คลินิกสุขภาพจิต ไขปัญหาสุขภาพ February 9, 2018 Share 23 Tweet Pin 0 ประโยชน์และโทษของ “น้ำตาลเทียม” ดีต่อสุขภาพจริงหรือ?อาหารไทย ไม่ว่าจะอาหารคาว อาหารหวานรวมทั้งของกินเล่นต่างๆ มักมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ อาจจะเพราะรสหวานช่วยปรุงแต่งรสให้อร่อยน่ารับประทานมากขึ้น ในปัจจุบันนอกจากอาหารไทยแล้ว อาหารฝรั่งทั้งหลายมีน้ำตาลอยู่ในปริมาณมาก หลายๆ คนชอบอาหารหวานๆ จนติดรสหวานไปเลยก็มี ทำให้บางคนและบรรดาผู้รักสุขภาพทั้งหลายหันมามองวัตถุให้ความทดแทนน้ำตาลหรือ “น้ำตาลเทียม” กันมากขึ้น ว่าแต่น้ำตาลเทียมหน้าตาเป็นอย่างไร ดีกว่าน้ำตาลปกติจริงๆ หรือเปล่า วันนี้เรานำข้อมูลดีๆ ทั้งประโยชน์และโทษของตาลเทียมแต่ละชนิดมาฝากค่ะ น้ำตาลเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์น้ำตาลเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ (Artificial sweetening agent) คือสารที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล หรือสารให้ความหวานเทียมนั่นเองน้ำตาลเทียมทำมาจาก?น้ำตาลเทียมจัดเป็นวัตถุที่ใช้เจือปนอาหาร มีคุณสมบัติหลักๆ คือรสชาติหวานใกล้เคียงน้ำตาลจนสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลได้นั่นเอง น้ำตาลเทียมหรือสารให้ความหวานเทียมนี้โดยปกติสามารถจัดกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่มคือ1. สารที่ให้ความหวานจากธรรมชาติ ซึ่งกลุ่มนี้มักจะสกัดมาจากพืชบางชนิดโดยอาจจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลตั้งแต่ 50 เท่าจนไปถึง 2000-3000 เท่าเลยทีเดียว พืชที่สามารถนำมาสกัดน้ำตาลเทียมได้เช่น หญ้าหวาน ชะเอม เป็นต้น น้ำตาลเทียมจากธรรมชาติส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้รับประทานได้อย่างปลอดภัยเนื่องจากมีสารเคมีเจือปนอยู่น้อยมากๆ แต่มีข้อจำกัดคืองานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์และโทษยังมีน้อยมาก ทำให้หลายคนไม่มั่นใจหากจะนำใช้ รวมทั้งยังมีราคาค่อนข้างสูงเพราะประเทศไทยปลูกพืชพวกนี้ได้ไม่ดีมากเท่าไร ต้องนำเข้า จึงทำให้ราคาค่อนข้างสูงนั่นเอง2. สารสังเคราะห์ที่ให้รสหวาน สารกลุ่มนี้มีหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะให้ความหวานมากน้อยแตกต่างกันไป โดยมีตั้งแต่หวานน้อยกว่าน้ำตาลจนหวานมากกว่าถึง 700 เท่า และเนื่องจากน้ำตาลเทียมไม่มีพลังงาน ไม่ทำให้ฟันผุ จึงมีความพยายามที่จะนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลซึ่งมีการปรับเปลี่ยนชนิดน้ำตาลเทียมมาเรื่อยๆเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด ในที่นี่เราจะพูดถึงน้ำตาลเทียม 5 ชนิดที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักดังนี้2.1 ไซคลาเมตไซคลาเมต มีลักษณะเป็นผงสีขาว รสหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 30 เท่า นิยมใช้ประกอบอาหารในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้รับความนิยมมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เนื่องจากยุคสงครามน้ำตาลจะขาดแคลนมาก ไซคลาเมตหวานกว่าน้ำตาลไม่มาก จึงไม่หวานเอียนหรือหวานจนขม แต่ช่วงหลังปี 2500 เป็นต้นมาเริ่มเสื่อมความนิยมลงเนื่องจากมีงานวิจัยพบว่าไซคลาเมตอาจจะเป็น ต้นเหตุการเกิดโรคมะเร็งได้ ปัจจุบันประเทศไทยสั่งระงับการใช้ไซตลาเมตในการผลิตสิค้าต่างๆ รวมทั้งห้ามผลิตและห้ามนำเข้าด้วยเช่นกัน2.2 ขัณฑสกรขัณฑสกร หรือที่หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อว่า ดีน้ำตาล มีลักษณะเป็นผลึกเล็กๆ สีขาว ขัณฑสกรหวานกว่าน้ำตาล 300-700 เท่า มีรสหวานมากจนติดลิ้นหรือรู้สึกขมหากใช้ในปริมาณมาก สำหรับความปลอดภัยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่จากการทดลองในหนูทดลองพบว่าขัณฑสกรสามารถก่อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ สำหรับในประเทศไทยสั่งห้ามใช้สารชนิดนี้ใส่ในเครื่องดื่ม แต่ก็ยังมีการใช้ขัณฑสกรในอาหารอย่างอื่นๆ อยู่2.3 ดี-ซอลบิทอลดี-ซอลบิทอล ลักษณะเป็นผงสีขาว รสหวานน้อยกว่าน้ำตาลประมาณ 2/3 รสเย็นเล็กน้อยปัจจุบันยังไม่พบอันตราย นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์จำพวกดูแลช่องปาก เครื่องสำอางค์และยารักษาโรค2.4 เเอสปาเตมเเอสปาเตม เป็นผลึกสีขาว รสหวานกว่าน้ำตาลประมาณ 200 เท่า แตกต่างจากน้ำตาลเทียมชนิดอื่นคือแอสปาเตมให้สารอาหารซึ่งก็คือกรดอะมิโน 2 ชนิดและมีพลังงานเทียบเท่ากับน้ำตาล แต่เนื่องจากแอสปาเตมมีรสหวานกว่าน้ำตาลมาก เมื่อนำมาใช้จึงใช้ปริมาณน้อยกว่ามาก จึงมักนำมาเพิ่มรสหวานให้กับอาหารพลังงานต่ำต่างๆแอสปาเตมมีรสหวานคล้ายกับน้ำตาลมากเมื่อเทียบกับน้ำตาลเทียมชนิดอื่น สามารถย่อยสลายได้และสลายตัวได้ง่ายหากโดนความร้อนสูง ปัจจุบันนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเช่น ขนม ลูกอม น้ำอัดลม เยลลี่ เป็นต้น แอสปาเตมผ่านการทดสอบมามากมายพบว่าหากใช้ในปริมาณที่กำหนดจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค ยกเว้นก็แต่ผู้ป่วยโรคเฟนิลคีโตนูเรียเพราะแอสปาเตมมีเฟนิลอะลานิลเป็นส่วนประกอบ และผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถกำจัดสารนี้ออกจากร่างกายได้2.5 เอซซัลเฟม เคเอซซัลเฟม เค น้ำตาลเทียมชนิดนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักหรือนิยมใช้กันมากนักเพราะเพิ่งค้นพบได้ไม่นาน เอซซัลเฟม เค หวานกว่าน้ำตาล 200 เท่า ผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภคเช่นกัน ปัจจุบันมีการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกันกับเอสปาเตมประโยชน์ของน้ำตาลเทียม1. พลังงานต่ำหรือไม่มีเลย จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งยังเหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจอีกด้วย2. ใช้ปรุงรสอาหารสำหรับคนที่อ้วนหรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก ซึ่งอาจจะยังติดรสหวานอยู่ หากทานน้ำตาลจริงๆ ซึ่งให้พลังงานสูง กาควบคุมน้ำหนักอาจจะไม่เป็นผลสำเร็จ น้ำตาลเทียมจึงเหมาะสมที่จะใช้ทดแทนน้ำตาลนั่นเอง3. น้ำตาลเทียมบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งแบคทีเรียในช่องปาก ไม่ทำให้ฟันผุเหมือนน้ำตาลปกติ จึงมีการนำมาผสมกับผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก เช่น ดี-ซอลบิทอล เป็นต้นอันตราย-โทษของน้ำตาลเทียมอันตรายหรือโทษของน้ำตาลเทียมแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน หากเป็นไซคลาเมตและขัณฑสกรจากงานวิจัยคือมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ควรหลีกเลี่ยงเพราะถึงแม้จะสั่งห้ามใช้แล้วแต่ก็ยังพบว่ามีการใช้ในขั้นตอนการผลิตอยู่เรื่อยๆ ส่วนน้ำตาลเทียม 4 ประเภทหลังจากการวิจัยและตรวจสอบมานับครั้งไม่ถ้วน หากใช้ในปริมาณที่กำหนดจะไม่ก่อให้เกิดโทษแก่ผู้บริโภค ดังนั้นก่อนจะซื้ออาหาร เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ใดๆควรอ่านฉลากให้ถ้วนถี่ทุกครั้งก่อนซื้อ ถ้าหากจะใช้เองให้ใช้ในปริมาณเล็กน้อยหรือใช้น้ำตาลเทียมที่สกัดจากธรรมชาติอย่างหญ้าหวานจะดีต่อสุขภาพมากกว่าไม่ว่าจะยุคสมัยไหนๆ รสหวานยังเป็นรสที่ผู้คนชื่นชอบอยู่เสมอ บางคนติดรสหวานมากจนเป็นโรคอ้วนหรือฟันผุ การนำน้ำตาลตาลเทียมมาใช้ก็เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวคือ ลดพลังงานลงทำให้เป็นโรคอ้วนน้อยลงและมีพลอยได้คือฟันผุน้อยลงด้วยนั่นเอง อย่างไรก็ตามน้ำตาลเทียมสังเคราะห์ก็คือสารที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ว่ามีการวิจัยและตรวจสอบมาแล้วมากมายว่าปลอดภัย แต่ทางที่ดีควรใช้เล็กน้อยดีที่สุดหรือใช้สารให้ความหวานทดแทนจากธรรมชาติจะดีกว่า หากใครต้องการลดอาการติดหวานจริงๆ ควรลดที่ต้นเหตุคือ ค่อยๆ ลดปริมาณน้ำตาลในอาหารลงทีละน้อยๆ สุดท้ายลิ้นจะคุ้นชินกับรสชาติอาหารที่ไม่หวานจัด จะส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวค่ะ