เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ May 30, 2018 Share 7 Tweet Pin 0 ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ต่างกันอย่างไร?หากพูดถึง "ไขมัน" ความรู้สึกแรกที่ได้ยิน ก็คงไม่ค่อยจะปลื้มกับมันสักเท่าไหร่..ต่อให้จะเป็นไขมันชนิดไหน จำเป็นหรือมีประโยชน์ต่อร่างกายหรือไม่? แต่ช้าก่อน...จะดีกว่าไหม ถ้าเราได้รู้จักและป้องกันไขมันร้ายที่หากมีมากไป อาจเป็นโทษมากกว่าประโยชน์ ซึ่งไขมันที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือ ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอล ที่เราต่างคุ้นหูกันดี แต่ยังแยกไม่ออกว่า ไตรกลีเซอไรด์ กับ คอเลสเตอรอลต่างกันอย่างไร? พร้อมแล้ว ไปรับทราบคำตอบพร้อมๆ กันเลย ไตรกลีเซอไรด์คือ?"ไตรกลีเซอไรด์" คือไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เองโดยการสังเคราะห์จากตับ มีขนาดเล็กและเบาบางมาก ไตรกลีเซอไรด์สามารถรับเข้ามาจากภายนอกได้โดยการทานอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน โดยปกติแล้วไตรกลีเซอรด์จะถูกร่างกายกำจัดออกไปในเวลาไม่นานหลังจากทานอาหาร ถ้าหากเจาะเลือดตรวจแล้วพบว่าค่าไตรกลีเซอไรด์สูงถึงแม้ว่าจะงดอาหารก่อนเจาะเลือด 8-12 ชั่วโมง อาจหมายความได้ว่าร่างกายกำลังมีปัญหาในการกำจัดไตรกลีเซอไรด์ค่าไตรกลีเซอไรด์ที่ปกติควรอยู่ระหว่าง 50-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถ้ามากว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปถือว่าสูงเกินมาตรฐาน ควรพบแพทย์เพื่อติดตามผลและหาวิธีแนวทางในการควบคุมอย่างเหมาะสม หากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่มากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน เลือดเหนียวข้นเป็นลิ่ม ทำให้ไขมันเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดง เส้นเลือดจะแข็ง เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดคอเลสเตอรอลคือ?"คอเลสเตอรอล" ก็เป็นไขมันอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยไขมัน 2 ชนิดคือ1. คอเลสเตอรอลเลว (Low density lipoprotein : LDL) หรือที่เรียกว่าไขมันเลว2. คอเลสเตอรอลดี (High density lipoprotein : HLD) หรือที่เรียกว่าไขมันดีคอเลสเตอรอลจะพบได้มากในไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ในน้ำมันพืช พบได้น้อยกว่ายกเว้น น้ำมันปาล์มและกะทิ ถ้าหากระดับ LDL และ HDL ขาดความสมดุลโดยมี LDL มากกว่า ไขมันจะเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดเหนียวข้น ทำให้หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจความแตกต่างระหว่างไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ต่างจากคอเลสเตอรอลตรงที่ ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเซลล์หรือสร้างส่วนประกอบของเซลล์ได้ โดยไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัมให้ค่าพลังงานประมาณ 9 แคลอรี่ แต่ในขณะที่คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่ไม่มีค่าในเชิงพลังงานดังนั้นในยามที่ร่างกายขาดพลังงาน ร่างกายจะนำเอาไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สะสมไว้ในร่างกาย ออกมาเผาผลาญใช้เป็นพลังงานได้ ในขณะที่คอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่สร้างสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่มีความจำเป็นสำหรับเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ไม่สามารถเปลี่ยนมาเป็นพลังงานได้ ซึ่งไขมันทั้งคู่มีความจำเป็น และมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากมีในปริมาณมากจนเกินไป ก็ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายไม่แตกต่างกันเลยหากไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อันตรายอย่างไรนอกจากความเจ็บปวดอันเกิดจากความอ้วนที่ไขมันมอบให้แล้ว ไขมันยังทำลายสุขภาพได้มากมาย ราวกับเป็นภัยเงียบที่ซุกซ้อนมากับน้ำหนักตัว บางคนอาจคิดว่าแค่อ้วนเอง ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย น้ำหนักเยอะไม่ได้แปลว่าร่างกายอ่อนแอ ซึ่งหากใครคิดแบบนี้ขอให้เปลี่ยนความคิดโดยด่วน เพราะคุณกำลังทำร้ายตัวเองด้วยความเข้าใจผิดอย่างมาก ถ้าหากคนเรามีไขมันในเลือดสูง จะต้องเสี่ยงกับโรคใดบ้าง ดังนี้ค่ะโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงโรคหลอดเลือดตีบหรือตันโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตันโรคมะเร็งโรคที่มาพร้อมกับโรคหัวใจโรคที่มาพร้อมกับความอ้วนโรคทั้งหมดที่กล่าวนี้รวมๆ แล้วเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของชาวโลก จริงแล้วความอ้วนเองอาจจะไม่ได้ส่งผลอะไรที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนัก อาจจะแค่ใช้ชีวิตได้ลำบาก เหนื่อยง่าย แต่เจ้าโรคที่แฝงมากับความอ้วนนี่สิ อันตรายมากว่าเป็นสิบเป็นร้อยเท่า เช่น เป็นโรคหลอดเลือดหัว อาจทำให้หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ หรือโรคเส้นเลือดสมองตีบ ก็เสี่ยงต่อการเส้นเลือดในสมองแตก เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตและอาจะเสียชีวิตได้ ไขมันเลวที่มากเกินไปจึงส่งผลร้ายต่อร่างกายราวกับเป็นฆาตกรที่กำลังซุ่มรอเหยื่อเลยก็ว่าได้ไขมันชนิดใดสำคัญที่สุดHLD เป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่สุด เนื่องจากช่วยขนไขมันส่วนเกิน(คอเลสเตอรอล) กลับไปที่ตับ เพื่อไม่ให้สะสมอยู่มากในหลอดเลือด การมี HLD น้อยเกินไปอาจจะเป็นอันตราย ดังนั้นหากใครที่ตรวจหามันในเลือดแล้วพบว่า HLD ของตัวเองน้อยมาก แนะนำให้สอบถามกับคุณหมอว่าควรประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร ถึงจะสามารถเพิ่มระดับ HDL ได้ควรไปตรวจปริมาณไขมันในเลือดเมื่อใดใครที่สงสัยว่าควรไปตรวจระดับไขมันในเลือดเมื่อไร สามารถเช็คตัวเองได้ โดยถ้ามีข้อใดข้อหนึ่งในนี้เพียง 1 ข้อก็สามารถไปตรวจได้เลยค่ะ1. เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน เป็นต้น2. มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ชอบทานอาหารหวานๆ และอาหารที่มีไขมันสูง3. เจ็บป่วยด้วยโรคที่อาจจะพบร่วมกับภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง รวมถึงมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตด้วยโรคในข้อ 1 มาก่อนก็ควรไปตรวจเช่นกัน4. อ้วน โดยวัดรอบเอวได้มากกว่า 36 นิ้วในผู้ชายและ 32 นิ้วในผู้หญิง5. มีลักษณะทางกายภาพน่าสงสัย เช่น มีก้อนไขมันที่บริเวณเอ็นร้อยหวาย มีก้อนไขมันที่หลังหรือสะโพกที่มีลักษณะคล้ายกับสิว เป็นต้นหากใครไม่มีปัจจัยเสี่ยงในข้างต้น แต่อายุมากกว่า 35 ปีก็ควรไปตรวจเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องตรวจทุกปีเหมือนกับผู้ที่มีปริมาณไขมันในเลือดสูงก็ได้ เพียงแต่ติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไขมันในเลือดปกติ ควรตรวจซ้ำทุกๆ 5 ปี แต่ถ้าสูงกว่าปกติควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ชีวิตและการทานอาหาร แล้วตรวจซ้ำทุกๆ 3-6 เดือนการเตรียมตัวก่อนไปตรวจไขมันในเลือดผู้ที่ต้องการตรวจหาปริมาณไขมันในเลือด ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนเจาะเลือดเป็นเวลา 12 ชั่วโมง (อาจจะจิบน้ำได้เล็กน้อย) เพราะถ้าหากไม่งด ค่าที่ได้อาจจะสูงเกินไปจนไม่ตรงกับความเป็นจริงมาถึงตรงนี้หลายคนคงพอจะแยกออกกันบ้างแล้วว่าไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลนั้นต่างกันอย่างไร และมีผลอย่างไรบ้างต่อร่างกาย อย่าละเลยที่จะดูแลตัวเอง เมื่อไปตรวจไขมันแล้วพบว่ามันสูงกว่าปกติ แต่ก็ไม่สนใจเพราะยังรู้สึกว่าตัวเองก็สบายดี เพราะผลร้ายอาจจะเกิดขึ้นหลัง และเมื่อรู้ตัวอีกทีอาจจะรักษากันไม่ทันแล้วก็ได้ ดังนั้นรีบดูแลตัวเองก่อนที่เราจะป่วยหรือปล่อยให้โรคแสดงอาการ เพราะการที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่สุดแล้ว