อายุรวัฒน์เวชศาสตร์ โรคภัยใกล้ตัว July 31, 2015 Share 8 Tweet Pin 0 ความดันโลหิตสูง ลดได้ ไม่ยาก ถ้าได้สังเกตที่กระดานข่าวตามคลินิกชุมชนแต่ละแห่ง จะพบว่ารายชื่อโรคประจำตัวที่คนไทยต้องมารักษาอันดับต้น ๆ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคนี้ไม่มีอาการเตือนที่เด่นชัดเนื่องจากร่างกายคนเราสามารถปรับตัวได้ในระยะแรก จนกระทั่งเกิดอาการต่อเนื่องจึงจะรู้ตัวว่าเกิดปัญหา เช่น อาการของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เป็นต้น ทางเดียวที่จะรู้แน่ชัดคือการตรวจวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดเท่านั้น โรคความดันโลหิตสูงไม่ใช่โรคติดต่อ แต่ถ้าเป็นแล้วต้องได้รับการดูแลและติดตามโดยแพทย์ ทั้งการควบคุมอาหารในระยะแรกและกินยาอย่างต่อเนื่องหากมีอาการมากขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่คือความเค็มในอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงรสจัด เช่น ส้มตำ น้ำพริกกะปิ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ น้ำแกงและแกงแบบต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ล้วนมีปริมาณเกลือโซเดียมค่อนข้างมาก ถ้าตรวจวัดในแต่ละชนิดก็ไม่เกินร้อยละที่ควรได้รับต่อวัน แต่ความเป็นจริงคนเรากินอาหาร 3 มื้อและยังมีขนมกรุบกรอบสำหรับบางคน ทำให้เมื่อรวมกันแล้วได้รับปริมาณโซเดียมเกินค่าที่ควรได้รับต่อวัน และสะสมจนก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงในที่สุด การป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งมีแนวทางดังนี้ ลดอาหารรสเค็ม พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง ไม่ควรทานอาหารที่มีรสเค็มมากในวันเดียวกัน เช่น ถ้ามื้อกลางวันทานบะหมี่น้ำแล้ว ก็ไม่ควรทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรืออาหารรสเค็มอื่น ๆ อีกในวันนั้น เพื่อให้ร่างกายสามารถจัดการกับปริมาณโซเดียมที่มากอยู่แล้วออกไปได้ อย่ากินน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวจนหมดชาม เพราะมีปริมาณเกลือโซเดียมปนอยู่สูง เลิกปรุง หรือปรุงแต่น้อย หลายคนมักมีความคิดว่าอาหารที่มาเสิร์ฟที่โต๊ะนั้นเขาทำมาเผื่อให้ปรุงต่อ เพราะมีพ่วงน้ำปลาพริกน้ำตาลไว้พร้อมบนโต๊ะ บางคนไม่ทันชิมก็จับขวดน้ำปลาเหยาะลงไป เมื่อเค็มไปก็ใส่น้ำตาล เมื่อหวานไปก็ใส่พริกแล้วเติมน้ำปลาอีกหน่อย หรือมีไข่ดาวไข่เจียวมาก็ต้องเหยาะซอสพริก ซอสมะเขือเทศ การใส่เครื่องปรุงมากเกินพอดีนี้เองที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาอย่างไม่รู้ตัว อาหารสำเร็จรูป แดดเดียว หมักดอง กินแต่น้อยจะดีกว่า อาหารจานด่วน มันฝรั่งเส้นหรือมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบนั้นอุดมไปด้วยโซเดียม เมื่อกินแล้วจะเพลิดเพลินอยากกินต่อในปริมาณมากติดต่อกันทำให้โซเดียมสะสมในร่างกายมากเกินไป โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวนั้น ควรจะพิจารณาฉลากให้แน่ใจว่าแต่ละหน่วยบริโภคนั้นมีโซเดียมร้อยละเท่าใด ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคืออาหารแห้ง หมักดอง อาหารแช่แข็งซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรสเค็มมาก โดยผู้บริโภคไม่สามารถปรับลดความเค็มลงได้ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่วัย 25 ปีขึ้นไป เพื่อจะได้รู้สภาพร่างกายของตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ได้ทันการณ์ นอกจากนี้ควรแบ่งเวลาทำงานและพักผ่อนให้พอดี ไม่เคร่งเครียดกับการทำงานหรือสิ่งต่าง ๆ มากเกินไป การพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้ร่ายกายทั้งระบบทำงานได้ดีและมีระดับความดันโลหิตที่เหมาะสม มีคำกล่าวว่าโรคภัยเข้าทางปาก เมื่อนึกตามก็เห็นจะเป็นจริง คนเรามักเห็นแก่ของอร่อยตรงหน้า กินไปก่อนเรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง แม้รู้ว่าเค็มแต่ก็อร่อยเลิกไม่ได้ ปัญหานี้สร้างภาระงบประมาณด้านสาธารณสุขและมีผลต่อความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวด้วย เพราะโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาเพราะสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การผ่าตัดหัวใจ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและมีอายุยืนยาว การเลือกทานอาหารลดความดันก็เป็นอีกทางหนึ่งสำหรับผู้มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหากต้องการดูแลสุขภาพ ควบคุมความดันด้วยสมุนไพรที่ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ในราคาประหยัด พร้อมบริการส่งตรงถึงบ้าน จ่ายเงินปลายทาง คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง 10 สมุนไพรใกล้ตัว…รักษาความดันโลหิตสูง 5 อาหารต้านความดันสูง ทายซิ กระเทียม หรือ หอมหัวใหญ่ ลดความดันสูงได้? ทายซิ ไข่ไก่ หรือ ไข่ปลา คนเป็นความดันสูงไม่ควรทาน?
0comments Click here to add a comment Leave a comment: Name * Email * Website Save my name, email, and website in this browser for the next time I comment. Comment Current ye@r * Leave this field empty