free web tracker, fire_lady 5 อาการ สัญญาณบอกโรคกระเพาะ ตรวจเช็คด่วน!! • สุขภาพดี

5 อาการ สัญญาณบอกโรคกระเพาะ ตรวจเช็คด่วน!!

อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

กระเพาะอาหารของคนเรา เป็นอวัยวะหลักที่เป็นที่พักอาหารเพื่อย่อย ก่อนจะดูดซึมเอาอาหารไปใช้หล่อเลี้ยงร่างกายเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานบ้าง ช่วยให้ร่างกายเติบโตบ้าง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายบ้าง... หากกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ แน่นอนว่า อาหารที่ต้องย่อย ก็จะพลอยมีปัญหาตามไปด้วย เรามาทำความรู้จักกับสาเหตุโรคกระเพาะ อาการโรคกระเพาะ และวิธีป้องกันโรคกระเพาะกันดีกว่า

อันตรายของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ก็คือ การมีแผลในกระเพาะอาหารนั่นเอง จะเพราะสาเหตุอะไรก็ตามแต่ หากเป็นแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความทรมานจากการปวดท้องเนื่องจากภายในกระเพาะอาหารของคนเรามีน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรด และเมื่อน้ำกรดสัมผัสกับแผลในกระเพาะเวลา ในขณะที่กระเพาะอาหารบีบตัวเพื่อจะย่อย ทั้งการบีบ ทั้งน้ำย่อยเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคกระเพาะปวดแสบปวดร้อนเป็นอย่างมาก จึงเป็นความทรมานอย่างหนึ่งที่ใครๆ คงไม่อยากประสบพบเจอ

โรคกระเพาะหากเป็นแล้วจำเป็นต้องดูแลตัวเองตลอดเวลา หากปล่อยให้อาการอักเสบกำเริบ อาจรบกวนวิถีชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน หากปวดในช่วงเวลาทำงาน ก็พาลทำให้ไม่มีกะจิตกะใจจะทำงาน ขาดสมาธิ ถึงขั้นทำงานไม่ได้เลยก็มี หรือหากปวดในเวลากลางคืน ก็รบกวนต่อการนอน ทำให้นอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม สุดท้ายก็ต้องตื่นอย่างงัวเงีย อ่อนเพลีย ซึ่งหากปล่อยไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นเรื้อรัง อาจต้องรักษาโดยการฉีดยา ดังนั้นอย่าปล่อยให้อาการปวดท้องที่ปวดๆ หายๆ ทำลายความสุขในชีวิตประจำวันของเรา...รีบหาวิธีรักษาเสียแต่เนิ่นๆ ด้วยการหมั่นตรวจตรา...อาการบ่งบอกโรคกระเพาะทั้ง 5 ข้อนี้กันเถอะ

5 อาการบ่งบอกเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

อาการหลักๆ เวลาเกิดแผลในกระเพาะอาหารนั้น ที่เราคุ้นๆ กันก็คือ “อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด” ซึ่งอาการปวดกระเพา จะมีคล้ายกับอาการปวดท้องอย่างอื่นบ้างเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เรามาดูอาการบ่งบอกความเสี่ยงโรคกระเพาะกันดีกว่า

1. อาการปวดท้องแบบจุกๆ แสบๆ (อาการโรคกระเพาะ) เวลาปวดก็จี๊ดขึ้นมา แล้วก็หายไป ตรงเหนือสะดือ คือแถวลิ้นปี่

2. เวลาหิว หรืออิ่ม ก็จะรู้สึกปวดท้องฝั่งขวามือ (อาการโรคกระเพาะ) อาจไม่ได้ปวดมาก ได้กินยาลดกรดก็พอช่วยได้

3. มีอาการปวดแสบๆ ตรงท้อง (อาการโรคกระเพาะ) บางทีเจ็บขึ้นมาถึงลิ้นปี่ เลย โดยไม่จำกัดว่าจะอิ่มหรือยัง

4. เวลานอนหลับ แล้วจู่ๆ ก็ปวดท้องจนต้องตื่น ไม่ปกติแน่นอน (อาการโรคกระเพาะ)

5. มีอาการปวดท้องมากๆ (อาการโรคกระเพาะ) ปวดจนมีอาการข้างเคียงเพิ่มคือ อาเจียน บางทีหนักถึงขั้นถ่ายเป็นเลือด

จริงๆ แล้ว การวิเคราะห์ว่าเป็นโรคกระเพาะอักเสบหรือเปล่านั้น มีความก้ำกึ่งกับโรคอื่นๆ อยู่เหมือนกัน เนื่องจากการปวดท้องนั้น แม้แต่แพทย์ยังต้องมีการทดสอบเลยว่า เป็นกระเพาะอักเสบหรือป่วยด้วยโรคอื่นในการดูแลตัวเองจากการเป็นโรคกระเพาะอาหาร จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงอาการปวดท้องเนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย เพื่อจะได้ไม่วิตกกังวลมากเกินไป

อาการปวดท้องประเภทต่างๆ

1. ปวดท้องส่วนบน การแบ่งส่วนของท้องตามตำแหน่งว่า ส่วนบนหรือส่วนล่างนั้น ให้กำหนดที่สะดือเป็นหลัก ส่วนบนคือ เหนือสะดือ ซึ่งหากปวดท้องส่วนนี้ มีแนวโน้มเป็นได้หลายโรคคือ กระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี ตับอ่อน ม้าม หรือตับ ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

2. ปวดท้องส่วนล่าง ถ้าปวดในบริเวณต่ำกว่าสะดือลงมา จะเรียกว่าปวดท้องส่วนล่าง ซึ่งมีแนวโน้มว่า อาจจะเป็นเกี่ยวกับ ไส้ติ่ง มดลูก ลำไส้ ทั้งเล็กและใหญ่ หรือโรคไต

7 วิธี ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้น มีวิธีป้องกันได้โดยการดูแลตัวเองเกี่ยวกับการกินอาหารให้ถูกต้อง ดังต่อไปนี้

1. รับประทานอาหารตรงเวลาตามมื้ออาหาร โดยไม่ได้รับประทานให้อิ่มเกินไป ไม่ปล่อยให้ตัวเองหิว แม้เป็นช่วงระหว่างมื้ออาหาร อาจมีอาหารว่าง หรืออย่างน้อยก็รับประทานน้ำแต่ก็ระมัดระวังไม่ดื่มน้ำก่อนอาหารจนไปเจือจางน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

2. รับประทานอาหารรสจืด โดยต้องดูแลสุขภาพเรื่องการรับประทานอาหารของตัวเองเป็นอย่างดี ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด ไม่ว่าจะเป็น เค็มจัด เปรี้ยวจัดหรือเค็มจัด

3. ไม่รับประทานอาหารประเภทเครื่องดอง ของทอด ของมัน หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มที่มีแก๊สมากอย่างน้ำอัดลม ไม่ใช่คนดื่มกาแฟ หรือรับประทานของขบเคี้ยวจุบจิบในระหว่างวัน ที่เป็นการกระตุ้นให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ

4. งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะมีส่วนกระตุ้นให้กรดในกระเพาะหลั่งออกมา

5. ไม่ได้ใช้ยาบางประเภทที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยารักษาโรคกระดูก ข้อ ยาแก้อักเสบ ที่อาจส่งผลถึงกระเพาะ หรือพวกยาแก้ปวดแอสไพริน ก็มีผลต่อกระเพาะเช่นกัน

6. รู้จักผ่อนคลายจิตใจไม่ให้เกิดความเครียด อีกทั้งยังพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มทุกคืน ไม่มีความกังวลจนนอนไม่หลับ เพราะความเครียดและวิตก มีผลทำให้น้ำย่อยหลั่งผิดปกติ ทำลายกระเพาะอาหารได้

7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ อวัยวะภายในทำงานไม่ผิดปกติแน่นอน

ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูแลตัวเองอย่างดี เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะอักเสบแล้ว แต่ยังมีอาการปวดท้องคล้ายๆ กับโรคกระเพาะอาหารอักเสบเกิดขึ้น คุณไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นโรคอย่างอื่นที่มีอันตรายมากกว่าโรคกระเพาะอาหารอักเสบก็เป็นได้ ทั้งตับ ไต ฯลฯ หรือถ้าหากมีเหตุที่คุณเองก็ไม่รู้ตัวว่า ทำไมจึงยังเป็นกระเพาะอักเสบได้ ก็จะได้รีบรักษาให้ทันท่วงที ไม่ต้องมีสิ่งทำให้หงุดหงิดหรือรำคาญใจจากการปวดท้อง หรือสุขภาพแย่ กับโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการสัญญานบ่งบอกโรค