free web tracker, fire_lady ปวดประจำเดือน แก้ได้อย่างไร • สุขภาพดี

ปวดประจำเดือน แก้ได้อย่างไร

เกิดเป็นหญิงแท้นั้นแสนลำบาก หนึ่งในแสนเรื่องลำบากนั่นคือการมีประจำเดือนและต้องทนทุกข์ทรมานกับ อาการปวดประจำเดือน หากสาวๆคนใดมีปัญหาปวดประจำเดือนและไม่รู้แก้อาการปวดอย่างไร สุขภาพดีมีคำตอบค่ะ

​เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประจำเดือน

  • โดยเฉลี่ยผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปี 7 เดือนขึ้นไปจะเริ่มมีประจำเดือน ซึ่งบางคนอาจจะมาเร็วหรือช้ากว่าอายุเฉลี่ย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนร่างกายและพฤติกรรมการกินด้วย ปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มมีประจำเดือนเร็วกว่าปกติ เพราะการได้รับปริมาณฮอร์โมนจากการทานเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดง สารเร่งให้โตไว
  • ​ในช่วง 1-2 ปีแรกของการมีประจำเดือน ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอเพราะรังไข่ยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอทุกเดือน
  • ประจำเดือนเป็นเลือดที่เกิดจากการฝ่อของไข่ที่ผลิตจากรังไข่ โดยตกมาทุกเดือนและอยู่ในโพรงมดลูกเป็นเวลาประมาณ 28 วัน ในระหว่างนี้หากไม่มีการปฎิสนธิก็จะถูกขับออกมาเป็นเลือดหรือประจำเดือนนั่นเอง
  • อาการปวดประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน โดยจะปวดในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน และหายไปเมื่อประจำเดือนน้อยลงหรือใกล้หมด ซึ่งอาการปวดจะเกิดกับในวัยเจริญพันธ์ หรือระยะ 2-3 ปีแรกของการมีประจำเดือน
  • โดยปกติประจำเดือนจะมา 3-7 วัน มีปริมาณประจำเดือนเฉลี่ยวันละ 80 ซีซี การใช้ผ้าอนามัยเฉลี่ย 3-5 ชิ้นต่อวัน ลักษณะของประจำเดือนเป็นได้ทั้งก้อนและน้ำ แต่หากออกมาเป็นก้อนเลือดมากๆ หรือเลือดมาแบบกระปริกระปรอย อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างของระบบภายในของร่างกาย ควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์

สาเหตุของการปวดประจำเดือน

ร้อยละ 70% ของผู้หญิงจะมีอาการปวดประจำเดือนในวันแรกของการมีประจำเดือน โดยสาเหตุเกิดจากการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ที่ไปกระตุ้นการหดบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก เพื่อขับเลือดออกมา จึงทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนซึ่งการบีบรัดของกล้ามเนื้อมากน้อย เป็นผลให้อาการปวดประจำเดือน ปวดมาก ปวดน้อยต่างกัน อาการปวดโดยปกติจะหายภายใน 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน แต่หากมีอาการปวดท้องหลายวันก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือมีอาการปวดมากจนต้องทานยาแก้ปวดประจำๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในกล้ามเนื้อมดลูก หรือปีกมดลูกอักเสบ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ทำการตรวจเช็คให้แน่ใจว่าอาการผิดปกติ มีความเสี่ยง หรืออันตรายหรือไม่ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอาจสายเกินแก้

วิธีแก้ปวดประจำเดือน

1 ทานยาพาราเพื่อระงับอาการปวด แต่ไม่แนะนำให้ทานเป็นประจำ ทานก็ต่อเมื่อรู้สึกปวดมากๆ จนทนไม่ไหว และหาวิธีการรักษาทางอื่น

2 ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อย เพื่อข่วยให้การไหลเวียนของเลือด ทำงานได้ดี ช่วยให้รู้สึกสบาย บรรเทาอาการปวด

​3 อาบน้ำอุ่น และสวมใส่เสื้อผ้าให้ความอบอุ่นร่างกาย ปรับอุณภูมิในร่างกายให้เกิดภาวะสมดุล

​4 นอนขดตัวเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ และควรหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

​5 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะเป็นการช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง ระหว่างการออกกำลังกายจะมีการหลั่งสารแอนโดรฟินที่ช่วยคลายความเครียด ลดเจ็บปวดได้อีกด้วย ท่าโยคะบางท่าสามารถลดปวดประจำเดือนได้ เป็นการช่วยบริหารระบบภายในของผู้หญิง ช่วยเพิ่มความแข็งแรง แก้ปัญหาปวดประจำเดือนอย่างได้ผลถาวร แบบไม่ง้อยาแก้ปวดเลยทีเดียว

​6 เลือกทานอาหารที่ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่เพิ่มอาการปวดประจำเดือน ได้แก่

  • งดทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า
  • การดื่มน้ำอุ่น นมอุ่น หรือเครื่องดื่มอุ่นๆ งดทานน้ำแข็ง ของเย็นๆ
  • ทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการลดอาการปวดประจำเดือนได้ เช่น อีฟนิ่งพรีมโรส, ดอกคาร์โมไมล์, เซนต์จอห์นเวิร์ต, ตังกุย, แบล็คโคโฮส
  • ควรเลือกทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยบำรุงเลือด และระบบไหลเวียนของเลือด เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล
  • ทานผักสีเขียวเข้ม เพราะธาตุแมกนีเซียมในใบผักสีเขียวสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก ลดอาการปวดประจำเดือนได้
  • ทานเต้าหู้ ถั่วอัลมอนด์ ถั่วลิสง ธัญพืชไม่ขัดสี กล้วย นม และโยเกริ์ต ที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้เช่นกัน แถมอร่อย ทานง่ายอีกด้วย

สำหรับการทานอาหารที่ดี มีคุณภาพ นอกจากเป็นประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงแก่ระบบสืบพันธุ์ภายในของสาวๆ...ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน...ช่วยลดความเสี่ยงโรคร้าย โรคอันตรายของผู้หญิ๊ง ผู้หญิง อีกด้วย ..เดือนต่อๆ ไปก็จะได้หายห่วงเรื่องปวดประจำเดือน กันนะค่ะ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาประจำเดือน

Click here to add a comment

Leave a comment: