free web tracker, fire_lady รู้เท่าทันห่างไกลมะเร็งปอด • สุขภาพดี

รู้เท่าทัน ห่างไกล มะเร็งปอด

หลายคนอาจเข้าใจว่ามะเร็งปอดเป็นโรคอันตรายเฉพาะผู้สูบบุหรี่ แต่ความจริงแล้วคนไม่สูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่รู้ตัวและเข้ารับการรักษาในระยะสุดท้ายทำให้รักษาได้ไม่ทันการณ์ หรือหายขาดได้ จึงเกิดข้อสงสัยอยากรู้ว่ามะเร็งปอดเกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงใดที่ทำให้เป็นมะเร็งปอด รวมถึงมีวิธีป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็งปอด มาทราบคำตอบคลายความสงสัยไปพร้อมๆกันนะคะ

สาเหตุมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อปอดที่มีการแบ่งตัวมากเกินปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และมีโอกาสลุกลามจนเป็นเนื้องอกแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้อีกด้วย

อาการมะเร็งปอด

ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจนในระยะเริ่มต้น จากสถิติมีเพียง 10-15% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ตรวจพบในระยะเริ่มต้นและสามารถรักษาให้หายได้ ที่เหลือส่วนใหญ่จะเริ่มสังเกตุเห็นอาการและเข้ารับการรักษาในระยะสุดท้าย ซึ่งก็ยากในการรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยอาการของมะเร็งปอดมีดังนี้

  • หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น เสียงแหบ
  • ไอเป็นระยะเวลานาน และไอถี่มากขึ้นเรื่อยๆ หลังๆ จะไอมีเสมหะปนเลือด
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ (การเบียดกดทับของก้อนเนื้อ)
  • บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอก
  • มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง
  • เป็นโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบอยู่บ่อยๆ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด

1.ผู้ที่สูบบุหรี่ ซึ่งจะมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่สูงถึง 10-30 เท่า

2.ผู้ที่ได้รับสารพิษและอยู่ในมลภาวะสูดดมควันบุหรี่ แอสเบสทอส (Asbestos) หรือแร่ไยหิน ก๊าซเรดอน (Radon) ฝุ่นจากอุตสาหกรรมหนัก สารหนูและรังสีอื่นๆ

3.ผู้ที่มีอายุมากขึ้น ( 40 ขึ้นไป) มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้น

4.ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอด

หลังจากการวินิจฉัย ระบุชนิดของเซลล์มะเร็ง พร้อมดูอาการของผู้ป่วยว่าอยู่ในระยะใดแล้ว แพทย์จึงจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งบางรายอาจใช้หลายๆ วิธีในการรักษาควบคู่กัน โดยแนวทางในการรักษามะเร็งปอดมีดังนี้

1. การผ่าตัด ใช้รักษาผู้ป่วยกรณีที่พบว่าเซลล์มะเร็งไม่ลุกลาม สามารถตัดเซลล์เนื้อร้ายออกได้หมด

2. รังสีรักษา หรือการฉายแสง ใช้รักษาผู้ป่วยในกรณีที่การผ่าตัดใช้ไม่ได้ผล เพราะถึงผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไปแล้ว ก็มีโอกาสที่เซลล์ร้ายจะงอกกลับมาได้อีก ดังนั้นการฉายแสงจะเป็นการอุดกั้นของหลอดเลือดดำ ปิด ช่องทางให้เซลล์ร้ายแพร่กระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย

3. เคมีบำบัด ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ และมีเซลล์ร้ายในร่างกายเพียงเล็กน้อย

ผลในการรักษาจะได้ประสิทธิผลมากน้อย หรือใช้เวลามากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยว่ามีความไวในการตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ แต่ทางที่ดีที่สุดเราควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้ โดยการดูแลตัวเองให้ ห่างไกลโรคมะเร็งปอดจะเป็นการดีที่สุด

ป้องกันอย่างไรเพื่อห่างไกลโรคมะเร็งปอด

1. หยุด/ละ/เลิกสูบบุหรี่ และหลีกหนีให้ไกลจากควันบุหรี่่ของคนใกล้ตัวที่สูบบุหรี่

2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษ มลภาวะและ สิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการอักเสบของปอด เช่น ที่ที่มีฝุ่นควันมากๆ เช่น เหมืองแร่ ผับบาร์ โรงงานอุตสาหกรรมหนัก เป็นต้น

3. หมั่นบริหารปอดด้วยการสูดอากาศบริสุทธิ์ในตอนเช้าให้เต็มปอด โดยเลือกสถานที่ธรรมชาติที่มีต้นไม้ใหญ่มากๆ เพื่อรับออกซิเจนเข้าไปในปอดอย่างเต็มที่

4. ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ หากพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก

5. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย เพื่อสร้างภูมิกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

มะเร็งปอดถือเป็นโรคร้ายในความเงียบที่น่ากลัวจริงๆ ดังนั้นเราควรรู้เท่าทันเพื่อป้องกันตนเองและคนที่เรารักให้ห่างไกลโรคมะเร็งปอดกันนะคะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งร้าย

Click here to add a comment

Leave a comment: