free web tracker, fire_lady ทำความเข้าใจเสียใหม่ “ขี้หู” จำเป็นต้องแคะมั้ย? แล้วแบบไหนอันตรายกว่า • สุขภาพดี

ทำความเข้าใจเสียใหม่ “ขี้หู” จำเป็นต้องแคะมั้ย? แล้วแบบไหนอันตรายกว่า

แคะขี้หู

ขี้หู” เป็นอวัยวะที่สำคัญไม่น้อย เป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสทั้ง 5 หลายๆ คนจึงสงสัยว่า “ขี้หู” จำเป็นจะต้องแคะหรือไม่ หรือร่างกายจะขับออกมาเอง เป็นคำถามที่หลายๆ คนหาคำตอบไม่ได้ วันนี้เราจึงนำคำตอบมาไขข้อข้องใจ เพื่อให้ทุกคนดูแลรักษาให้ถูกต้องจะได้ไม่เกิดความเสียหายรุนแรงเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

วิธีดูแลหูที่ถูกต้อง

นายแพทย์พิสิฏฐ์ สุอาชาวรัตน์ แพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก จาก อาร์เอสยู เฮลท์แคร์ คลินิก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มาแนะนำวิธีการดูแลรักษาหูที่ถูกต้อง ดังนี้

1. ดูแลทำความสะอาด ด้วยการเช็ดรอบๆ ใบหู แต่ห้ามแคะ ปั่น โดยเด็ดขาด

2. ถ้ามีน้ำเข้าหูให้เอียงหูข้างนั้นลง และทำความสะอาดด้วยคอตต้อนบัด เพื่อซับน้ำให้แห้ง

3. โดยธรรมชาติของหูแล้วจะผลิตขี้หูออกมาเพื่อความเหมาะสม อาจจะแห้งหรือเปียกแล้วแต่สภาพร่างกาย แต่ในกรณีที่ขี้หูเปียกมากควรเช็ดทำความสะอาดด้วยไม้ปั่นหูที่มีขนาดเล็ก อย่างเบามือ สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่ถ้ากรณีขี้หูแห้งและแข็ง ควรหยอดน้ำมันมะกอกลงไป 1-2 หยด ทำติดต่อกัน 2-3 วัน จากนั้นทำความสะอาดให้เรียบร้อย ห้ามแคะหูด้วยกิ๊บเสียบผม เพราะอาจเกิดความเสียหายร้ายแรง หรืออาจทำให้แก้วหูทะลุ หรือผนังรูหูเป็นแผลอักเสบ เป็นต้น

4. ในกรณีที่แมลงเข้าหู ให้ใช้น้ำมันมะกอกหยอดทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้แมลงตาย จึงค่อยเขี่ยแมลงออก แต่ถ้าไม่สามารถเอาออกได้ให้ไปพบแพทย์

5. กรณีเป็นหวัด คัดจมูกไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะอาจะทำให้เชื้อโรคดันเข้าอยู่ในช่องยูสเตเชียน ทำให้หูชั้นกลางติดเชื้อ และอาจลุกลามหลายเป็นหูน้ำหนวกได้

6. ควรหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุหรือการกระแทกแรงๆ บริเวณกกหู เช่นการตบบ้องหู เพราะอาจะทำให้แก้วหูฉีกขาด เลือดคั่งในหูชั้นกลาง และอาจทำให้กระดูกหูเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ทำให้ความสามารถในการได้ยินลดลง

7. ควรหลีกเลี่ยงสถานที่อึกทึก เช่น เครื่องจักรในโรงงาน หรือเสียงดนตรีในสถานบันเทิง ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ควรสวมที่ครอบหูและควรทำการเช็คสุขภาพหูทุกปี

8. หมั่นตรวจสุขภาพหูและการได้ยินเสมอๆ เช่น ปวดหู หูอื้อ คันหู หรือหูมีน้ำหนองจนถึงขั้นเลือดไหลออกจากหูรวมถึงการได้ยินลดลง ถ้ามีปัญหาเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็คอาการทันที

ห้ามใช้คอตตอนบัดปั่นหู เพราอะไร?

นพ. ภาสกร วันชัยจิรบุญ อายุแพทย์ได้กล่าวไว้ว่า ทางการแพทย์ไม่แนะนำให้เอาคอตตอนบัดมาปั่นหู รวมถึงสิ่งแปลกปลอมทุกชนิด จะใช้คอตตอนบัดเช็ดกรณีรอบๆ ใบหูเท่านั้น ถ้าปั่นเข้าไปข้างในรูหู ยิ่งปั่น ยิ่งเพลินเหมือนในเนื้อเพลง ก็อาจจะทำให้เป็นแผลได้

คอตตอนบัดก็มีคำเตือน

เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า...คอตตอนบัดที่ธรรมด๊า ธรรมดาก็มีคำเตือนเช่นกัน เว็บไซต์ Indephendent ของอังกฤษ ได้เผยแพร่ว่า G-tip หรือคอตตอนบัดที่ผลิตในอังกฤษมีคำเตือนอยู่ข้างๆ ผลิตภัณฑ์ว่า ห้ามใช้ปั่นข้างในรูหู แต่คนส่วนมากมักจะไม่ค่อยใส่ใจ ชอบทำความสะอาดข้างในรูหูเสมอ จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับหูตามมานอกจากนี้นายแพทย์ Dennis Fitzgerald แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอ หู จมูก ยืนยันอีกเสียงว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาทาวหูส่วนใหญ่เกิดจากการปั่น “คอตตอนบัด” ทั้งนั้น

สรุปข้อห้ามและวิธีใช้คอตตอนบัดให้ถูกต้อง

1. ห้ามชุบแอลกอฮอล์ น้ำเกลือ หรือของเหลวอื่นๆ แล้วนำมาปั่นรูหูเด็ดขาด เพราะอาจทำให้รูหูแห้งจนเกินไป และถ้าของเหลวเหล่านั้นไหลเข้าไปในหูจะเกิดการระคายเคือง อักเสบ อาการหนักอาจจะเป็นโรคหูน้ำหนวก

2. ใช้คอนตอนบัดเช็ดบริเวณใบหูเท่านั้น ถ้าชอบมีน้ำไหลเข้าหูทุกครั้งที่สระผม ก็ควรใช้สำลีอุดหูก่อนสระผมทุกครั้ง

3. ห้ามใช้คอตตอนบัดปั่นหูเมื่อมีน้ำเข้าหู แต่ให้เอียงหูและกระโดดเบาๆ เพื่อให้น้ำไหลออกมาเอง

4. หากมีอาการหูอื้อเพราะน้ำเข้าหูเป็นเวลานาน หรือรู้สึกผิดปกติอื่นๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที ห้ามนำสิ่งแปลกปลอมแหย่เข้าไปในหู เพื่อเช็ดหรือปั่น

หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างที่บอกไปนะคะ อย่าปั่นเพลินเพราะความมัน เพราะอาจนำมาซึ่งความเสียหาย ทางที่ดีต้องแชร์และแบ่งปันเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ รู้ เพราะหลายๆ คนยังเข้าใจผิด ปั่นหูเป็นว่าเล่น รักใคร หวงใคร รีบแชร์ไปด่วนๆ ได้เลย

ที่มา: https://www.saradd.com/7845-content/

https://www.detsood.com/4029-content/

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องน่ารู้...คู่สุขภาพดี