็นจะต้องรับประทานยาเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ว่ามีวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกาต์จากยาเหล่านี้อย่างไร โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคเกาต์จากสาเหตุอื่นๆ อยู่แล้วด้วยอาการของโรคเกาต์อาการของโรคเกาต์ที่เรามักพบก็คือ อาการปวดตามข้ออย่างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอีกด้วย ซึ่งพบว่าข้อที่ปวดกันมากที่สุดคือ “นิ้วหัวแม่เท้า” บางรายที่มีอาการรุนแรงก็จะมีอาการบวมและเจ็บมากจนเดินแทบไม่ไหว รวมทั้งผิวหนังบริเวณนั้นจะตึง บวม แดง ร้อน และเจ็บมากเมื่อเกิดการสัมผัส และเมื่ออาการเจ็บปวดเริ่มทุเลาลงผิวหนังบริเวณนั้นก็จะลอกและเกิดอาการคันตามมาในระยะแรกของการปวด ผู้ป่วยจะเป็นเพียงไม่กี่วันแล้วก็หายไปเองได้ แต่หากไม่ได้รับการป้องกันหรือรักษาอาการนั้นก็จะกลับมากำเริบอีกในภายหลัง ในบางครั้งนอกจากอาการเจ็บปวดตามข้อแล้วยังอาจมีอาการอื่นๆ ได้อีก เช่น มีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว อ่อนเพลีย และเบื่อหาร โรคนี้จึงต้องได้รับการรักษาและดูแลอย่างดี ในช่วงแรกๆ ของการเป็นโรคนี้อาการจะกำเริบในทุก 1–2 ปี ต่อมาจะกำเริบถี่ขึ้นเรื่อยๆ ทุก 4 - 6 เดือน หรือทุก 2 – 3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรืออาจเดือนละหลายครั้งก็ได้ ระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งจะนานขึ้น และจำนวนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันเมื่อการข้ออักเสบเริ่มมีหลายข้อขึ้น พบว่าจะมีปุ่มก้อนขึ้นบริเวณข้อที่ปวดนั้นด้วย เรียกว่า “ปุ่มโรคเกาต์หรือปุ่มโทฟัส” ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของกรดยูริก ปุ่มนี้อาจโตขึ้นเรื่อยๆ หรือจนกระทั่งแตกออกมาเป็นสารสีขาว บริเวณนั้นก็จะกลายเป็นแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย และในที่สุดก็อาจพิการได้อาการป่วยโรคเกาต์อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้อีก เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หากไม่ได้รับการรักษาทั้งโรคเกาต์และภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจนำซึ่งการเสียชีวิตลงได้วิธีรักษาโรคเกาต์การรักษาโรคเกาต์ในความเป็นจริงคือ การระงับอาการกำเริบแบบเฉียบพลันของโรค เพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดจนทนไม่ไหว อาจทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้ยาชนิดต่างๆ เพื่อลดระดับของกรดยูริก การประคบน้ำแข็งเป็นเวลา 20 – 30 นาที วันละหลายๆ ครั้ง ยาแก้อักเสบนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ และโคลชิซีน เพราะการลดระดับของกรดยูริกสามารถที่จะรักษาโรคนี้หายได้ ดังนั้นเราควรรู้ถึงรายละเอียดของวิธีการรักษาและวิธีเพื่อผู้ป่วยจะได้ศึกษาดูวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง1. การใช้ NSAIDsการใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ หรือที่เรียกว่า NSAIDs ถือเป็นการรักษาขั้นพื้นฐาน ยานี้ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมง และสามารถใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งถึงสองสัปดาห์เท่านั้น แต่การใช้ยานี้มีข้อจำกัดในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ คือ ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวาย และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยอาจเลือกรับประทานยาไอบูโปรเฟนแทน จะลดความเสี่ยงในเรื่องของผลข้างเคียงได้มากกว่า2. การใช้โคลชิซีนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ NSAIDs ได้ การใช้โคลชิซีนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะยานี้มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า หากใช้ยานี้ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปแต่ยังประสิทธิภาพในการรักษาให้เท่าเดิม ก็จะก่อให้เกิดความแปรปรวนในระบบทางเดินอาหารได้น้อยกว่า แต่โคลชิซีนจะทำปฏิกิริยาได้ง่ายกับอะโทวาสแตติน อีริโทรมัยซิน และอื่นๆ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกัน3. การใช้สเตอรอยด์การใช้สเตอรอยด์มีประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกับ NSAIDs และใช้แทนได้ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยา NSAIDs ได้ โดยยานี้เมื่อฉีดเข้าไปที่ข้อต่อจะทำให้อาการดีขึ้นมาก แต่ยานี้ไม่สามารถฉีดเข้าไปในข้อต่อได้หากข้อต่อมีการการติดเชื้ออยู่ เพราะจะยิ่งทำให้อาการกลับยิ่งแย่ลง4. การใช้เพลโกลติเคสยานี้เป็นยาที่ใช้กันน้อย เพราะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถต้านยาอื่นๆ ได้ ก็จะเลือกรับประทานยานี้ เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ยานี้จะมีส่วนสำคัญในการลดระดับกรดยูริกในเลือดได้การรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเกาต์ การเลือกรับระทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคเกาต์ได้ โดยที่เริ่มจากตัวเราเองและน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แม้อาจจะไม่ใช่วิธีที่รักษาโรคนี้ให้หายได้อย่างรวดเร็ว แต่ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ตนเองและได้ผลที่ค่อนข้างถาวร ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง1. ดื่มน้ำให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร โดยปกติคนทั่วไปจะต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 – 2 ลิตร แต่สำหรับผู้ป่วยโรคนี้จะต้องดื่มน้ำให้มากกว่า เพื่อเป็นการขับกรดยูริกอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ออกทางไตและลดการเกิดตะกอนตกค้างของกรดยูริกในไต ดังนั้นหากดื่มน้ำน้อยอาจนำมาซึ่งอาการนิ่วในไตด้วย2. งดการดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะเบียร์ เพราะทุกครั้งที่มีการเผาผลาญแอลกอฮอล์ในร่างกาย จะทำให้เกิดการเพิ่มของสารแล็กเทสในเลือด ซึ่งแน่นอนว่าสารนี้มีผลในการไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากไต และเมื่อเกิดการสะสมของกรดยูริกไปเรื่อย ๆ จึงเกิดโรคเกาต์นั่นเอง3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ไม่ควรรับประทานเลย เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ไข่ปลา หอย ปลาดุก กะปิ น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม สะเดา ยอดอ่อนของผัก เห็ด อาหารที่ใส่ยีสต์ เป็นต้น อาหารที่มีกรดยูริกปานกลาง สามารถรับประทานได้บ้างแต่นานๆ ครั้ง เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ผักโขม ขี้เหล็ก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว เป็นต้น อาหารที่มีกรดยูริกต่ำ ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้อย่างไม่จำกัด เช่น ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อนทั้งหมด ผลไม้ทุกชนิด ธัญพืช ปลาน้ำจืด ข้าว ข้าวโพด ไข่ เต้าหู้ นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ เป็นต้น4. รับประทานอาหารประเภทข้าวและแป้งให้มากพอ โดยปกติร่างกายคนเรามีความต้องการพลังงานในการทeกิจกรรมต่างๆ หากได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะไปดึงพลังงานจากโปรตีนมาใช้แทน ซึ่งในลักษณะแบบนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น5. รับประทานผักและผลไม้ให้มาก การรับประทานผักและผลไม้มากๆ จะทำให้ปัสสาวะมีสภาวะเป็นด่าง จึงเกิดการปัสสาวะบ่อยขึ้นและสามารถขับกรดยูริกออกมาได้ด้วยนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมว่าการรับประทานผัก ห้ามรับประทานผักยอดอ่อนสำหรับการเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเกาต์นี้ ท่านต้องรู้จักสังเกตด้วยว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วสามารถควบคุมกรดยูริกได้ก็ควรรับประทานอาหารชนิดนั้น แต่ถ้าอาหารชนิดใดรับประทานไปแล้วกลับยิ่งทำให้อาการกำเริบก็ควรหลีกเลี่ยง แม้ว่าจะอยากรับประทานมากแค่ไหนก็ตาม เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายของผู้ป่วยเอง5 สูตรสมุนไพรรักษาโรคเกาต์ การใช้สมุนไพรไทยในครัวเรือนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถแก้อาการของโรคเกาต์ได้ ส่วนจะมีสมุนไพรอะไรบ้างไปรู้กันเลยดีกว่าสูตรที่ 1 นำใบรางจืด 5 ใบ กับใบเตย 5 ใบ ต้มกับน้ำสะอาด 2 ลิตร แล้วดื่มเป็นประจำทุกวัน จะช่วยลดอาการของโรคเกาต์ได้ดี และยังสามารถบรรเทาอาการรูมาตอยด์ได้อีกด้วย สูตรนี้ถือเป็นสูตรสมุนไพรรักษาโรคเกาต์ได้ดีที่สุดสูตรที่ 2 นำมะละกอดิบ 1 ลูก ไม่ต้องปลอกเปลือกแต่คว้านเอาเมล็ดออก หั่นเป็นท่อนๆ ล้างให้สะอาด แล้วนำไปต้มในน้ำสะอาด 3 ลิตร ดื่มทุกวันเป็นประจำจนกว่าอาการปวดจะหายไปสูตรที่ 3 นำยอดมะรุมสด 3 ยอด แล้วนำไปต้มในน้ำสะอาด 2 ลิตร ดื่มทุกวันเป็นประจำจะช่วยลดอาการของโรคเกาต์ได้สูตรที่ 4 นำใบยอ 4 ใบ และมะตูมแห้ง 1 แว่น ย่างไฟให้เหลือง แล้วนำไปต้มน้ำในปริมาณ 3 ขวด เคี่ยวจนงวดจนเหลือประมาณ 2 ขวด ดื่มทุกวันเป็นประจำจนกว่าจะหายสูตรที่ 5 นำน้ำมะกรูดผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย แล้วเติมน้ำอุ่นลงไปเล็กน้อยเช่นกัน ผสมให้เข้ากัน แล้วนำมาดื่มเป็นประจำทุกวันประมาณเดือนครึ่ง จะช่วยให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอาการของโรคเกาต์เป็นโรคหนึ่งที่มีความอันตรายและสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคนี้ควรรีบหาทางป้องกันเพื่อให้เกิดโรคนี้ แต่หากใครที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่แล้วควรรักษาและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เพื่อให้อาการป่วยนี้ดีขึ้นและสามารถหายขาดได้ อย่าปล่อยปละละเลยไม่เช่นนั้นโรคอาจลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิตได้ในที่สุด