เคล็ดลับสุขภาพ เรื่องน่ารู้ October 12, 2016 Share 90 Tweet Pin 0 โทษของเบียร์...รู้แล้วแหยง อยากดื่มต่อก็เชิญ!! หากจะพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในงานสังสรรค์คงจะหนีไม่พ้น “เบียร์” เครื่องดื่มนุ่มละมุนลิ้นที่ Hot Hit ตลอดกาล เป็นเครื่องดื่มที่ผู้ชายดื่มได้ผู้หญิงดื่มดี ด้วยรสชาติที่ไม่ขมลิ้นเท่ากับสุรา จึงทำให้เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มพร้อมกับน้ำแข็งเพื่อดับร้อน และดื่มเพียวๆ เพื่อคลายหนาว อย่างไรก็ตามแม้การดื่มเบียร์ในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถดื่มเพียงวันละแก้วได้ วันนี้เราชาวสุขภาพดี...จึงอยากนำเสนอถึงภัยร้าย โทษของเบียร์ในกรณีที่ดื่มมากจนเกินไปเพื่อเตือนใจนักดื่มทุกๆ ท่าน รับรองว่าข้อมูลในวันนี้ต้องทำให้คุณรู้สึกแหยงเครื่องดื่มประเภทนี้แน่นอน โทษของเบียร์ที่คุณอาจคาดไม่ถึง1. โทษของเบียร์เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมองอุดตันและเส้นเลือดในสมองแตก โรคยอดฮิตของผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ว่าได้ เนื่องจากเบียร์มีส่วนผสมของน้ำตาลและแอลกอฮอล์ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้เส้นเลือดในสมองโป่งพองและแตกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มเบียร์ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูงหรือวันที่ร้อนจัด2. โทษของเบียร์เป็นสาเหตุของโรคเหน็บชาประเภทเรื้อรัง จากการศึกษาพบว่าเบียร์เป็นตัวกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ โดยจะทำให้เกิดอาการมึนชาตามร่างกาย นอกจากนี้รายงานระบุว่ากล้ามเนื้อกลุ่ม Datal และ Proximal อ่อนแรง เป็นสาเหตุของอาการมึนชาเรื้อรังและจะฟื้นตัวหรือหายขาดยากมาก แม้จะงดดื่มเบียร์อย่างสิ้นเชิงก็ตาม3. โทษของเบียร์ส่งผลต่อสติปัญญาของทารกในครรภ์ จากผลสำรวจของมารดาที่ดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์พบว่า ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสปัญญาอ่อนหรือมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป นอกจากนั้นยังมีลักษณะทางร่างกายผิดปกติ เช่น ไม่มีกระดูกอ่อนที่คั่นระหว่างโพรงจมูก ริมฝีปากบางผิดปกติ ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อระบบไหวเวียนเลือดและภาวะหัวใจพิการอีกด้วย4. โทษของเบียร์เสี่ยงต่อโรคตับแข็ง การดื่มเบียร์ในปริมาณมากเป็นประจำทุกวันจะส่งผลต่อการทำงานของตับ โดยปกติตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย แต่เมื่อเรารับสารพิษเข้าร่างกายทุกวัน ครั้งละมากๆ ก็ทำให้ตับทำงานหนักเกินไปจนเกิดเป็นการสะสมสารพิษและทำให้ตับแข็งในที่สุด5. โทษของเบียร์ทำให้ตัวบวม เบียร์ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการลงพุงหรืออาการบวมบริเวณแขนขาและหน้าท้อง เหตุผลเพราะในเบียร์มีสารที่เรียกว่า 'เอสโตรจินิก' ซึ่งไปรบกวนการทำงานของระบบเม็ดตาบอลิซึ่ม ทำให้ความสามารถในการย่อยและเผาผลาญภายในร่างกายลดน้อยลงมากถึง 30% นอกจากนั้นยังทำให้ฮอร์โมนภายในร่างกายทำงานผิดปกติอีกด้วย6. โทษของเบียร์ทำให้สมองฝ่อ เป็นที่ทราบกันดีว่าแอลกอฮอล์มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง เมื่อดื่มเบียร์เข้าไปในปริมาณมากจะเกิดอาการมึนและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ได้ โดยเบียร์จะทำลายระบบความจำเป็นระดับจากน้อยไปมากสามารถแบ่งความรุนแรงได้ 4ระยะระยะ 1 อาการพร่องทางสติปัญญา หรืออาการเมา อาการนี้ไม่อันตรายมากนัก โดยหลังพักผ่อนหรือชำระล้างร่างกายอาการจะหายไปเองระยะ 2 อาการผิดปกติของสมองส่วนหน้า กรณีนี้ผู้ดื่มจะมีความบกพร่องทางด้านการตัดสินใจ การวางแผนและความคิดวิเคราะห์ ซึ่งระยะนี้จะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดทั้งอุบัติเหตุขณะทำงานกับเครื่องจักรและขณะขับยวดยานพาหนะระยะ 3 เกิดอาการบกพร่องด้านความจำ หรือในทางการแพทย์เรียกกรณีนี้ว่า Korsakoff syndrome ซึ่งเกิดจากแอลกอฮอล์เป็นพิษ โดยจะส่งผลให้ผู้ดื่มมีอาการความจำเสื่อมชั่วคราวระยะ 4 เกิดความผิดปกติของเยื้อหุ้มในสมอง ซึ่งเป็นผลมาจากการมีแอลกอฮอล์ในเลือดมากเกินไป โดยทำให้เกิดโรคทางสมองทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังจะเห็นได้ว่าการดื่มเบียร์เกินขนาด ทำให้เกิดโรคภัยตามมามากมาย (โทษของเบียร์) ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด หัวใจ ตับและระบบย่อยอาหาร นอกจากส่งผลจากภายในร่างกายแล้วยังส่งผลต่อรูปร่างในระยะยาวอีกด้วย อย่างไรก็ตามการจะงดดื่มเบียร์ไปเลยก็น่าจะเป็นเรื่องยากของใครหลายๆ คน ด้วยปัจจัยของการเข้าสังคมและอื่นๆ ทำให้การดื่มเบียร์เป็นกิจกรรมที่ยากจะหลีกเลี่ยง ดังนั้นจึงควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมไม่เกินวันละ 1-2 แก้ว หรือหากวันดื่มเกินกว่านั้นควรงดในอาทิตย์ถัดไป เพื่อเป็นการพักตับและเป็นการลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเชื่อว่าข้อมูลเกี่ยวกับโทษของเบียร์ที่เราชาวสุขภาพดีนำมาฝากในวันนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลายๆ ท่านที่ชื่นชอบการดื่มเบียร์ ในกรณีที่อยากดื่มแต่ไม่อยากเสียสุขภาพ ทราบแบบนี้แล้วก็ดื่มเบียร์แต่พอดีเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวกันด้วยนะคะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโทษน่ารู้...เพื่อสุขภาพดี โทษของ “น้ำมะพร้าว” ดื่มทุกวันดีไหม? “โทษของกาแฟ” กับผลข้างเคียงต่อสุขภาพ เรื่องปิดตาย!! ที่ผู้ขายเท่านั้นจะรู้เกี่ยวกับ “โทษของน้ำอัดลม” 4 โทษของเม็ดแมงลัก หากทานไม่ถูกต้อง