อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว April 12, 2018 Share 0 Tweet Pin 0 “สายตาสั้น” แก้ปัญหาให้ถูกวิธี ก็มีโอกาสเห็นชัดแจ๋วได้ดวงตาถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิต หากแม้นขาดดวงตาไปการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นคงลำบากและต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นไปตลอด ไม่เพียงแต่การสูญเสียดวงตาไปเท่านั้น แต่การที่ดวงตาของเรานั้นเกิดความผิดปกติขึ้นก็ล้วนสร้างความลำบากในการดำเนินชีวิตไม่น้อย ปัญหาที่คนส่วนใหญ่มักพบเกี่ยวกับดวงตาและมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาคือปัญหา “สายตาสั้น” สายตาสั้นคือ ปัญหาหนึ่งที่เกิดจากภาวะความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถรับแสงหักเหจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอตาได้อย่างพอดี ส่งผลให้มองเห็นวัตถุไม่ชัด โดยจะมองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชัดเจน ปัญหาสายตาสั้นมักเริ่มเป็นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยสายตาจะค่อย ๆ สั้นลงจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่ และยังมีแนวโน้มจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมสาเหตุของการเกิดสายตาสั้นสาเหตุของการเกิดปัญหาสายตาสั้นโดยทั่วไปแล้วเกิดจากลูกตายาวกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งมากเกินไป ส่งผลให้แสงที่ตกกระทบวัตถุโฟกัสที่ด้านหน้าของจอตา ไม่ได้โฟกัสที่จอตา ผู้ที่สายตาสั้นจึงมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน นอกจากนี้ผู้ที่สายตาสั้นมักมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ ดังนี้1. ได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าปัญหาสายตาสั้นนั้นมีแนวโน้มที่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นบุคคลใดที่มีบุคคลในครอบครัวมีปัญหาสายตาสั้น ก็มีแนวโน้มที่จะสายตาสั้นได้สูง โดยเฉพาะผู้ที่มีพ่อและแม่สายตาสั้นทั้งคู่2. ใช้สายตามากเกินไป ผู้ที่อ่านหนังสือมากๆ เล่นคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ หรือต้องใช้สายตาเพ่งมองสิ่งต่างๆ ล้วนมีความเสี่ยงที่จะสายตาสั้นได้3. ผู้ที่ทำกิจกรรมนอกบ้านน้อย หลายคนสงสัยว่าสาเหตุนี้เกี่ยวอย่างไรต่อการมีสายตาสั้น แต่จริงๆ มีความเกี่ยวข้องเนื่องจากระดับแสงข้างนอกบ้านจะมีความสว่างที่เพียงพอมากกว่าในบ้าน จึงส่งผลให้เกิดอาการสายตาสั้นได้ช้ากว่าหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้อาการสายตาสั้นอาการสายตาสั้นหลายคนเข้าใจว่าไม่ได้เจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานอะไร และคิดว่าไม่ใช่การป่วยมีคนหลายคนที่มีอาการนี้ แต่อาการสายตาสั้นนั้นจริงๆ แล้วสร้างความลำบากให้กับผู้ที่พบอาการนี้ไม่น้อย ผู้ที่ประสบภาวะสายตาสั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นเป็นหลักและเกิดอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้1. มองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ระยะไกลมัวลงหรือมองเห็นไม่ชัดเจน2. ต้องจ้องหรือเพ่งมองใกล้ๆ หรี่ตา รวมทั้งปิดตาข้างหนึ่งเพื่อมองให้ชัดขึ้น3. เกิดอาการตาล้าเมื่อเพ่งมองสิ่งที่อยู่ไกลออก อาจส่งผลให้รู้สึกปวดศีรษะ4. มองเห็นได้ไม่ชัดโดยเฉพาะตอนกลางคืน ซึ่งเรียกว่าสายตาสั้นตอนกลางคืนสำหรับเด็กที่ประสบภาวะสายตาสั้น นอกจากจะปรากฏอาการดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วก็จะปรากฏอาการ อื่นๆ เพิ่มเติม คือ กระพริบตาบ่อยเกินไปและมักขยี้ตาบ่อยๆภาวะแทรกซ้อนของสายตาสั้นอาการหลักที่เราพบจากการมีอาการสายตาสั้นก็สร้างความลำบากไม่น้อยอยู่แล้ว แต่อาการสายตาสั้นยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับสุขภาพของเราได้หลายประการ ดังนี้1. คุณภาพชีวิตลดลง เพราะผู้ที่สายตาสั้นมักได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากมองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัด2. ผู้ที่สายตาสั้นอาจต้องเพ่งมองมากกว่าปกติ โดยการเพ่งมองเป็นเวลานานๆ จะทำให้ตาล้าและมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย3. ก่อให้เกิดอันตรายอื่นๆ เช่น ผู้ที่ขับรถหรือควบคุมอุปกรณ์ในโรงงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดได้4. เกิดปัญหาสุขภาพสายตาอื่นๆ โดยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระจกตาลอก รวมทั้งเป็นต้อแบบต่างๆ ได้สูงการวินิจฉัยอาการสายตาสั้นการวินิจฉัยสายตาสั้นทำได้ด้วยการตรวจสุขภาพตา โดยทั่วไปควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างน้อยทุก 2 ปี การตรวจสุขภาพตาสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่1. การวัดแรงดันภายในตา2. การตรวจความสอดประสานในการทำงานของดวงตา3. การตรวจวัดสายตา ซึ่งการวัดสายตาก็สามารถทำได้โดยการวัดด้วยเรติโนสโคป แพทย์จะฉายแสงไปยังดวงตา เพื่อดูว่าดวงตามีปฏิกิริยาต่อแสงอย่างไร รวมทั้งวินิจฉัยว่ามีปัญหาสายตาสั้นหรือสายตายาว โดยดูจากแสงที่สะท้อนกลับมา4. การวัดกำลังสายตา แพทย์จะดูว่าสายตาของผู้ป่วยมีความผิดปกติมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งเลือกใช้วิธีการรักษาให้มีความเหมาะสม หากพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นในระยะไกล อาจตรวจวัดสายตาอีกครั้ง โดยจะให้ใส่แว่นตาที่มีเลนส์ของค่าสายตาระดับต่างๆ ในขณะที่ทดสอบอ่านตัวเลขแต่ละแถว เพื่อสั่งจ่ายเลนส์ของแว่นตาที่มีระดับค่าสายตาเหมาะสมกับผู้ป่วยวิธีรักษาสายตาสั้นวิธีการรักษาอาการสายตาสั้นสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งแบบที่ทำให้หายอาการสายตาสั้นหายไปเฉพาะหน้าหรือแบบที่หายแบบถาวร ส่วนจะมีวิธีการอย่างไรไปรู้กันดีกว่า1. หากสงสัยว่ามีอาการสายตาสั้น ควรไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาลก่อน เพราะแว่นตาคู่แรกที่ใส่ควรได้รับการตรวจตาอย่างละเอียด อีกทั้งแพทย์ก็จะถือโอกาสนี้ตรวจจอประสาทตาได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้นด้วย2. หากพบว่ามีอาการสายตาสั้น แพทย์จะแก้ไขด้วยการให้ใส่แว่นสายตาชนิดเลนส์เว้า ซึ่งในปัจจุบันทางโรงพยาบาลได้มีเครื่องมือที่ใช้ส่องเข้าไปในตา แล้วแพทย์จะสังเกตดูจากลักษณะของแสงที่สะท้อนออกมาและใช้เลนส์ช่วย หลังจากนั้นผู้ประกอบแว่นก็จะนำแว่นที่วัดได้มาให้ผู้ป่วยลองทดสอบดู โดยจะปรับจนกว่าจะได้เบอร์เลนส์ที่เหมาะสม มองเห็นได้ชัด และไม่มึนงง แต่ล่าสุดนี้ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในตรวจวัดสายตาแทนโดยปกติแล้วจะต้องทำการเปลี่ยนเลนส์แว่นตา (รวมทั้งคอนแทคเลนส์) อย่างน้อย 1 - 2 ปีต่อครั้ง จนเมื่ออายุได้ประมาณ 20 - 25 ปีที่สายตาเริ่มคงที่แล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนเลนส์บ่อยๆ3. การใช้เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่กำลังเป็นที่นิยม มีให้เลือกอยู่หลายชนิด แต่การใช้คอนแทคเลนส์ก็จะมีข้อควรระวังในการใช้และการดูแลเป็นพิเศษมากกว่าการใส่แว่นสายตา เพราะถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตาและเกิดแผลที่กระจกตาได้ จึงควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากใช้แล้วพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น รู้สึกเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง เป็นต้น ควรถอดคอนแทคเลนส์และรีบไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน4. ผู้ที่เป็นสายตาสั้นชนิดร้ายแรง ควรไปตรวจวัดสายตาและปรับเปลี่ยนแว่นเป็นระยะๆ5. รักษาสายตาสั้นด้วยการผ่าตัด ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่กรีดกระจกตาเป็นแฉกๆ ในบริเวณนอกของกระจกตา เพื่อลดความโค้งทำให้จุดรวมแสงตกอยู่บนจอประสาทตาพอดีการใช้แสงเลเซอร์ไปทำลายพื้นผิวตรงกลางกระจกตาให้แบนราบลง ลดความโค้งลงการใช้เลเซอร์เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้จุดรวมแสงตกอยู่บนจอประสาทตาพอดี หรือที่เรียกกันว่าว่า “การทำเลสิก” (LASIK)การป้องกันสายตาสั้นอาการสายตาสั้น จริงๆ แล้วเป็นอาการที่ไม่สามารถป้องกันได้หากมันจะเกิด แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีวิธีป้องกันสายตาไม่ให้สั้นลงอย่างรวดเร็ว หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นแย่ลงกว่าเดิม ดังนี้1. หมั่นตรวจสุขภาพของดวงตาอย่างสม่ำเสมอ2. ดูแลตัวเองไม่ให้อาการป่วยกำเริบ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เนื่องจากปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงได้3. สวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปที่มีแสงจ้า และเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี4. ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการที่ดวงตาจะได้รับอันตราย5. รับประทานผักใบเขียว ผลไม้ และปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 36. งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลต่อสุขภาพตาและสุขภาพร่างกาย7. ควรใช้เลนส์ที่เหมาะกับค่าสายตาของตัวเอง โดยหมั่นวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้เลนส์แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่ตรงกับค่าสายตาของตัวเอง8. ควรพักสายตาจากการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือเป็นระยะๆ เพื่อลดความเสี่ยงอาการตาล้า9. ควรสังเกตว่ามีอาการอื่นๆ เกี่ยวกับดวงตาหรือไม่ เช่น มองไม่เห็นกะทันหัน ตามัว เห็นแสงจ้า หากเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอาการ "สายตาสั้น" เป็นอาการที่บางครั้งหลายคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดอาการนี้ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ และแม้ว่าวิธีการรักษาก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะหายได้อย่างแน่นอน แต่การดูแลรักษาดวงตาหรือการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้ดวงตามีความเสี่ยงในการเกิดอาการสายตาสั้น อีกทั้งการพยายามที่จะชะลอสายตาให้สั้นลงอย่างช้าที่สุด ถือว่าเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาอาการสายตาสั้น และก็ไม่ยากเกินความสามารถของเราที่จะกระทำเพื่อประโยชน์ต่อดวงตาของเราเอง