free web tracker, fire_lady โรคซึมเศร้า อาการ สาเหตุ ผลเสียต่อสุขภาพ • สุขภาพดี

โรคซึมเศร้า

อาการ สาเหตุ ผลเสียต่อสุขภาพ

โรคซึมเศร้า

เป็นที่ทราบกันโดยถ้วนหน้าว่า การฆ่าตัวตายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของโรคซึมเศร้า ซึ่งคนที่คิดสั้นต่างก็มีปมอยู่ในใจ ที่ต่างก็มีหลากหลายสาเหตุ ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งส่งผลไปยังร่างกาย ที่ไม่อาจตอบสนองได้ รวมถึงการไม่มีสติ ในการคิดก่อนที่จะลงมือทำ ซึ่งบางคนเรียกอาการเหล่านี้ว่า ใจลอย รวมถึงการที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆ เกิดขึ้นในเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ อยู่เป็นประจำ อย่างการถูกทารุณกรรม หรือการโดนพ่อแม่ด่า และถูกบังคับในเรื่องต่างๆ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าขึ้นง่าย ๆ ที่สำคัญเมื่อเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นหลายคนก็จับสังเกตอาการตัวเองไม่ได้ และไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งที่จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละคนมักจะเจอเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป บางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องเล็กสำหรับบางคน แต่บางเรื่องก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับใครหลายคน ขึ้นอยู่กับการปรับสภาพของจิตใจที่อ่อนแออีกด้วย เพราะหากคุณกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ เจ็บป่วย เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น อาจจะไม่สามารถควบคุมสติของตัวเองได้ ทำให้เกิดความกดดันและไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ หลายคนที่เกิดภาวะช็อกกะทันหัน เพราะต้องเจอกับเรื่องร้ายๆ หรือไม่คาดคิดมาก่อน บางคนก็ถูกใส่ร้ายทั้งๆ ที่ไม่ได้ทำความผิด ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย ยิ่งในสภาวะปัจจุบันเช่นนี้ยิ่งจะทำให้เกิดความเครียดและอาการซึมเศร้าได้โดยไม่รู้ตัว

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้ที่เกิดโรคซึมเศร้า มักจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป จะเป็นคนที่รู้สึกจิตใจหม่นหมองรู้สึกผิดหวังในตนเอง และชอบโทษสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้หมดอาลัยตายอยาก และไม่มีความสุข ทำให้หมดสนุกกับสิ่งที่เคยชอบและเคยทำ จนกลายเป็นคนที่สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเอง และอยากอยู่คนเดียว ไม่อยากสุงสิงกับใคร คิดอะไรไม่ออกหรือคิดช้ากว่าปกติ...หลงลืมง่าย ทำอะไรเชื่องช้า...รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า เบื่ออาหาร อ่อนเพลียง่ายเหมือนไม่มีแรง และนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หลับไม่สนิท...

สาเหตุโรคซึมเศร้า

ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาและการรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างควบคู่กัน

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

แม้จะบอกว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคที่มาจากกรรมพันธุ์ แต่หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของคุณ ก็อาจจะมีส่วนที่ทำให้คนในบ้านเป็นได้ แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะปัจจัยที่กระตุ้นให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าก็คือ ความเครียด ซึ่งมักพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ของเซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์ รวมถึงสภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะขาดความภาคภูมิใจในตนเอง และมองโลกในแง่ลบตลอดเวลา เมื่อเจอกับปัญหาชีวิต ต่างก็เป็นสาเหตุที่จะทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น...สาเหตุที่กระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่สามารถพบบ่อยก็คือ ความเสี่ยงทางพันธุกรรม อาการทางสภาพจิตใจที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ซึ่งหากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ จะต้องเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง ทำให้ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น มีผู้ที่ฆ่าตัวตายจากการที่เป็นโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่จะประสบกับความผิดหวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ความรัก และการศึกษา

ลักษณะของคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ชอบเก็บตัว และมักจะชอบพูดเปรยว่าถ้าไม่มีเขาอะไรคงจะดีขึ้น และมักจะชอบพูดสั่งเสียอยู่เรื่อย ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการหนักราว 2 ถึง3 เดือน เรียกได้ว่าหากเกิดอาการเช่นนี้ที่สามารถสังเกตได้ บอกได้เลยว่าเป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะมีโอกาสที่จะคิดสั้นฆ่าตัวตายสูงมาก ยิ่งหากมีเรื่องที่จะกระทบจิตใจเพียงนิดเดียว ก็อาจจะเกิดการนำตัวเองไปสู่ความคิดแบบสั้นๆ หรือการฆ่าตัวตายได้ แต่ถ้าพ้นช่วงนี้ไปได้ก็จะกลับสู่ภาวะปกติซึ่งอาการของโรคจะกำเริบและไม่มีใครรู้ล่วงหน้าบางคน 1 ถึง 2 ปี จึงจะออกอาการ บางคนเพียง 6 เดือน แต่ถ้ารู้ว่าตัวเองป่วยก็สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยการเข้าพบจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษาและกินยาตามที่แพทย์สั่ง

ผลเสียต่อสุขภาพต่อการเป็นโรคซึมเศร้า

การที่ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายอย่าง แต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดศีรษะ ใจสั่น ปวดหลัง ร้อนตามตัว หรือมีอาการชา...ซึ่งแพทย์มักชี้แจงว่า หากตรวจร่างกายแล้วพบว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากผู้ป่วยคิดไปเอง ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่นอาจจะผอมลงหรืออ้วนขึ้น และมีแนวคิดในแง่ลบ  สนใจร่างกายตนเองมากกว่าปกติ แต่หากทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นในเรื่องสภาพจิตใจ ก็จะทำให้อาการทางร่างกายเหล่านี้ดีตามไปด้วย...โรคซึมเศร้านั้นมักถูกมองข้าม อาจเป็นเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการทางร่างกาย และไม่ทราบว่าตัวเองเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจนั้น แท้จริงแล้วเป็นอาการของโรคชนิดใด

อาการโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีที่อยู่ในสมองชื่อ เซโรโทนิน มีปริมาณลดลง โดยจะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกท้อแท้ และหงอยเหงา เกิดอาการเบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต สะดุ้งตื่นกลางดึก นอนไม่หลับ ฝันร้ายบ่อยส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ป่วยจะคิดฆ่าตัวตายเสมอไป เพราะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่กระตุ้นด้วย

โรคซึมเศร้าจึงเหมือนโรคที่ไม่น่ากลัว แต่แท้จริงแล้วหากไม่รีบหาทางแก้ไข ป้องกัน อันตรายที่ตามมาก็อาจร้ายแรงกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายอื่นๆ เสียอีก ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจสอบจิตใจตนเอง และสังเกตคนใกล้ตัว หากพบว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า ควรให้ความสนใจ หรือพาไปปรึกษาจิตแพทย์จะเป็นการดีที่สุด

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า