ผัก ผลไม้ วิตามิน อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ December 12, 2016 Share 60 Tweet Pin 0 30 สรรพคุณ...ประโยชน์ของขี้เหล็ก ผักบ้านๆ ที่ประโยชน์ไม่บ้าน อีกหนึ่งสมุนไพรไทยพื้นบ้านที่มีประโยชน์รอบด้านอย่าง “ขี้เหล็ก” ขึ้นชื่อเรื่องการบำรุงประสาท และยังช่วยยับยั้งโรคได้อีกมากมาย เป็นสมุนไพรขมแต่ก็เป็นของดี เพราะถึงแม้จะมีรสขมแต่ก็เปี่ยมไปด้วยคุณค่ามากมาย รู้จัก “ขี้เหล็ก” ผักบ้านๆ ที่ประโยชน์ไม่บ้านขี้เหล็กเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่อยู่คู่คนไทยในทุกภาค ชื่อของขี้เหล็กที่ใช้เรียกในแต่ละภาคนั้นมีความต่างกันไม่มาก ภาคอีสานก็จะเรียกว่าขี้เหล็กเหมือนกัน อีกทั้งใบขี้เหล็กก็เป็นอาหารที่คนอีสานนิยมไม่ใช่น้อย ส่วนคนภาคเหนือ เรียกขี้เหล็กว่า “ผักจี้ลี้” และยังมีทั้งสายพันธุ์ ขี้เหล็กบ้าน และ ขี้เหล็กหลวง ส่วนภาคใต้เรียกกันหลายชื่อทั้ง “ยะหา” หรือ “จิหรี่” ชาวต่างชาติให้ชื่อขี้เหล็กว่าเป็นผักโขมของไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai copper pod หรืออีกชื่อว่า Siamese sennaขี้เหล็กมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ความสูงอยู่ที่ 10 เมตร มีลำต้นคดงอ เปลือกสีน้ำตาล ทั้งผลและใบสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ โดยเฉพาะใบของขี้เหล็ก ซึ่งมีสีเขียวเข้มนี้มีคุณค่าทางสารอาหารเยอะมาก อุดมไปด้วยโปรตีน และเบต้าแคโรทีน ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็กสูง และมีเส้นใยอาหารอยู่มาก อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินซี คนโบราณกินแกงขี้เหล็กต้านหวัดแล้วได้ผล นั่นก็เพราะขี้เหล็กมีวิตามินซีสูงมากกว่าส้มเสียอีก “ในใบและดอกของขี้เหล็กมีวิตามินซีมากถึง 500 มิลลิกรัม”“ขี้เหล็ก” สรรพคุณดี ช่วยให้หลับสบาย ขี้เหล็กมีสารบาราคอล (Baracol) ที่มีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทอ่อนๆ ทำให้ง่วงนอน และช่วยให้รู้สึกหลับสบาย อีกทั้งยังมีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยให้รู้สึกคลายความเครียด ความเหนื่อยล้า รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งสารที่ว่านี้อยู่ในความขมของขี้เหล็ก ถ้านำไปปรุงหรือผ่านกระบวนการทำให้สุก สารนี้อาจมีน้อยลงจึงไม่ค่อยได้ผลมากนักถ้าเลือกกินใบขี้เหล็กต้ม และแกงขี้เหล็กเพื่อให้นอนหลับสบาย แต่ปัจจุบันก็มีอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากขี้เหล็กที่ช่วยให้คนนอนหลับยากได้นอนหลับง่ายขึ้น แต่การรับประทานสารสกัดจากขี้เหล็กมากๆ ก็ไม่ดีต่อตับเช่นกัน เพราะจะทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ตับ30 ประโยชน์ และสรรพคุณของขี้เหล็ก 1. ใบและดอกของขี้เหล็กช่วยบำรุงสายตา2. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง3. ดอกขี้เหล็กอุดมไปด้วยวิตามินซีที่ทำให้ผิวพรรณขาวใส4. สรรพคุณใบและดอกของขี้เหล็กช่วยต้านไข้หวัด5. ขี้เหล็กช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย6. ขี้เหล็กมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ7. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยให้เจริญอาหาร8. ใบขี้เหล็กเป็นผักธาตุเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาย9. ใบขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง10. ใบและดอกของขี้เหล็กช่วยต้านโรคเบาหวาน11. ขี้เหล็กมีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด12. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง13. ขี้เหล็กช่วยป้องกันการอักเสบของปอดและลำไส้ได้14. ใบขี้เหล็กช่วยแก้ปวดท้องจากโรคกระเพราะ15. ใบขี้เหล็กช่วยป้องกันการอักเสบจากแผลในกระเพาะอาหาร 16. สรรพคุณขี้เหล็กช่วยให้นอนหลับสบาย17. ขี้เหล็กเป็นยากล่อมประสาทอ่อนๆ18. ขี้เหล็กช่วยให้สมองผ่อนคลาย ช่วยบำรุงประสาท บำรุงสมอง19. ขี้เหล็กช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างปกติ20. ขี้เหล็กช่วยขับพิษในเลือด และช่วยห้ามเลือด21. ขี้เหล็กช่วยต้านหวัดแดด ขับเสมหะ แก้ร้อนใน22. ใบขี้เหล็กช่วยแก้ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด23. ประโยชน์ของใบขี้เหล็กเป็นยาระบายอ่อนๆ24. ขี้เหล็กมีสรรพคุณในการบำรุงน้ำดี25. ใบขี้เหล็กช่วยรักษาแผลสด และโรคหนองใน26. ใบและดอกขี้เหล็กมีประโยชน์ช่วยขับพยาธิ27. ขี้เหล็กต้านอาการเหน็บชาได้เนื่องจากมีวิตามินซีสูง28. สรรพคุณใบขี้เหล็กแก้อักเสบ แก้ฟกช้ำ29. รากขี้เหล็กมีสรรพคุณทางยานำไปใช้บำรุงเส้นผม ขจัดรังแค30. เปลือกของต้นขี้เหล็กรักษาโรคริดสีดวงทวาร “ขี้เหล็ก”กับสรรพคุณทางยาจะเห็นได้ว่าขี้เหล็กมีสรรพคุณทางยามากมาย สมัยโบราณตามตำราแพทย์แผนไทยโบราณก็จะมีการใช้ใบเหล็กสดมาทำแผลให้ผู้ป่วย เพราะจะช่วยให้แผลไม่อักเสบ ลดหนอง ลดบวม อันนี้เป็นสรรพคุณทางยาที่ใช้ภายนอก ส่วนสรรพคุณทางยาของขี้เหล็กที่ใช้ภายใน สำหรับผู้ที่จะนำไปใช้เป็นยาระบายแบบอ่อนๆ เพื่อแก้ท้องผูก ก็เพียงแค่นำใบอ่อนของขี้เหล็กหรือแก่นขี้เหล็ก มาต้มน้ำดื่มตอนเช้าๆ จะช่วยให้ถ่ายสะดวกขึ้น และยังช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้ด้วย นอกจากสรรพคุณที่มาจากใบและดอกของขี้เหล็กแล้ว ฝักของมันก็ยังมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นกันคือสามารถขับเสมหะ และมีสรรพคุณที่ช่วยในการบำรุงเลือด ทำให้ขี้เหล็กเหมาะกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง และผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังช่วยบำรุงธาตุไฟ เนื่องจากเป็นสมุนไพรเย็น จึงช่วยขับพิษร้อนออกจากร่างกายได้ดี นอกจากนี้ขี้เหล็กยังช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้นอีกด้วยเกร็ดน่ารู้ : เมนูขี้เหล็กแน่นอนว่าเมื่อพูดถึงขี้เหล็กจะต้องนึกถึง “แกงขี้เหล็ก” แต่นอกจากแกงขี้เหล็กแล้วก็ยังสามารถนำไปทำอาหารอะไรได้หลายอย่าง เช่น ยำขี้เหล็ก คั่วขี้เหล็ก หรือประยุกต์แกงขี้เหล็กให้อร่อยได้หลายสูตรทั้งแบบใส่กะทิหรือไม่ใส่กะทิ ทำเป็นแกงเผ็ด ใส่เนื้อย่าง หมูย่าง เพิ่มความอร่อยได้ตามชอบ จะทำเป็นน้ำพริกใส่ปลาร้า หรือปลาช่อนย่างก็อร่อยสะใจไม่เบา แต่อย่าลืมว่าเมื่อเราต้องต้มให้สุกเพื่อเอาความขมของขี้เหล็กออกไป ก็อย่าลืมข้อดีของความขมในขี้เหล็กที่มีสารสำคัญช่วยบำรุงร่างกาย ดังนั้นหากจะกินเป็นยาก็ต้องคงความขมของขี้เหล็กเอาไว้บ้างนะคะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับผักน่ารู้...คู่สุขภาพดี 11 สรรพคุณ…ประโยชน์ของฟักทอง ไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง บำบัดความเครียด 12 ประโยชน์…สรรพคุณของกุยช่าย ตัวช่วยสร้างเม็ดเลือด บำรุงน้ำนม ประโยชน์ของ “ถั่วลันเตา” สรรพคุณแน่นเต็มเม็ด ป้องกันสารพัดโรค “ผักหวานบ้าน” สรรพคุณเพื่อสุขภาพ มากคุณประโยชน์