การดูแลรูปร่างและผิวพรรณ January 2, 2015 Share 0 Tweet Pin 0 รู้จักกับเส้นเลือดขอดกันเถอะ เส้นเลือดขอดมักเกิดตามผิวของขาตั้งแต่บริเวณตาตุ่มขี้นไปจนถึงขาหนีบด้านใน พบบ่อยบริเวณน่อง โดยเฉพาะกับผู้ที่ต้องใช้ขารับน้ำหนักตัวมาก คนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ คนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ หรือคนที่ต้องยืนนานๆ เกิดเมื่อถึงวัยชราเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความผิดปกติของหลอดเลือดดำ-แดง ที่ขาอักเสบอุดตัน หรือบางคนโชคไม่ดีอาจมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานไปกดหลอดเลือดดำ เส้นเลือดขอดเกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดดูเหมือนเส้นเลือดโป่งพองเห็นเป็นสีคล้ำเขียว แดง และมีความยาวคดเคี้ยวขยุกขยิก เกิดจากการคั่งของเลือดในเส้นเลือดดำบริเวณขา ที่ปกติจะถูกบีบให้ไหลขึ้นสู่หัวใจโดยอาศัยแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณขาภายในหลอดเลือดดำจะมีลิ้นเล็กๆ อยู่ภายใน คอยกั้นเป็นช่วงๆ ไม่ให้เลือดย้อนกลับไปที่เท้า แต่เมื่อระบบไหลเวียนของเลือดทำงานไม่สะดวก ทำให้หลอดเลือดของขาขยายตัวกว้างขึ้น พลอยดึงให้ลิ้นถ่างออก เมื่อลิ้นไม่อาจปิดได้สนิทเลือดก็ทะลักไหลย้อนลงมาคั่งอยู่ในหลอดเลือดดำของขาบริเวณใกล้ผิวหนังโดยอาการของเส้นเลือดขอดมีตั้งแต่เป็นน้อยๆ ไปจนเรียกว่า ระยะรุนแรง คือผิวหนังบริเวณที่มีเส้นเลือดขอดแตกเป็นแผลอักเสบเรื้อรังมีน้ำเหลือง รักษาหายยาก และอาจมีเลือดออกรุนแรง ทำอย่างไรกับเส้นเลือดขอด หากคุณมีเส้นเลือดขอดก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เพราะหากคุณไม่มีอาการปวดหรือบวมร่วมด้วยก็อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมก็ป้องกันและบรรเทาได้ หรือสำหรับคนที่มีอาการปวดก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นมากจนรักษาไม่ได้ เพราะปัจจุบันเรามีการรักษาแบบไม่ผ่าตัดและผ่าตัดที่เหมาะต่ออาการของแต่ละคน วิธีป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด 1 ถ้าคุณเป็นคนอ้วนควรลดน้ำหนักเป็นอันดับแรกเพื่อลดแรงกดน้ำหนักลงที่เท้าและขา 2 หลีกเลี่ยงการยืน หรือการนั่งเฉยๆ หรือนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อไม่บีบตัวไล่เลือด ในกรณีที่อาชีพการงานบังคับต้องอาศับการออกกำลังกายผ่อนคลายกล้ามเนื้อน่องและขา โดยการเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง หรือการบีบและคลายนิ้วเท้าทุกครึ่งชั่วโมง และพอถึงช่วงที่ได้นั่งพัก ให้ถอดรองเท้าส้นสูงออก นั่งลงบนเก้าอี้ หลังตรงและยกขาขึ้นหนึ่งข้างให้สูงระดับสะโพกและหมุนข้อเท้าเป็นวงกลมไปมา จากนั้นให้งุ้มเท้าชี้ขึ้นและลงทำสลับอีกข้าง 3 หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้ายาวหรือถุงน่องที่รัดเหนือเข่า ซึ่งทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดไหลไม่สะดวก ในกรณีที่จำเป็นต้องสวมถุงเท้าหรือถุงน่อง ควรเลือกเนื้อผ่าที่มีความยืดหยุ่นและเลือกแบบที่ขอบถุงเท้าหรือถุงน่องรัดห่างใต้เข่าประมาณ 2 นิ้ว การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่แพทย์แนะนำเพื่อบรรเทาอาการปวดบวมมากกว่าเรื่องของความสวยงาม ซึ่งในกรณีที่เป็นเส้นเลือดขอดไม่มากสามารถใช้ครีมนวดรักษาหรือบรรเทาได้ แต่กรณีที่มีอาการปวด แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดยาเข้าหลอกเลือดดำที่ขอด เพื่อสลายหลอดเลือดที่แข็งตัวและตีบตันให้ไหลเวียนไปสู่หลอดเลือดอื่นบริเวณรอบๆ ได้ แต่ก็ไม่ใช่วิธีรักษาที่หายขาดภายในครั้งเดียว อาจต้องฉีดซ้ำหลายครั้งหากเป็นมาก และไม่อาจรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยหลังการรักษาจำเป็นต้องสวมผ้ารัดหรือถุงน่องเพื่อบีบให้ผนังหลอดเลือดกระชับจนกว่าบริเวณที่ฉีดยาจะบวมน้อยลง และเวลานอนพักต้องใช้หมอนหนุนยกระดับเข่าให้สูงกว่าสะโพก และปลายเท้าสูงกว่าระดับเข่า การรักษาแบบผ่าตัด เป็นการผ่าตัดในกรณีที่เส้นเลือดขอดเกิดภาวะอุดตันภายในหลอดเลือด และอาจส่งผลอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ โดยแพทย์จะให้ยาชาก่อนการผ่าตัด และใช้เครื่องมือเข้าไปผูกเส้นเลือดขอดที่ขอดแล้วดึงหลอดเลือดดำที่ขอดออกเป็นบางส่วน หรือการผ่าดึงหลอดเลือดดำที่ขอดทั้งเส้น โดยหลังการผ่าตัดจะมีอาการเท้าบวม มีเลือดออกหรือเจ็บแผล และจำเป็นต้องใส่ผ้ารัดหรือถุงน่องพยุงต่อประมาณ 6-8 สัปดาห์ การรักษาเส้นเลือดขอดไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม ไม่สามารถรับประกันว่าจะไม่เกิดเส้นเลือดขอดใหม่ 100% และแพทย์อาจให้การรักษามากกว่า 1 วิธีร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาให้ได้ผลดีมากที่สุด และที่สำคัญหากบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดมีอาการปวดหรือบวม คุณควรไปปรึกษาแพทย์ทันที และทางที่ดีที่สุดคือ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด ถือเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ ซึ่งให้ผลได้ดีที่สุด 100% อย่างแน่นอน บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดี 12 สาเหตุของอาการปวดหลัง ที่ทำไปโดยไม่รู้ตัว อย่าชะล่าใจทำพฤติกรรมให้ “สายตาเสีย” โดยไม่รู้ตัว 10 อาหารที่ควรเลี่ยงไกลๆ ในช่วงอากาศร้อน หลงๆ ลืมๆ ทุกวัน จะใช่ “โรคอัลไซเมอร์” ไหมนะ?
0comments Click here to add a comment Leave a comment: Name * Email * Website Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment. Comment Current ye@r * Leave this field empty