อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว September 23, 2018 Share 4 Tweet Pin 0 “โรคภูมิแพ้ผิวหนัง” ยิ่งคันเท่าไร ยิ่งไม่ควรเกาคนไทยในปัจจุบันพบว่ามีอาการป่วยด้วยโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น เช่น ภูมิแพ้อากาศ มีอาการแพ้เนื่องจากสภาพอากาศหรือมลภาวะในอากาศ นอกจากนี้ยังมีภูมิแพ้อีกชนิดหนึ่งที่เราควรรู้จักนั่นคือ “ภูมิแพ้ผิวหนัง” ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยอาการของภูมิแพ้ผิวหนังจะมีผื่นแดงคันเป็นสะเก็ด ผิวแห้ง และผิวแพ้ระคายเคืองได้ง่าย โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คือ?“ภูมิแพ้ผิวหนัง” (Atopic Dermatitis) เป็นปัญหาผิวเรื้อรังที่พบได้ทั้งบริเวณใบหน้าและลำตัว ผิวจะแสดงอาการแห้ง อักเสบ แดง คันและระคายเคืองออกมา โดยปกติแล้วมักจะเกิดมากในเด็กโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดได้น้อยลง อาการแพ้ที่เกิดขึ้นมักจะพบมากในบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าผาก รอบดวงตา หลังหู แก้ม และขยายไปตามลำตัวสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค ดังนี้1. พันธุกรรม การที่มีพ่อแม่ป่วยเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนังด้วยมีมากถึง 60 – 80 %2. อากาศและมลภาวะ นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังได้ เพราะมลภาวะและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ โดยเฉพาะอากาศเย็นจะทำให้ผื่นภูมิแพ้กำเริบได้ดี3. เพศ อาการผื่นภูมิแพ้มักจะเกิดได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย4. แม่ที่ตั้งครรภ์ เมื่อมีอายุมาก มีโอกาสที่ลูกจะมีปัญหาภูมิแพ้ผิวหนังได้สูงนอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนังได้อีก คือ1. ผิวขาดสารให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ (NMFs)2. ชั้นปกป้องผิวอ่อนแอเนื่องมาจากการขาดไขมันที่จำเป็นในผิว เช่น Ceramide และ free fatty acid3. เชื้อแบคทีเรียแพร่เข้าสู่ผิวได้ง่าย 4. ปัจจัยภายนอกอื่นๆ เช่น มลภาวะ สารระคายเคือง สาเหตุต่างๆ ทั้งหมดส่งผลให้ผิวเกิดการอักเสบ มีอาการคันตามมา เมื่อคันเราก็จะเกาจะยิ่งทำให้ชั้นปกป้องผิวอ่อนแอมากขึ้น เชื้อแบคทีเรียแพร่เข้าสู่ผิวได้มากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงและคันมากขึ้น วงจรนี้เรียกว่า “วงจรผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง”ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผื่นภูมิแพ้กำเริบหนักขึ้น ได้แก่1. อาหารและเครื่องดื่มบางชนิด เช่น นมวัว ถั่ว แอลกอฮอล์2. สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้3. สารเคมี4. ผงซักฟอก5. ความเครียด6. การพักผ่อนไม่เพียงพอ7. เหงื่อ8. ควันบุหรี่อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังโดยทั่วไปแล้วภูมิแพ้ผิวหนังจะปรากฏอาการ คือ มีผื่นแดง ผิวแห้งเป็นขุย มีอาการคันยุบยิบ หากเป็นเรื้อรังผิวหนังจะหนาและมีรอยคล้ำ จะมีอาการคันมากขึ้นเมื่อเหงื่อออก ยิ่งเกาจะยิ่งคัน ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ แก้ม คอ ข้อพับแขนและขา ส่วนในเด็กมักพบบริเวณใบหน้าและศีรษะ คนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักพบว่าจะแพ้แมลง ยุง และมดด้วย จะทำให้มีอาการได้ง่ายและมีอาการนานกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้อาจมีอาการแพ้จากการที่ผิวหนังไปสัมผัสกับสารบางชนิด เช่น ยาย้อมผม และโลหะภาวะแทรกซ้อนของโรคภูมิแพ้ผิวหนังคนที่ป่วยเป็นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะมีผิวแห้ง มีอาการคันได้ง่าย จึงมักเกาบริเวณที่คันจนเป็นแผล ซึ่งทำให้ผิวหนังติดเชื้อได้ง่าย หากติดเชื้อแบคทีเรียจะเกิดเป็นตุ่มหนอง แต่หากติดเชื้อไวรัสจะเป็นหูด ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกันการรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังโดยทั่วไปแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังและครอบครัวจะสามารถรักษาโรคนี้ได้ด้วยตนเอง เพราะการรักษาตนเองให้ดีจะเป็นป้องกันการกำเริบของโรคได้ดี ซึ่งมีวิธีการดังนี้1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง เช่น ผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนังควรอาบน้ำวันละครั้ง ไม่เช่นนั้นผิวจะแห้งและเกิดอาการคันได้มากขึ้น ไม่ควรใช้น้ำร้อนและใช้น้ำให้น้อยที่สุด ใช้สบู่อ่อนๆ ฟอกเฉพาะรักแร้ คอ และขาหนีบเท่านั้น2. หลังอาบน้ำควรปล่อยให้ตัวแห้ง หรือใช้ผ้าแห้งซับเบาๆ ห้ามขัดหรือถูโดยเด็ดขาด3. ควรตัดเล็บให้สั้น4. ไม่ควรใช้ผ้าขนสัตว์ เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ และไม่ควรใช้ผ้าเนื้อหยาบ5. ปรับอุณหภูมิรอบตัวให้พอเหมาะ ไม่ควรอยู่ในที่ร้อนหรือหนาวเกินไป6. เวลานอนควรจะเปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลม เพราะเหงื่อจะทำให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง7. ลดการกระทบกระเทือนทางอารมณ์8. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น นม ขนมปัง และอาหารทะเล9. หลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม penicillin, sulfonamides10. ไม่ควรปลูกฝีขณะมีผื่น และไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคอีสุกอีใส11. หลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้น แต่ทั้งนี้ครีมหรือยาทาจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารกันเสียและน้ำหอมเด็ดขาด12. ใช้ยาทา steroid ช่วยลดการอักเสบได้เร็วและป้องกันการกำเริบ แต่ข้อเสียคือ หากใช้ไปนาน ๆจะทำให้ผิวบาง เส้นเลือดฝอยแตก และติดเชื้อได้ง่าย โดยใช้ steroid อ่อนๆ ทาวันละ 3 ครั้ง13. ใช้ยาที่เป็น ointment ทาโดยเฉพาะในช่วงสภาพอากาศที่แห้ง14. ใช้ยา Immunomodulators เป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพเหมือนยาทา steroid แต่ผลข้างเคียงน้อยกว่า ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิด คือ Tacrolimus และ Pimecrolimus แต่มีคำเตือนว่าอาจจะเกิดมะเร็งได้ ดังนั้นการใช้ยาควารจะมีการใช้ตามข้อบ่งชี้15. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และตัวกระตุ้น เป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วย เพราะทำให้ผื่นดีขึ้นและสามารถควบคุมอาการได้ สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยคือ นมวัว ไข่ขาว ถั่ว ไรฝุ่น ขนสัตว์ และความเครียด เป็นต้น16. ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียให้ยาปฏิชีวนะ เช่น erythromycin, dicloxacillin ยาแก้แพ้ได้แก่ chlorphenilamine, hydroxyzine cetirizine loratadineสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง เมื่อรู้ตนเองหรือสงสัยว่าตนเองจะเป็นภูมิแพ้ผิวหนัง สิ่งที่ควรทำนอกจากการดูแลรักษาตนเองตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น คือ การหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่อาจทำให้อาการภูมิแพ้นั้นแย่ลงหรือกำเริบหนักขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่อากาศเปลี่ยนแปลงมากๆ เช่น ร้อนจัด หนาวจัด แห้งจัด รวมไปถึงการอาบน้ำร้อนมากหรือเปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจัดด้วย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ก็ต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมยาให้พร้อม เพราะมีโอกาสที่ภูมิแพ้ผิวหนังจะกำเริบสูง2. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว พยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ว่าเป็นสูตรอ่อนโยนเหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย ปราศจากน้ำหอม เพราะน้ำหอมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการแพ้ที่พบได้บ่อย3. หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบๆ ผ้าขนสัตว์ และผ้าใยสังเคราะห์ เพราะเวลาเกิดการเสียดสีกับผิวหนังจะทำให้เกิดการระคายเคืองและคันได้ รวมไปถึงการสวมใส่ชุดผ้าใยสังเคราะห์รัดๆ ก็จะทำให้คันได้ควรใช้ผ้าฝ้ายที่ตัดเย็บโปร่งสบายจะดีกว่า4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่น เช่น บริเวณที่กำลังมีการก่อสร้าง หากหลีกเลี่ยงไม่จริงๆ ก็ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันให้มิดชิด เพื่อป้องกันการสัมผัสกับฝุ่นละอองโดยตรง5. หลีกเลี่ยงละอองเกสรดอกไม้ เช่น งดการชมสวนดอกไม้6. หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล และอารมณ์หงุดหงิด7. พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ผื่นกำเริบได้8. หลีกเลี่ยงการเกาเวลาที่รู้สึกคัน เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่นได้ นอกจากนี้การเกายังเป็นการกระตุ้นวงจรการอักเสบให้มากขึ้น9. หลีกเลี่ยงการรับประทานนม ไข่ ถั่ว และอาหารทะเล โดยผู้เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการแพ้อาหารเหล่านี้10. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการฟอกสบู่มากๆ ในบริเวณผิวที่แห้งคันบ่อย เช่น แขน ขา ถ้าไม่มีกิจกรรมอะไรที่สกปรกเลอะเทอะก็ไม่จำเป็นต้องฟอกสบู่ ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดก็พอ ฟอกสบู่เป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีนี้ทำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว ไม่ให้ผิวแห้ง คัน และระคายเคือง11. หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองจากการสัมผัสคลอรีนได้ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็สามารถป้องกันได้โดยการใช้ครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหลังอาบน้ำล้างตัว"โรคภูมิแพ้ผิวหนัง" แม้ไม่ใช่โรคที่รุนแรงอะไร แต่ผลที่เกิดขึ้นจะสามารถมองเห็นได้ชัด เพราะอยู่ที่ผิวหนังของเราเอง จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำ เพราะไม่เช่นนั้นจากอาการที่ไม่รุนแรงจะกลายเป็นรุนแรง ที่สำคัญยังอาจทำลายผิวที่เคยสุขภาพดีของเราให้พังลงในพริบตา