เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ January 27, 2016 Share 1 Tweet Pin 0 สารเทฟลอน...อันตรายหรือไม่? ทราบกันหรือไม่คะว่าสารเทฟลอนคืออะไร เทฟลอนเป็นชื่อทางการค้า ของวัสดุพลาสติกชนิดหนึ่ง ของบริษัทดูปองค์ สารเทฟลอนเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติคือความลื่นมาก ผู้ผลิตจึงใช้สารนี้เป็นส่วนผสมหรือเคลือบลงบนผลิตภัณฑ์หลายชนิด โดยเฉพาะเครื่องครัว เพื่อลดปัญหาไหม้และไขมันเกาะอุปกรณ์ต่างๆ อีกทั้งยังทำความสะอาดได้ง่าย คุณสมบัติที่ดีอีกอย่างของสารเทฟลอนคือ เป็นสารที่มีความเฉื่อยต่อการเกิดปฏิกิริยากับสารเคมีอื่นๆ จึงไม่เกิดอันตรายกับอาหารที่ปรุงจากภาชนะที่เคลือบเทฟลอน นอกจากนั้นเทฟลอนจึงเป็นสารที่ทนความร้อนได้สูงถึง 327 องศาเซลเซียส และไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ทั้งทนต่อความเป็นกรด เป็นด่างได้เป็นอย่างดีเทฟลอนอยู่ติดกับภาชนะได้อย่างไรหลายคนคงเคยสงสัยว่าสารเทฟลอนที่เราเห็นเคลือบกับภาชนะนี้อยู่ติดกับภาชนะต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นกระทะ หม้อ หรือ อุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งกรรมวิธีการผลิตจะมี 2 วิธีด้วยกันวิธีที่ 1 ใช้ความร้อน หลอมตัวเทฟลอนเพื่อผนึกเข้ากับตัวภาชนะที่ต้องการวิธีที่ 2 ใช้วิธีการยิงเทฟลอน โดยใช้ไอออนแก๊สภายใต้สนามไฟฟ้าที่สภาวะสุญญากาศทำให้เทฟลอนติดกับวัตถุดิบที่ต้องการได้อันตรายที่เกิดจากสารเทฟลอนหลุดลอกมีการเตือนภัยของกระทรวงสาธารณะสุข ในเรื่องการใช้ภาชนะที่เคลือบเทฟลอนประกอบอาหาร เมื่อได้รับสารปนเปื้อนจากเทฟลอนที่หลุดลอกออกมาเป็นเวลานานอาจทำให้ก่อมะเร็งได้ ซึ่งสารพิษของเทฟลอนจะเกิดจากการที่ใช้ความร้อนในการประกอบอาหารสูงเกินกว่าปกติ คือสูงเกินกว่า 350 องศา แต่ในการประกอบอาหารโดยปกติจะใช้เพียง 100 องศาเท่านั้น จึงถือว่าไม่เป็นอันตรายหากใช้อุปกรณ์ที่เคลือบสารเทฟลอนในการประกอบอาหารปกติ หากใช้อุณหภูมิสูงมากกว่า 350 องศาในการประกอบอาหารแล้วล่ะก็ จะเกิดก๊าซที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการไข้จากหวัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นการเลือกใช้ภาชนะเคลือบสารเทฟลอนในการประกอบอาหารควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาหารและวิธีปรุงอาหาร เช่น ถ้าต้องการใช้ทำอาหารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติก็ให้หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ที่เคลือบเทฟลอน และควรหลีกเลี่ยงการรักษาอาหารนานๆ ด้วยภาชนะเทฟลอน ควรเปลี่ยนใช้ภาชนะเป็นแก้วหรือภาชนะอื่นๆ สิ่งที่ต้องใส่ใจคือการทำความสะอาดภาชนะที่เคลือบเทฟลอน ควรทำความสะอาดตามคำแนะนำ หลีกเลี่ยงการขูดขีด เพราะจะทำให้เกิดการหลุดลอกของสารเทฟลอน ขอเพียงใส่ใจปฏิบัติตามคำแนะนำก็ทำให้เราห่างไกลจากอันตรายของสารเทฟลอนได้แล้วค่ะ บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสาระน่ารู้ แวกซ์ผักผลไม้ ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่ "แป้งฝุ่น" เป็นอันตรายต่อร่างกายจริงเหรอ? “ครีมอาบน้ำ” อันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งจริงหรือ? ผักไฮโดรโปรนิกส์…อันตรายจริงหรือ?