อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว September 3, 2016 Share 21 Tweet Pin 0 6 อาการ สัญญาณบอกโรคไต ตรวจเช็คด่วน!! "ไต" (Kidney) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เหมือนเครื่องกรองชั้นดี ที่คอยขับเอาของเสียในร่างกายออกทางปัสสาวะ ซึ่งปัจจุบันนี้ดูเหมือนเราจะรับเอาของที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายดายเหลือเกิน อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารพิษเจือปนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา แต่อันตรายเหล่านี้จะไม่น่ากลัว หากเรามีไตที่ดี ไตที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะขับพิษเหล่านั้นออกมาทางปัสสาวะตามกระบวนการกรอง แต่ในทางกลับกัน หากไตไม่สามารถทำงานได้ ก็หมายถึงร่างกายของเราจะเก็บของเสียเอาไว้ ดังนั้น สุขภาพของคนเราจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของไตในการขับของเสียเช่นกัน โรคไตจึงเป็นโรคที่มีอันตรายและผลข้างเคียงต่อชีวิตเป็นอันมาก เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว...เราไม่ควรมองข้ามการดูแลใส่ใจสุขภาพของไต ความผิดปกติของไต ด้วยการตรวจเช็ค จับผิดอาการโรคไต...โรคภัย ที่ไม่ควรมองข้าม รู้เท่าทัน...อันตรายของโรคไตหากต้องการทราบเป็นโรคไตแล้วจะมีอันตรายอะไรบ้าง คงต้องศึกษาเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ของไต เพื่อจะเทียบเคียงให้แน่ชัดว่า หากไตไม่ทำหน้าที่แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหน้าที่ของไต 1. ไตทำหน้าที่ขับของเสียในเลือดออกมาทางปัสสาวะหรือสารที่เป็นส่วนเกินที่ร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น สารปนเปื้อนที่อยู่ในอาหาร สารอินทรีย์ น้ำ เกลือแร่ ฯลฯ ที่เหลือใช้2. ไตทำหน้าที่ช่วยเก็บและดูดสารที่ร่างกายต้องการใช้ เมื่อกรองเก็บมาแล้ว ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายทางท่อไตและเส้นเลือดดำ จากสองข้อข้างต้น หากผู้ป่วยเป็นโรคไตวายแล้ว ของเสียขับไม่ได้ ของดีมีประโยชน์ก็กรองไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้นกับร่างกาย ร่างกายจะกลายเป็นที่เก็บสะสมของเสียไป 3. ไตทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างเกลือแร่และน้ำ กล่าวคือ ไตจะช่วยคุมระดับความเข้มข้นของเกลือแร่หลายชนิดในน้ำ ซึ่งแน่นอนว่า หากเป็นผู้ป่วยด้วยโรคไตวาย ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในเลือดจะปรวนแปรไป ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายรวนไปด้วยกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคไตวาย เกลือโปแตสเซียมจะอยู่ในระดับสูงซึ่งส่งผลกระทบทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และถ้าถึงขั้นรุนแรงก็ทำให้หัวใจหยุดเต้นได้เลยกรณีเกลือโซเดียมสูงไป ก็จะทำให้มีอาการบวม อาการบวมจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และหากรับภาวะของความดันไม่ไหวก็ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ โรคไตจึงเป็นอันตรายถึงชีวิต4. ไตช่วยขับกรดออกจากร่างกาย จึงช่วยให้ภายในตัวของเรามีความสมดุล ไม่มีกรดหรือด่างมากเกินไป คนที่เป็นโรคไต เมื่อร่างกายขับกรดออกไปไม่ได้ กรดที่เกินไปนั้นจะหันกลับไปทำร้ายภายในของเจ้าของเสียเอง 5. ไตทำหน้าที่ช่วยรักษาความดันให้เป็นเป็นปกติ ถ้าไตเสื่อม ความดันโลหิตก็แปรปรวน มีสิทธิเป็นไตวายได้เช่นกัน6. ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ถ้าไม่ทำงานเสียแล้ว ฮอร์โมนเหล่านั้นเช่น เรนนิน ก็จะไม่เกิดขึ้น6 อาการบ่งบอกเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเนื่องจากไตทำหน้าที่ในการขับของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ อาการที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้จึงมักเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น1. ปัสสาวะขัด (อาการโรคไต) จะเข้าห้องน้ำทีก็ลำบาก เหมือนปวด แต่ถึงเวลาแล้วกลับกะปิดกะปอย ซึ่งพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย2. ในบางคนกลับต้องปัสสาวะบ่อยๆ (อาการโรคไต) โดยเฉพาะในตอนกลางคืนขณะนอนหลับ กลับต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะ แต่ก็ใช่ว่าเมื่อเข้าห้องน้ำแล้วจะปัสสาวะได้สะดวก ที่ปวดบ่อยเนื่องจากน้ำปัสสาวะไม่สามารถออกมาได้ครั้งละทั้งหมดนั่นเอง ที่เป็นเช่นนั้นก็อาจจะเนื่องมาจาก มดลูกหย่อน หรือในชายก็เป็นต่อมลูกหมากโต3. น้ำปัสสาวะมีสีขุ่นผิดปกติ (อาการโรคไต) จากเดิมที่คนปกติมีปัสสาวะเป็นสีเหลืองใส จะเข้มหรืออ่อนก็อยู่กับว่า ดื่มน้ำมากเพียงพอหรือไม่ หรือกินอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเข้มหรือเปล่า แต่สำหรับคนที่มีความผิดปกติปัสสาวะจะกลายเป็นสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ และบางครั้งอาจมีอาการเหมือนมีเลือดปนออกมาด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุมีการติดเชื้อในท่อปัสสาวะ มีอาการอักเสบของไตหรือท่อทางเดินปัสสาวะเกิดเนื้องอกเป็นต้น4. คนเป็นโรคไตจะมีอาการบวม (อาการโรคไต) ซึ่งเป็นได้หลายส่วนเช่น บริเวณรอบดวงตา บริเวณใบหน้า หรือแม้แต่ที่เท้า คล้ายๆ คนที่ยืนบ่อยจนเท้าบวม แต่นี่ไม่ใช่ เพราะอาการบวมจากโรคไตจะมีลักษณะบวมเหมือนบวมน้ำ กดแล้วจะมีรอยบุ๋มลงไป5. มีอาการปวดหลัง ปวดเอว (อาการโรคไต) ลักษณะจะปวดแบบร้าววนไปถึงภายในช่องท้อง อาการโรคไตอักเสบนี้ หากหมอเคาะหลังเบาๆ ก็จะถึงกับสะดุ้ง แต่ไม่ถึงกับปวดแบบร้าวไปตามอวัยวะต่างๆ6. ความดันโลหิตโดยไม่รู้ตัว (อาการโรคไต) เนื่องจากไตทำหน้าที่ควบคุมในเรื่องของความดันโลหิตด้วย ดังนั้น หากมีอาการเรื่องความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ก็พึงตั้งข้อสังเกตว่า อาจเกิดจากไตอีกโรคหนึ่งไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายผ่านการปัสสาวะ ซึ่งเมื่อปริมาณน้ำในกระเพาะปัสสาวะเต็ม เราจะรู้สึกถึงความอึดอัด แต่การที่ไตขับปัสสาวะไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่มีปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้คนป่วยมีความรู้สึกอึดอัด และของเสียนั้นๆ อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย กลายเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยในหลายส่วน และคนที่เป็นเรื้อรังอาจถึงขั้นต้องเจาะหน้าท้องเพื่อขับถ่าย หากเป็นไตวายก็ต้องมีการฟอกเลือด ทำความสะอาดซึ่งล้วนเป็นวิธีที่ทรมานเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากมีอาการบ่งชี้เสี่ยงต่อโรคไต ควรเร่งพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษา อย่าปล่อยให้รุกรามจนสายเกินแก้ เมื่อถึงเวลานั้นอาจต้องมานั่งเสียใจภายหลังบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการสัญญาณบ่งบอกโรค 5 อาการ สัญญาณบอกโรคหัวใจ ตรวจเช็คด่วน!! 10 อาการ สัญญาณบอกโรคตับแข็ง ตรวจเช็คด่วน!! 10 อาการ สัญญาณบอกโรคกรดไหลย้อน ตรวจเช็คด่วน!! 5 อาการ สัญญาณบอกโรคกระเพาะ ตรวจเช็คด่วน!!