เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ August 23, 2018 Share 2 Tweet Pin 0 “ยาจุดกันยุง” ประโยชน์-โทษที่ต้องระวัง สูดควันเยอะอันตราย!!เมื่อฤดูฝนเริ่มต้นขึ้น โรคหนึ่งที่มักมาพร้อมกับฤดูฝนคือ “โรคไข้เลือดออก” นั่นเอง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายไม่น้อย เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว หากรู้ไม่เท่าทัน จริงๆ แล้วโรคไข้เลือดออกนั้นพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะแพร่ระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน เพราะยุงมีที่วางไข่เยอะ แพร่พันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อยุงกลายมาเป็นศัตรูตัวร้าย เราก็ต้องมาหาวิธีกำจัดยุงซึ่งมีหลายวิธี วิธีหนึ่งที่หลายๆ คนนิยมคือ การใช้ยากันยุงชนิดจุดไฟ แต่นอกจากประโยชน์ในการกำจัดยุงแล้วก็มีโทษแฝงตัวมาด้วย บทความนี้จะมีคำตอบดีๆ ให้คุณว่าควรใช้ "ยาจุดกันยุง" อย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด ยาจุดกันยุง คือ?ยาจุดกันยุง (Mosquito coil) เป็นยากันยุงที่ใช้จุดให้เกิดควันเพื่อไล่หรือฆ่ายุง มี 2 แบบคือ แบบแท่งและแบบขดเป็นวงกลม แต่ส่วนใหญ่คนนิยมใช้ชนิดขดมากกว่า ยากันยุงจะมีสารเคมีบางชนิดที่ใช้ไล่ยุงโดยเฉพาะ ในปัจจุบันมีการเพิ่มสี น้ำหอม รวมไปถึงส่วนผสมทางธรรมชาติบางอย่าง เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม ลงไปเพื่อปรับแต่งกลิ่นให้หอมขึ้นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการไล่ยุงประโยชน์ของยากันยุงยากันยุง เมื่อจุดแล้วจะมีควันที่มีสารระเหยชนิดหนึ่งคือ สารไพรีทรอยด์ ( Pyrethroids) สารนี้เป็นพิษต่อยุงรวมถึงแมลงชนิดอื่นๆ บางชนิด เมื่อยุงได้รับสารพิษนี้ในปริมาณมาก จะทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง เป็นอัมพาตและตายในที่สุดสารไพรีทรอยด์คืออะไรสารไพรีทรอยด์เป็นส่วนผสมหลักในยากันยุง มีกลไกการออกฤทธิ์คือทำลายระบบประสาทของแมลง จึงทำให้ยุงเป็นอัมพาตและตกลงมาตาย สารนี้เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาเลียนแบบสารไพรีทรินที่พบในดอกเบญจมาศ สารไพรีทรินก็มีฤทธิ์กำจัดยุงและแมลงเช่นเดียวกัน รวมทั้งยังเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์อีกด้วยแต่เนื่องจากสารไพรีทรินนั้นสลายตัวได้ง่าย มีต้นทุนในการสกัดสูงจึงต้องมีการสังเคราะห์สารไพรีทรอยด์ขึ้นมาทดแทน การนำมาใช้งานคล้ายคลึงกัน สำหรับแมลงสารนี้มีความเป็นพิษอย่างรุนแรง แต่กับคนหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะถูกขับออกมาโดยไตและไม่สะสมในร่างกาย ถ้าหากสารนี้ออกสู่สภาพแวดล้อม ก็จะเสื่อมสลายอย่างรวดเร็วโทษของยากันยุงยาจุดกันยุง เป็นยากันยุงชนิดที่มีสารพิษอันตรายน้อยกว่ายากันยุงในกลุ่มอื่นๆ โดยทั่วไปแล้วหากใช้ในขนาดปกติและใช้อย่างถูกวิธี มักจะไม่เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย เว้นแต่ว่าจุดยากันยุงในพื้นที่อับและไม่ระบายอากาศ จนต้องสูดดมควันติดกันเป็นเวลานานๆ ถ้าได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายในปริมาณสูงมาก ก็จะทำให้อ่อนเพลีย มึนงง อาเจียน ปวดศีรษะ ชักและหมดสติได้ นอกจากนี้ยังมีการเกิดพิษแบบอื่นๆ ซึ่งก็คือการแพ้ยากันยุง จะมีอาการคล้ายกับแพ้เกสรดอกไม้ คือ ไอ จาม หายใจติดขัด น้ำมูกไหล อาการอื่นๆ เช่น ผิวหนังบวมแดง มีผื่นคัน เป็นต้น ปกติแล้วการแพ้ยาจุดกันยุงไม่พบการแพ้บ่อยมากนัก แต่ว่าใครที่มีประวัติแพ้อะไรง่ายควรระมัดระวังเวลาใช้งานใช้ยากันยุงอย่างไรให้ปลอดภัยมากที่สุดจุดยากันยุงในที่โล่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเวลาจุดต้องใช้ขาตั้งและภาชนะรองที่เป็นวัสดุไม่ติดไฟทุกครั้งเมื่อจุดแล้ว ต้องวางยากันยุงในทิศทางเหนือลมห้ามรับประทานโดยเด็ดขาดล้างมือทุกครั้งหลังหยิบจับยากันยุงหลังหยิบจับหรือจุดยากันยุง หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีผื่นคัน หายใจไม่สะดวก ให้รีบดับยากันยุง หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ไม่ควรใช้ยากันยุง ถ้าหากมีเด็ก สตรีมีครรภ์และสตรีที่กำลังให้นมอาศัยอยู่ไม่ควรใช้ในขณะรับประทานอาหารเก็บไว้ในที่มิดชิด พ้นจากแสงแดด ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยงไม่วางรวมหรือวางใกล้กับอาหารจุดยากันยุงแล้ววางให้ห่างจากวัตถุไวไฟ หรือของที่ติดไฟได้ง่ายเมื่อหยุดใช้งานต้องตรวจเช็คให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้วสรุปได้ว่า หากใช้อยากถูกต้องเหมาะสม ยาจุดกันยุงจะไม่ก่อให้เกิดโทษใดๆ ยกเว้นแต่ว่าผู้ใช้นั้นแพ้ยากันยุงหรือใช้แบบผิดวิธี ดังนั้นไม่ต้องตื่นตระหนกจนเกินไป ถ้าหากใครกลัวก็ลองเปลี่ยนมาใช้ยากันยุงแบบธรรมชาติๆ เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม ดอกเบญจมาศ เอาไปตากแดดให้แห้งแล้วจุดไฟ ก็ได้ยากันยุงที่ปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่าค่ะ