เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ July 28, 2016 Share 44 Tweet Pin 0 "น้ำมันงา" น้ำมันแห่งความหอม เพื่อคนรักสุขภาพ หากจะพูดถึงน้ำมันที่มีกลิ่นหอมโดดเด่น ชวนแตะจมูก คงหนีไม่พ้น "น้ำมันงา" (Sesame Oil) น้ำมันที่เหล่าพ่อครัว แม่ครัวส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหารที่ต้องการกลิ่นหอม ชวนน่าทาน อีกทั้งบ่งบอกว่าเมนูอาหารจานนั้นเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ เพื่อคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ...วันนี้เรามาทำความรู้จักกับน้ำมันงาให้มากขึ้นกันเถอะ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันงา คือ? สรรพคุณน้ำมันงา? ขั้นตอนการผลิตน้ำมันงา? น้ำมันงาสกัดเย็นเป็นอย่างไร? ประโยชน์ของน้ำมันงาในการปรุงอาหาร และเพื่อดูแลผิวพรรณให้สวยงาม...เรียกว่า เอาแบบรู้ลึก รู้จริง เกี่ยวกับน้ำมันงากันเลยทีเดียว น้ำมันงา (Sesame) คือ?"น้ำมันงา" (Sesame Oil) คือน้ำมันที่สกัดมาจากเมล็ดงา จะสกัดจากงาดำ เพราะให้น้ำมันในปริมาณมาก และมีคุณภาพมากกว่างาชนิดอื่น น้ำมันงามี 2 ชนิด คือ1. น้ำมันงาที่สกัดจากเมล็ดงาที่คั่วแล้ว โดยสีของน้ำมันงานี้จะมีลักษณะสีน้ำตาลใส และมีกลิ่นหอม2. น้ำมันงาที่สกัดจากเมล็ดงาสด สีของน้ำมันที่ได้จะมีสีเหลืองใสเช่นเดียวกับน้ำมันพืชชนิดอื่น แต่จะมีสรรพคุณมากกว่าน้ำมันงาที่ได้จากเมล็ดคั่ว แต่ข้อเสียคือไม่มีกลิ่นหอม ส่วนประกอบของน้ำมันงากรดโอเลอิคประมาณร้อยละ 37-50กรดลิโนเลอิคประมาณร้อยละ 35-47กรดไขมันอิ่มตัวประมาณร้อยละ 12-15 ซึ่งจะน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำมันชนิดอื่นการใช้ประโยชน์จากน้ำมันงาสามารถนำไปใช้ในหลายด้านด้วยกัน อาทิ การนำมาเป็นน้ำมันประกอบอาหาร การใช้ในด้านความสวยความงาม...เมล็ดงาจะประกอบไปด้วยน้ำมันงาประมาณ 35-60% ลักษณะที่ดีของน้ำมันงา1. ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงซึ่งสามารถช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายไม่ให้มากเกินไป2. น้ำมันงานั้นสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่เหม็นหืน3. น้ำมันงาจะไม่จับตัวเป็นก้อน4. มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ขั้นตอนการผลิตน้ำมันงา 1. ทำความสะอาด และการคัดแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากเมล็ดงา และนำเมล็ดงามาตากแดดเพื่อไล่ความชื้นออกจากเมล็ดงา2. นำเมล็ดงามาเข้าเครื่องบดอัดด้วยเครื่องบีดอัดน้ำมัน ในกระบวนการนี้จะได้น้ำมันงาออกมา3. หลังจากได้น้ำมันมาแล้วก็ให้ทำการกรองน้ำมันงาด้วยตะแกรงหรือผ้าขาวบาง เสร็จแล้วจึงนำน้ำมันงามาบรรจุขวด 4. กากเมล็ดงาที่เหลืออย่าทิ้งยังสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ อาหารปลา รวมถึงสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดี ประโยชน์ของน้ำมันงา1. ในด้านความสวยความงาม จะช่วยการป้องกันไม่ให้ผิวหนังแห้ง แตก และการป้องกันผมแห้งแตกปลาย โดยการใช้นวดตามบริเวณที่ต้องการ2. น้ำมันงาจะมีสารป้องกันการหืนธรรมชาติ จะสามารถเก็บไว้ได้นาน และนำมาประกอบอาหาร โดยไม่มีกลิ่นเหม็นหืน3. น้ำมันงาจะประกอบไปด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงจึงเหมาะสำหรับบริโภค ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ป้องกันโรคในระบบหัวใจ และหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี4. มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดลิโนเลอิค และโอเลอิค ที่ช่วยในการเจริญเติบโต และสร้างความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังน้ำมันงาสกัดเย็นเป็นอย่างไร?น้ำมันงาที่ผ่านกระบวนการบีบเย็น จะเป็นน้ำมันงาบริสุทธิ์ที่ไม่ผ่านการฟอกสี หรือต้มกลั่น แต่เป็นการนำเมล็ดงามาบีบคั้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส น้ำมันงาสกัดเย็นจึงมีประโยชน์มาก โดยทั่วไปจะนำมาใช้เพื่อลดอาการปวด การอักเสบตามข้อ ตลอดจนลดความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อมที่เกิดจากการใช้งานหนักจนส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณข้อกระดูกถูกทำลายในอดีตแพทย์ชาวจีนและกลุ่มนักธรรมชาติบำบัดจะใช้น้ำมันงาช่วยลดอาการอักเสบเพราะโดยประสิทธิภาพของน้ำมันงาสามารถเข้าไปเพิ่มมวลกระดูกอ่อนและเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงระหว่างข้อต่อกระดูกได้ เหตุผลเรื่องนี้มีนักวิชาการให้การรองรับว่าเนื่องจากน้ำมันงามีสรรพคุณยับยั้งการทำงานของสาร IL-1 ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการสลายของกระดูกอ่อนนอกจากนั้นถ้ากินน้ำมันงาสกัดเย็นเป็นประจำพร้อมอาหารจะทำให้หลอดเลือดสะอาด การหมุนเวียนโลหิตก็จะดีไปด้วย ส่งผลถึงการทำงานของหัวใจก็จะดี ปลอดจากโรคความดันโลหิตสูงน้ำมันงาสำหรับปรุงอาหาร น้ำมันงาที่ผ่านกระบวนการบีบร้อน เป็นการนำเมล็ดงาไปคั่วให้ได้ที่ก่อน แล้วจึงนำมาบดหรือหีบ คั้นให้ได้น้ำมันงา จุดเด่นของน้ำมันงาประเภทนี้จะมีกลิ่นหอมกว่า เก็บได้นานไม่เหม็นหืน แต่ข้อเสียก็คือ ความร้อนทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารบางชนิดไป ในปัจจุบันนี้ นิยมใช้น้ำมันงามาปรุงหรือผสมกับอาหารหลายๆ อย่าง ดังนี้1. ผสมน้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะลงในการหุงข้าวตามปกติ เพื่อให้ได้ข้าวสวยที่มีความหอม นุ่ม อร่อย และไม่บูดง่าย2. ใช้น้ำมันงาหมักเนื้อปลาหรืออาหารทะเลก่อนนำไปปรุงเป็นอาหารเพื่อลดความคาวของอาหารเหล่านั้นได้3. ใส่น้ำมันงาในอาหารประเภทผักๆ ทั้งหลาย จะได้กับข้าวที่มีความหอมน่ารับประทานมากขึ้น4. ใช้เป็นส่วนผสมในน้ำสลัด หรือผสมเป็นน้ำจิ้มสุกี้ ก็อร่อยไปอีกแบบน้ำมันงากับการทาผิวเนื่องจากสรรพคุณของน้ำมันงา สามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทใต้ผิวหนังได้ จึงมีการนำน้ำมันงามาใช้ประโยชน์กับผิวของคนเรา เรียกว่าใช้กับแทบทุกส่วนของร่างกายก็ว่าได้1. ใช้น้ำมันงาทาและนวดบริเวณลำตัว ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เส้นประสาทภายใต้ผิวหนังวิธีนี้ช่วยได้หลายอย่างตั้งแต่คลายกล้ามเนื้อที่เหนื่อยล้า เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามตัว บางคนก็ใช้ทาเพื่อการบำรุง ให้ความชุ่มชื้นกับผิวหลังอาบน้ำเสร็จเพื่อให้ผิวพรรรดี ไม่แห้ง อีกทั้งเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดไปในตัว2. ใช้น้ำมันงาทาบนใบหน้า เพื่อลดริ้วรอยเหี่ยวย่น เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ทำให้แลดูอ่อนเยาว์ เนื่องจากน้ำมันงามีสรรพคุณในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ3. ใช้น้ำมันงาลดการอักเสบ ผิวไหม้ สำหรับผิวที่ต้องรับแสงแดดเป็นประจำ อาจมีปัญหาเรื่องผิวไหม้ ควรใช้น้ำมันงามาทาหลังออกแดด เพราะน้ำมันงามีสารประเภท Beta – sitosterolซึ่งมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการผิวไหม้ได้วิธีหมักผมด้วยน้ำมันงานอกจากจะรับประทานได้ เพิ่มความหอมให้กับอาหาร มีประโยชน์ต้านอนุมูลอิสระ ใช้บำรุงผิวแล้ว น้ำมันงายังมีประโยชน์กับเส้นผมของเราอีกด้วย ปัจจุบันมีสาวๆ หลายคนนิยมนำน้ำมันงามาหมักผมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น บำรุงเส้นผมให้มีน้ำหนัก นุ่มสลวย แก้ปัญหาเรื่องผมแห้ง ผมเสีย หรืออาการแตกปลายได้ แม้แต่ผมที่เคยแบนลีบก็สามารถฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาขึ้นได้ วิธีใช้น้ำมันงาหมักผมก็ทำได้ง่ายๆ คือ ก่อนที่จะสระผม ให้หมักน้ำมันงาทิ้งไว้ก่อนประมาณ 15-30 นาที ขึ้นอยู่กับว่าจะมีเวลามากน้อยแค่ไหน หลังจากนั้นจึงสระผมตามปกติ เพียงเท่านี้ ปัญหาเรื่องเส้นผมก็จะทุเลาและกลับดำเป็นเงางามอีกครั้ง หมักผมสวย แก้ผมหงอก ด้วยน้ำมันงา สรรพคุณของน้ำมันงายังมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้เส้นผมที่งอกใหม่มีความดกดำมากขึ้น เนื่องจากไปกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตรอบ ๆ รูขุมขนบนหนังศีรษะ จึงช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง สำหรับท่านที่มีปัญหาเรื่องผมร่วง หรือรังแคควรทดลองใช้ดูค่ะน่าทึ่งจริงๆ กับประโยชน์ของน้ำมันงา ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันงาปรุงอาหาร น้ำมันงาหมักผม หรือแม้แต่น้ำมันงาทาบำรุงผิว เห็นทีต้องรีบไปหาซื้อน้ำมันงามาติดบ้านซะแล้วสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ และผมสวยด้วยน้ำมันงาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ในราคาประหยัด พร้อมบริการส่งตรงถึงบ้าน เก็บเงินปลายทาง คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับน้ำมันเพื่อสุขภาพ “น้ำมันถั่วเหลือง” ปลอดภัยต่อสุขภาพ หรือไม่? คุณรู้จัก “น้ำมันปาล์ม” เพื่อประกอบอาหาร ดีพอหรือยัง? "น้ำมันดอกทานตะวัน" เนื้อบางเบา ไขมันต่ำ ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง “น้ำมันหมู” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ...ที่ใครๆ ก็เข้าใจผิด